DSpace Repository

การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองตามแนวคิดวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
dc.contributor.author นุชจรี บุญเกต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-01T07:12:56Z
dc.date.available 2020-05-01T07:12:56Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741755015
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65630
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ความต้องการ และปัญหาเกี่ยวกับการฝึกอบรมในงานและการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อคิกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองตามแนวคิดวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และ 3) นำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองตาม แนวคิดวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 314 คน และ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองจำนวน 25 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้ายแบบสอบถามและใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1.วิธีที่ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาใช้แนะนำการทำงานให้กับนักเทคโนโลยีการศึกษาคือ ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง และให้ฝึกปฏิบัติจริงขณะทำงาน บัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในขณะทำงานคือ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน งบประมาณจำกัดและไม่มีที่ปรึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องการให้มีการสนับสนุนแหล่งวิทยาการในหน่วยงาน และมีหัวหน้างานที่เติมใจถ่ายทอด ความรู้ และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับข้อความของรูปแบบจำนวนการฝึกอบรมในงาน 240 ข้อ จากจำนวน 248 ข้อ 3. รูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 3.1 องค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ คือ 1) นโยบายการฝึกอบรม 2) คณะกรรมการดำเนินงาน 3) กิจกรรมการฝึกอบรม ประกอบด้วยโครงการเรียนรู้และการจัดทำแฟ้มโครงการเรียนรู้ 4 ) นักเทคโนโลยีการศึกษา 5 )หัวหน้างาน 6) บรรยากาศทางวิชาการ 7) บรรยากาศการทำงาน 8) แหล่งวิทยาการ 9) เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ และ 10) แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.2 ขั้นตอนการพัฒนา 9 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดนโยบายการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้ายนโยบายด้านการบริหารด้านการบริการ และด้านวิชาการ 2) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฝึกอบรม 3) สร้างปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ ได้แก่ สร้างบรรยากาศทางวิชาการ สร้างบรรยากาศการทำงาน ซึ่งประกอบ ด้วยบรรยากาศกายภาพและบรรยากาศทางจิตภาพ จัดให้มีแหล่งวิทยาการ จัดให้มีเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาแนวทางการประเมินผลปฏิบัติงาน และจัดกิจกรรมล่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ 4) เชิญชวนให้นักเทคโนโลยีการศึกษานำเสนอโครงการเรียนรู้และจัดทำแฟ้มโครงการเรียนรู้ 5) จัดปฐมนิเทศสร้างความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง 6) นักเทคโนโลยีการคิกษาพัฒนาและเสนอโครงการ 7) นักเทคโนโลยีการศึกษาดำเนินงานตามโครงการพร้อมกับนำผลงานสะสมในแฟ้มโครงการเรียนรู้ 8) จัดสัมมนาเพื่อนำเสนอและประเมินโครงการเรียนรู้ 9) ประเมินทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย นักเทคโนโลยีการคิกษาประเมินตนเอง หัวหน้างานสังเกตจากการร่วมปฏิบัติงานประจำวันประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเรียนรู้ ประเมินจากแฟ้มโครงการเรียนรู้ และประเมินความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับหน่วยงาน
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study status , problems, and needs concerning on-the- job training and self-directed learning of educational technologists 2) to obtain specialists' opinions concerning on-the- job training model for developing self-learning skills based on the self-directed learning approach and 3) to propose on-the- job training model for developing self-learning skills for educational technologists The samples consisted of three-hundred and fourteen educational technologists and twenty-five experts in education technology 1 training and self-directed learning. The data were collected by means of questionnaires and three-rounds of Delphi questionnaire. The data were analyzed by percentage, median and interquartile range The results indicated that: 1. The educational technology center initiated work process to media staff members through self-learning and wark practices. Problems concerning on- the-job learning were unsufficient support from media superiors, limited budget and no well qualified work supervisor. The educational technologists need academic resources within centers and willing supervisors to coach and offer consultative help. 2. The 240 statements from 248 of group final consensus werw considered for on-the- job training model. 3. The on-the- job training model for developing self-learning skills consists of : 3.1 Ten training components : 1) training policies, 2) training committees, 3) training activities including learning project and portfolio, 4) educational technologists, 5) supervisors, 6) academic climate. 7) work climate, 8) learning resources, 9) learning technology, and 10) guidelines for performance evaluation. 3.2 Nine development steps : 1) determine training policies including administrative, service and academic policies, 2) assign training committees,3) develop key success factors to establish physical and mental academic and work climate; provide learning resources, learning technology ; develop performance evaluation guidelines and apply activities that create learning attitudes, 4) invite educational technologists to propose learning project and learning portfolio, 5) conduct orientation workshop for related staff members, 6) educational technologists develop and propose project, 7) conduct learning project and portfolio as planned, 8) conduct seminar to present and evaluate learning project 9) evaluate self-learning skills through self-assessment, supervisor observes work process, evaluate achievement of learning project and portfolio, and evaluate organization’s changes.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง en_US
dc.subject นักเทคโนโลยีทางการศึกษา en_US
dc.subject Self-managed learning en_US
dc.subject Educational technologists en_US
dc.title การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองตามแนวคิดวิธีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา en_US
dc.title.alternative Proposed on-the-job training model for developing self-learning skill based on the self-directed learning approach for educational technologists in higher education institutions en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline โสตทัศนศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Onjaree.N@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record