DSpace Repository

การพัฒนานิสัยรักการอ่านด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตามกระบวนการ ตามแนวคิดของแครทโวลและคอมส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์
dc.contributor.author ณัฏฐนิภา เณรทรัพย์
dc.date.accessioned 2020-09-09T04:15:30Z
dc.date.available 2020-09-09T04:15:30Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741751958
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67841
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตามแนวคิดของแครทโวลและคอมส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนวัดช่างเหล็ก สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดนิสัยรักการอ่าน แบบรายงานพฤติกรรมการอ่านของตนเองและแบบรายงานพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนโดยครูและผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวม 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนนิสัยรักการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนโดยครูหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนโดยผู้ปกครองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to develop students’ reading habits by using the promoting reading activities according to Krathwohl and Combs’s principles. The subjects consisted of 30 students of Prathom Suksa three in the academic year 2004 from Watchanglek School. The research instruments included reading habits test, reading behavior report of selves and the students’s reading behavior reports as recorded by teachers and parents. Data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. The duration in the experimental program was 12 weeks. The findings were as follows: 1. The post-test mean score of reading habits of the students after receiving the promoting reading activities was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance. 2. The post-test mean score of reading behaviors of the students was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance. 3. The post-test mean score of reading behaviors as reported by teachers of the students was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance. 4. The post-test mean score of reading behaviors as reported by parents of the students was higher than that of the pre-test at the .05 level of significance.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1943
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การอ่านขั้นประถมศึกษา en_US
dc.subject การส่งเสริมการอ่าน en_US
dc.subject Reading promotion en_US
dc.subject Reading (Elementary) en_US
dc.title การพัฒนานิสัยรักการอ่านด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตามกระบวนการ ตามแนวคิดของแครทโวลและคอมส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 en_US
dc.title.alternative Development of reading habits by means of the organizing of promoting reading activities according to Krathwohl and Combs's principles for prathom suksa three students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ประถมศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Maneerat.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.1943


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record