DSpace Repository

การพัฒนาแบบวัดจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท สำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงแก้ว ปุณยกนก
dc.contributor.author ไตรรงค์ เฉวียงหงส์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-05T03:34:34Z
dc.date.available 2020-06-05T03:34:34Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741705727
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66200
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบวัดจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทสำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาแบบวัดเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2543 จำนวนทั้งสิ้น 782 คน โดยใช้โมเดลระดับจิตสำนึกของ Kihlstrom (1984) และแนวคิดของ William, G. Farthing (1992) เป็นกรอบโครงสร้างแบบวัดซึ่งมีทั้งหมด 8 ด้านข้อคำถามสร้างเป็นมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ท 5 ระดับ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์คุณภาพรายข้อด้วยสถิติบรรยาย และคัดเลือกข้อคำถามโดยวิเคราะห์สหสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวมแต่ละด้าน วิเคราะห์คุณภาพแบบวัดด้านความตรง ความเที่ยง และอำนาจจำแนก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความเที่ยงของแบบวัด พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach ’ s Alpha Coefficient) ของแบบวัดจิตสำนึกทั้งฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .93 2. ความตรงตามสภาพ ใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด (known group technique) โดยใช้ t-test ทดสอบความแตกต่างจิตสำนึกระหว่างนิสิตกลุ่มรู้ชัดและนิสิตกลุ่มทั่วไป พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนความตรงเชิงโครงสร้างวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรม LISREL 8.10 พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า ไค-สแควร์เท่ากับ .024 (P=.988) ที่องศาอิสระเท่ากับ 2 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 1 และค่าดัชนีวัดความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 1 องค์ประกอบอันดับที่หนึ่งทั้ง 8 ด้าน และองค์ประกอบอันดับที่สองทั้ง 3 ขั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตสำนึก
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to development the consciousness in rural development participation scale for Chulalongkorn University students. The samples used in this developed scale were 782 students of Chulalongkorn University in academic year 2000. Kihlstrom ’s consciousness level model (1984) and William, G. Fathing’s conceptual framework (1992) were used in constructing the scale. The construct was composed of 8 aspects with likert 5 level scale type. Data was analyzed by descriptive statistics and items screening by Item-total correlation. Validity, reliability and power of discriminant of the scale were also analized. The results were as follows : 1. The reliability of scale analyzed by the Cronbach’s coefficient value which was found to be .93 2. The concurrent validity according to known group technique, and compared consciousness between known group and other Chulalongkorn students, was found significantly different at .01 level. The construct validity was proved by second order confirmatory factor analysis by LISREL 8.10 were found consistant with empirical data. This model provided the chi-square goodness-of fit test of .042 (P=.988), df=2, GFI = 1 and AGFI = 1. The first order factor of 8 aspects and second order factor of 3 levels were factors of consciousness.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา en_US
dc.subject จิตสำนึก en_US
dc.subject การพัฒนาชนบท en_US
dc.subject Chulalongkorn University -- Students
dc.subject Consciousness
dc.subject Rural development
dc.title การพัฒนาแบบวัดจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท สำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title.alternative Development of the consciousness in rural development participation scale for Chulalongkorn University students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวัดและประเมินผลการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Puangkaew.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record