DSpace Repository

การวิเคราะห์มโนทัศน์และการปฏิบัติงานประเมินผลภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
dc.contributor.author สุกัญญา แช่มช้อย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-05T18:37:54Z
dc.date.available 2020-04-05T18:37:54Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9741725833
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65154
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์และการปฏิบัติงานประเมินผลภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) วิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขปัญหา และปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จระดับสูงและระดับต่ำ โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 929 คน จาก 61 โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อจำแนกระดับมโนทัศน์และการปฏิบัติงาน และคัดเลือกกรณีศึกษา 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนที่ประสบความ สำเร็จระดับสูง และโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จระดับตํ่าเพื่อศึกษาเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Wmdow และวิธีการเชิง คุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. การจำแนกโรงเรียนตามระดับมโนทัศน์และการปฏิบัติงานประเมินผลภายในสถานศึกษาได้เป็น 4 รูปแบบ โดยโรงเรียนรูปแบบที่ 1 มีมโนทัศน์และการปฏิบัติงานระดับสูงมีจำนวนน้อยที่สุดร้อยละ 21.30 ส่วนโรงเรียนรูปแบบที่ 2 มีมโนทัศน์ระดับสูงแต่การปฏิบัติงานระดับตํ่า โรงเรียนรูปแบบที่ 3 มีมโนทัศน์ระดับตํ่าแต่การปฏิบัติงานระดับสูง และโรงเรียนรูปแบบที่ 4 มีมโนทัศน์และการปฏิบัติงานระดับต่ำ มีจำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 26.20 2. โรงเรียนรูปแบบที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์สูงที่สุดเท่ากับ 34.35 ส่วนโรงเรียนรูปแบบที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติงานสูงที่สุดเท่ากับ 1.38 3. แนวทางการปฏิบัติงานประเมินผลภายในสถานศึกษาพบว่า โรงเรียนทั้ง 4 รูปแบบมีแนวทางในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่สอดคล้องกัน มีเพียงบางส่วนที่โรงเรียนรูปแบบที่ 1 ปฏิบัติต่างจากโรงเรียนรูปแบบอื่นดังนี้ 1) การพัฒนาความรู้และทักษะในการประเมินผลภายในสถานศึกษา ใช้วิธีการส่งครูแกนนำของโรงเรียนไปอบรมแล้วนำความรู้มาขยายผลให้ครูในโรงเรียน 2) การนิเทศ กำกับ ติดตามเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ดำเนินงานตามแผน 3 ครั้ง/ภาคเรียน 3) มีการรายงานการประเมินตนเองภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 4. สภาพการปฏิบัติงานประเมินผลภายในของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จระดับสูง มีการปฏิบัติงานตามวงจร PDCA อย่างต่อเนื่องอยู่ในวงจรการทำงานปกติ ส่วนโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จระดับต่ำมีการปฏิบัติงานในขั้นตอน P และ D เท่านั้น 5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติงานประเมินผลภายในสถานศึกษาคือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) ความพร้อมในการทำงานของบุคลากร 3) การทำงานเป็นทีม 4) การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและอยู่ในวงจรปกติของการทำงาน 5) การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 6) ความรู้สึกในการเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were (1) to study concepts and implementation of internal evaluation in basic education institution and (2) to analyze implementation conditions, problems, threats, solutions and factors affecting implementation of both high and low successful schools by quantitative and qualitative research methods. The sample was 929 teachers in 61 schools under the resoonsibilitv of Office of the National Primary Education Commission (ONPEC). The research instrument is a set of questionnaires to clarify level of schools’ concepts and implementation and selected 2 cases study. The data was analyzed by SPSS for Windows and qualitative methods. The research findings were summarized as follows: 1. The number of schools were divided into 4 format: The high concepts-high implementation schools (format 1) was the least (21.30%) but the high concepts-low implementation schools (format 2), the low concepts-high implementation schools (format 3) and the low concepts-low implementation schools (format 4) were equal (26.20%). 2. The arithmetic mean of concepts in school format 2 were 34.35 and the arithmetic mean of implementation in school format 2 were 1.38. 3. For the implementation of internal evaluation in basic education institution it had been found that all 4 groups had consistency of implementation. There were only a few schools in the first group that have different implementation as follows: (1) skill development of internal evaluation in institution by training the key teachers that will contribute their knowledge to all teachers thereafter (2) control and follow -up to encourage and promote the implementation as planned, this will be implemented 3 times a semester (3) report of self evaluation once a semester. 4. Implementation characteristic of internal evaluation in the high successful schools was contributed from performing of the foil cycle PDCA continuously. But the low successful schools, they perform just onlv P and D process only. 5. Success factor of implementation of internal evaluation were (1) leadership of principal (2) readiness of staffs in working (3) teamwork (4) continuously implementation and built in school’s working cycle (5) communities participation (6) sense of belonging in school.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.721
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ประกันคุณภาพการศึกษา en_US
dc.subject โรงเรียน -- การประเมิน en_US
dc.subject การประเมินผลทางการศึกษา en_US
dc.subject การศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.subject Schools -- Evaluation en_US
dc.subject Educational evaluation
dc.subject Basic education
dc.title การวิเคราะห์มโนทัศน์และการปฏิบัติงานประเมินผลภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.title.alternative An analysis of concepts and implementation of internal evaluation in basic education institutions en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิจัยการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Duangkamol.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.721


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record