DSpace Repository

การศึกษาความสำคัญของวิวัฒนาการการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาไทย ที่มีต่อการสอนสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติDesign|xStudy and teaching (Higher) คุณประเสริฐ
dc.contributor.author ชาญศิลป์ กิตติโชติพาณิชย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-09T01:43:43Z
dc.date.available 2020-06-09T01:43:43Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9741706707
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66234
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน วัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 1 เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาไทยวัตถุประสงค์การวิจัย ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาความสำคัญของวิวัฒนาการการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาไทยที่มีต่อการสอนสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยตอนที่ 1 เป็นนิตยสารและนิตยสารสตรี เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบบันทึกการสำรวจนิตยสาร และ 3) แบบบันทึกข้อมูลสิ่งพิมพ์โฆษณา วิเคราะห์ข้อมูลในรูปความเรียงพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) และตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนี้อหาโดยวิธีการของไวท์ (Whyte, 1955) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยตอนที่ 2 เป็นอาจารย์ผู้สอนสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความสำคัญของวิวัฒนาการการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาไทยที่มีต่อการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยตอนที่ 1 พบว่าวิวัฒนาการการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาไทยด้านการจัดวางหน้าแบ่งยุคสมัยได้ดังนี้ 1) ยุคตัวอักษรล้วน โฆษณาขนาดเล็ก จัดวางหน้าแบบหนักบท (พ.ศ. 2388-2410) 2) ยุคภาพประกอบขนาดเล็ก โฆษณาขนาดกลาง (พ.ศ. 241 1-2455) 3) ยุคภาพประกอบขนาดกลาง จัดวางหน้าแบบกรอบผสมแบบละครสัตว์ (พ.ศ. 2456-2470) 4) ยุคนิยมไทย ภาพประกอบขนาดใหญ่ กรอบโฆษณาเป็นแบบลายประดิษฐ์ (พ.ศ. 2471-2495) 5) ยุคภาพถ่ายขาวดำรูปทรงสี่เหลี่ยม ภาพประกอบลายเส้นขนาดใหญ่ (พ.ศ. 2496-2510) 6) ยุคโฆษณาสี ภาพถ่ายขนาดใหญ่ เริ่มการใช้กริด (พ.ศ. 2511-2530) 7) ยุคการจัดวางหน้าด้วยคอมพิวเตอร์เน้นภาพประกอบและพื้นที่ว่างเป็นจุดเด่น (พ.ศ. 2531 -2543) ด้านการจัดเรียงตัวอักษร แบ่งยุคสมัยได้ดังนี้ 1) ยุคตัวเรียงพิมพ์ (พ.ศ. 2388-2465) 2) ยุคตัวเรียงพิมพ์ผสมตัวอักษรบล็อกไม้ (พ.ศ. 2466-2470) 3) ยุคตัวเรียงพิมพ์ผสมตัวอักษรบล็อกโลหะ (พ.ศ. 2471-2495) 4) ยุคการออกแบบตัวอักษร ตัวอักษรบล็อกโลหะลักษณะตัวเขียน (พ.ศ. 2496-2510) 5) ยุคตัวเรียงพิมพ์ด้วยเครื่อง Monotype (พ.ศ. 2511 -2520) 6) ยุคตัวอักษร คอมพิวท์กราฟิค (Computegraphic) (พ.ศ. 2521-2530) 7) ยุคตัวอักษรจากคอมพิวเตอร์และการจัดเรียงตัวอักษรรูปแบบใหม่ (พ.ศ. 2531 - 2543) ด้านภาพประกอบแบ่งยุคสมัยได้ดังนี้ 1) ยุคภาพประกอบลายเส้นขาวดำขนาดเล็ก บล็อกไม้ (พ.ศ. 2411 -2450) 2) ยุคภาพประกอบลายเส้นขาวดำขนาดกลาง บล็อกไม้ (พ.ศ. 2451 -2470) 3) ยุคภาพประกอบลายเส้นผสมฮาล์ฟโทนขาวดำ ขนาดใหญ่บล็อกโลหะ (พ.ศ. 2471-2495) 4) ยุคทองของภาพประกอบลายเส้นขาวดำ (พ.ศ. 2496-2510) 5) ยุคภาพถ่ายสี ภาพวาดเทคนิคหลากหลาย (พ.ศ. 251 1 -2535) 6) ยุคภาพประกอบเทคนิคคอมพิวเตอร์ (พ.ศ. 2536-2543) ผลการวิจัยตอนที่ 2 พบว่า 1) ด้านวัตถุประสงค์การสอน วิวัฒนาการฯ ทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณา ได้แก่ การจัดวางหน้า การจัดเรียงตัวอักษร และภาพประกอบ 2) ด้านเนี้อหาสาระ วิวัฒนาการฯ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ในการพิจารณาออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณา ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณา และกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์โฆษณาชิ้นนั้น ๆ 3) ด้านวิธีการสอน ผู้สอนควรแจ้งให้ผู้เรียนทราบ ถึงจุดมุ่งหมายในการสอนวิวัฒนาการก่อนการสอน และ การสอนวิวัฒนาการฯ ด้านการจัดเรียงตัวอักษรควรใช้วิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติจึงจะสอดคล้องกับอุดประสงค์การสอนและเนี้อหาสาระ 4) ด้านสื่อการสอน สื่อการสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจวิวัฒนาการฯ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ เกิดมโนทัศน์ที่ชัดเจน และ 5) ด้านการประเมินผลการสอน ควรยึดวัตถุประสงค์ของการสอนเป็นหลักในการประเมิน
