DSpace Repository

การพัฒนากระบวนการประเมินแฟ้มผลงาน และการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินแฟ้มผลงาน : การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นงลักษณ์ วิรัชชัย
dc.contributor.advisor สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.author อมรรัตน์ พันธ์งาม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-02-05T04:14:00Z
dc.date.available 2021-02-05T04:14:00Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741310137
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72139
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินแฟ้มผลงานโดยใช้การวิเคราะห์อภิมาน 2) ประเมินผลการประเมินแฟ้มผลงานโดยใช้การประเมินอภิมาน และ 3) เพื่อสังเคราะห์ผลที่ได้จากวัตถุประสงค์ 2 ข้อแรกแล้วนำเสนอและตรวจสอบกระบวนการและการใช้ผลการประเมินแฟ้มผลงาน จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพัฒนกระบวนการประเมินแฟ้มผลงาน 7 ขั้นตอนและเกณฑ์มาตรฐาน 30 เกณฑ์ เป็นแนวทางสำหรับการสังเคราะห์อภิมานและการประเมินอภิมาน ข้อมูลสำหรับการวิจัยประกอบด้วยตัวแปร 83 ตัวแปร จากหนังสือ/ตำรา 13 เล่มบทความวิชาการ 17 เรื่อง และรายงานวิจัย 19 เล่ม ที่เกี่ยวกับการประเมินแฟ้มผลงาน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ครู 24 คน ในโรงเรียน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติภาคบรรยายและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์อภิมาน การประเมินอภิมานและการสังเคราะห์ผล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ 1) ผลการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า ค่าขนาดอิทธิพลมีค่าเฉลี่ย 0.98 หมายความว่า กลุ่มนักเรียนที่ใช้การประเมินแฟ้มผลงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่ไม่ใช้การประเมินแฟ้มผลงาน 2) รายงานวิจัยและการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประเมินแฟ้มผลงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยรวมได้แก่ การประเมินที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้ามีระยะเวลาในการทำแฟ้มผลงานนานตั้งแต่ 1 ภาคเรียนขึ้นไป การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์หลายประการ และมีการคำนวณความตรงของคะแนนการประเมินแฟ้มผลงาน 3) เมื่อสังเคราะห์ผลการวิจัย 2 ข้อแรกจะได้กระบวนการและการใช้การประเมินแฟ้มผลงานที่มีค่าขนาดอิทธิพลและคะแนนคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินสูงจำนวน 3 รูปแบบจาก 16 รูปแบบ รูปแบบแรกได้แก่การประเมินแฟ้มผลงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้า มีการดำเนิน การประเมินครบทั้งการวางแผน การสะท้อนความคิดและการจัดทำแฟ้มผลงาน มีครูและนักเรียนเป็นผู้ประเมินและมีการอภิปรายและสะท้อนความคิดต่อผลการประเมิน รูปแบบที่ 2 และ 3 เป็นรูปแบบที่มีลักษณะคล้ายรูปแบบแรกแต่ไม่มีการอภิปรายและสะท้อนความคิด และรูปแบบที 3 มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลรวมตามลำดับ en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to synthesize research reports on portfolio evaluation using meta-analysis, 2) to evaluate the portfolio evaluations using meta-evaluation , and 3) to systhesize the results from the first two objectives, propose and validate the portfolio evaluation process and utilization. From literature review, seven-step portfolio evaluation process and thiry-standard criteria were developed and used as a guideline for meta-anlysis and meta-evaluation. Data for this study consisted of 83 variables obtaining from 13 books, 17 academic articles and 19 research eports pertaining to portfolio evaluation; and qualitative data from the field interview of 24 teachers in 10 primary and secondary schools. Content analysis, descriptive and inferential statistical analyses – were employed for meta-evaluation, meta-analysis and synthesis of results. The major findings were as follows: 1) the meta-analysis result indicated that the average effect size was 0.98 which signified higher achievement for the group employed portfolio evaluation, 2) the research reports and teacher practices as portfolio evaluation that meet the standard criteria were those having the following characteristics: formative evaluation objective, the period of organizing portfolio that was longer than one semester, variety of evaluation utilization, and calculation of validity of portfolio evaluation score. 3) Integrating the above results yieded 3 of 16 patterns of the process and utilization of portfolio evaluation that had high effect size and high quality as follows: the first one had its purpose for formative evaluation; had complete procedure of planning, reflection and organization of portfolio; had both teacher and student as evaluators; and had the step of reflection and discussion towards evaluation results. The second and the third ones were similar to the fiiot one except that there was no reflection and discussion, and that the third one aimed at summative evaluation respectively. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แฟ้มผลงานทางการศึกษา -- การประเมิน en_US
dc.subject การประเมินอภิมาน en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการประเมินแฟ้มผลงาน และการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินแฟ้มผลงาน : การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน en_US
dc.title.alternative A development of portfolio evaluation process and utilization of portfolio evaluation results : an application of metaevaluation en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline การวัดและประเมินผลการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor Suwimon.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record