DSpace Repository

การศึกษาวงจรวิชาชีพครูในโรงเรียนที่มีปัจจัยคัดสรรต่างกัน สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริเดช สุชีวะ
dc.contributor.author อัญชลี ตาขัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-19T07:45:37Z
dc.date.available 2020-05-19T07:45:37Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741756631
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65887
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่วงของวงจรวิชาชีพครูของครูสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบช่วงของวงจรวิชาชีพครูของครูที่มีภูมิหลัง การศึกษา ตำแหน่งงานการร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ฐานะทางเศรษฐกิจและขนาดของโรงเรียนที่สอนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ครูสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 397 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามวงจรวิชาชีพครู โดยผู้วิจัยพัฒนาและ ดัดแปลงมาจาก Demographic Information, Career Stages Rating Scale และ Teacher Career Cycle Inventory ที่สร้างโดย Fessier, Christensen และ Price (1992) ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ วงจรวิชาชีพครู ภูมิหลัง ได้แก่ เพศ อายุ อายุงานและความสะดวกในการเดินทางมาโรงเรียน การศึกษา ได้แก่ วุฒิการศึกษาสูงสุดและสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา ตำแหน่งงาน ได้แก่ ตำแหน่งงานและตำแหน่งบริหาร การร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ได้แก่การทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวนงานวิจัยในชั้นเรียนที่เคยทำมาแล้ว การเข้าร่วมการอบรม - สัมมนาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาและเกียรติยศชื่อเสียงที่เคยได้รับ ฐานะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้เสริมและฐานะทางการเงิน และขนาดของโรงเรียนที่สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติภาคบรรยาย และการทดสอบไคสแควร์ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ครูส่วนใหญ่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและกระตือรือร้น (Enthusiastic and Growing) (ร้อยละ 37.0) รองลงมาคือ ช่วงการสร้างสมรรถภาพ (Competency Building) (ร้อยละ 22.9) ช่วงภาวะคงที่ในวิชาชีพ (Career Stability) (ร้อยละ 10.8) ช่วงขาลงของวิชาชีพ (Career Wind-Down) (ร้อยละ 10.8) ช่วงภาวะคับข้องใจในวิชาชีพ (Career Frustration) (ร้อยละ 9.8) และช่วงการเหนี่ยวนำ (Induction) (ร้อยละ 9.2) ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ช่วงของวงจรวิชาชีพครูของครูที่มีภูมิหลัง การศึกษา ตำแหน่งงาน การร่วมกิจกรรมทางวิชาการฐานะทางเศรษฐกิจและขนาดของโรงเรียนด้วยการทดสอบไคสแควร์พบว่า สัดส่วนของครูในแต่ละช่วงของวงจรวิชาชีพครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในตัวแปร อายุ อายุงาน ตำแหน่งงาน ความสะดวกในการเดินทางมาโรงเรียน การทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวนงานวิจัยในชั้นเรียนที่เคยทำมาแล้ว และเกียรติยศชื่อเสียงที่เคยได้รับแต่ไม่แตกต่างกันในตัวแปร เพศ วุฒิการคิกษาสูงสุด สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา ตำแหน่งบริหาร การอบรม - สัมมนาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา รายได้เสริม ฐานะทางการเงิน และขนาดของโรงเรียน
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the stage of Teacher Career Cycle under the Department of Education, Bangkok Metropolis and to compare the stage of Teacher Career Cycle of teachers with different background, Education; Academic position; Academic activity involvement; Economy and school size. The sample consisted of 397 teachers under the Department of Education, Bangkok Metropolis. The research instrument was the Teacher Career Cycle questionnaire adapted from Fessler, Christensen and Price (1992)’s Demographic Information, Career Stages Rating Scale and Teacher Career Cycle Inventory. The variables in this study were the stage of Teacher Career Cycle, teacher’s background (sex, age, the teaching experience and transportation), Education (the highest education and major), Academic position (position and administrative position), Academic activity involvement (classroom action research, the number of classroom action research, the academic seminar and the honor), Economy (extra income and economic status) and the school size. Descriptive statistics and Chi Square - test were performed The finding were as follows: 1. The teachers under the Department of Education, Bangkok Metropolis were on the Enthusiastic and Growing stage (37.0 %), the Competency Building stage (22.9 %), the Career stability stage (10.8 %), the Career Wind-Down stage (10.8 %), the Career Frustration stage (9.8 %) and the Induction stage (9.2 %). 2. The proportion of teachers in each stage of Teacher Career Cycle was significant at .05 level in age, the teaching experience, transportation, classroom action research, the number of classroom action research and the honor but it was not significant in sex, the highest education, major, administrative position, extra income, economic status and the school size.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ครู en_US
dc.subject ครู -- ภาวะสังคม en_US
dc.subject ครู -- ภาวะเศรษฐกิจ en_US
dc.subject Teachers -- Social conditions en_US
dc.subject Teachers -- Economic conditions en_US
dc.title การศึกษาวงจรวิชาชีพครูในโรงเรียนที่มีปัจจัยคัดสรรต่างกัน สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Study of teacher career cycle in schools with different selected factors under the Department of Education, Bangkok Metropolis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วิจัยการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Siridej.S@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record