dc.description.abstractalternative This research was devided in two sections. The first purpose was to study the evolution of Thai printed advertising design. The second purpose was to study the importance of the evolution of Thai printed advertising design program at the undergraduate level in public higher education institutions under the Ministry of University Affairs. The population of the first section were magazines and woman magazines. The research instruments of the first section were 1) one set of interview concerning the evolution of Thai printed advertising design 2) magazine survey checking form and 3) printed advertising data checking form. The data were analyzed by analytical description and examined reliability of the research by Whyte (1955) method. The population of the second section were teachers in visual communication design program. The research instruments of the second section was a set of questionnaires concerning the importance of the evolution of Thai printed advertising design. The data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The research first section results were revealed that : The layout was devided in 7 eras such as ; 1 ) blocks of type-small advertising-copy heavy layout (A.C. 1845-1867) 2) small illustration-medium advertising (A.C. 1868-1912) 3) medium illustration-frame layout mixed circus layout (A.C.1913-1927) 4) national conservation-large illustration-decoration pattern advertising frame (A.C.1928-1952) 5) black and white square photography-large line tone illustration (A.C. 1953-1967) 6) color advertising-large photography-began using grid (A.C. 1968-1987) and 7) layout by computer-the dominance of advertising were illustration and space (A.C. 1988-2000). Typography was devided in 7 eras such as ; 1 ) letterpress (A.C. 1845-1922) 2) letterpress with wood block type (A.C. 1923-1927) 3) letterpress with metal block type (A.C. 1928-1952) 4) lettering design-hand writing with metal block (A.C. 1953- 1967) 5) monotype letterpress machine (A.C. 1968-1 977) 6) computegraphic type (A.C. 1978-1987) and 7) computer type-new form of typography (A.C. 1988-2000). Illustration was devided in 6 eras such as ; 1 ) small black and white line tone illustration-wood block (A.C. 1868-1907) 2) medium black and white line tone illustration-wood block (A.C. 1908-1927) 3) large black and white line tone illustration mixed halftone-metal block (A.C. 1928-1952) 4) The golden era of black and white line tone illustration (A.C. 1953-1967) 5) color photography-various techniques painting illustration (A.C. 1968-1992) and 6) computer illustration (A.C. 1993-2000). The research second section results were revealed that : 1 ) objectives : the evolution made the learners could analyzed the relationship of printed advertising design element such as ; layout, typography and illustration. 2) contents : the evolution made the learners understand the criteria to considered printed advertising design such as target group, printed advertising design process and printed advertising design production process. 3) teaching : instructors should inform the learners about teaching objectives at the beginning. 4) instructional media : help the learners to understood the evolution correctly, rapidly and clear concept. 5) evaluation : should follow consistiy with its teaching objectives.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โฆษณาทางวารสาร -- ไทย en_US
dc.subject สิ่งพิมพ์ -- การออกแบบ en_US
dc.subject การออกแบบ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
dc.subject Advertising, Magazine -- Thailand
dc.subject Publications -- Design
dc.subject Design -- Study and teaching (Higher)
dc.title การศึกษาความสำคัญของวิวัฒนาการการออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณาไทย ที่มีต่อการสอนสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย en_US
dc.title.alternative Study of the importance of the evolution of Thai printed advertising design on teaching visual communication design program at the undergraduate level in public higher education institutions under the Ministry of University Affairs en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ศิลปศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Santi.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record