dc.contributor.advisor |
วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล |
|
dc.contributor.author |
ดวงพร สิงห์ศรี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-09-22T02:37:04Z |
|
dc.date.available |
2020-09-22T02:37:04Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.issn |
9743347488 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68078 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความแตกต่างของภูมิหลังทางประชากร เศรษฐกิจสังคม ของผู้ขับยานพาหนะทางบกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง (การดื่มสุรา การเคยใช้ยาม้า) และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง(การใช้เข็มขัดนิรภัย) รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านภูมิหลังและพฤติกรรมดังกล่าวของผู้ขับยานพาหนะกับโอกาสในการประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากยานพาหนะทางบก โดยใช้ข้อมูลโครงการสำรวจเกี่ยวกับอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2539 ซึ่งดำเนินการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เลือกมาเฉพาะแต่ผู้ขับยานพาหนะทางบก (รถทุกประเภท ยกเว้นรถจักรยานยนต์) อายุ 18-59 ปี ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 8,018 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์ตารางไขว้และทดสอบด้วยค่าไคสแควร์ โดยมีพฤติกรรมต่างๆเป็นตัวแปรซึ่งคาดว่าน่าจะส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากยานพาหนะทางบกโดยตรง ผลการศึกษาพบว่า การดื่มสุรา การเคยใช้ยาม้า และการใช้เข็มขัดนิรภัย ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนลักษณะภูมิหลังของผู้ขับรถที่ได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากยานพาหนะทางบกเป็นอัตราส่วนที่สูง ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรถ อาชีพ โดยผู้ขับรถเพศชาย ผู้ขับอายุน้อยกว่า สถานภาพโสดและประกอบอาชีพขนส่งและคมนาคมมีความสัมพันธ์กับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำพฤติกรรมต่างๆ และภูมิหลังของผู้ขับรถเข้ามาวิเคราะห์แบบหลายตัวแปรในการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิท พบว่าการใช้เข็มขัดนิรภัยมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากยานพาหนะทางบกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ เมื่อมีการใช้เข็มขัดนิรภัย โอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บมีแนวโน้มน้อยลง ผู้ขับรถที่ประกอบอาชีพที่ใช้วิชาชีพหรือบริหาร มีโอกาสประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บน้อยกว่าผู้ขับรถที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับขนส่งและคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ขับรถที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางน่าจะมีโอกาสประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บมากกว่าผู้ขับที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study is to investigate relationship among background characteristics of drivers, their risk behaviors (drug and alcohol use) their preventive behavior and probability of having motor vehicle accidents or injuries on roads. The data used are from the project entitled “Health and Welfare Survey 1997” which was conducted by the National statistical office in 1997. The sample includes 8,018 drivers aged 18-59. Results from the bivariate analysis revealed that all of preventive and risk behaviors had a statistically significant impact on the probability of having motor vehicle accident or injury. The results also indicated that driver’s sex, age, marital status and occupation have a statistically significant impact on the chance of having motor vehicle accidents or injuries. When using logit regression the results indicated that only preventive behavior. Driver’s occupation and region have statistically significant effect on the chance of having motor vehicle accidents or injuries. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
อุบัติเหตุทางถนน |
|
dc.subject |
ยานพาหนะ |
|
dc.subject |
อุบัติเหตุทางถนน -- ไทย |
|
dc.subject |
คนขับรถ |
|
dc.subject |
ยาบ้า |
|
dc.subject |
เข็มขัดนิรภัย |
|
dc.subject |
การดื่มสุรากับอุบัติเหตุทางถนน |
|
dc.subject |
อุบัติเหตุ -- ไทย |
|
dc.title |
การเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บของผู้ขับยานพาหนะอายุ 18-59 ปี ในประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Motor vehicle accidents or injuries among drivers aged 18-59 years old in Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ประชากรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|