Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงขอบเขตการใช้อำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามมาดรา 264 และมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รวมทั้งศึกษาถึงขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเรื่องในทางนโยบาย ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้มีการจัดทั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้น โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้หลายประการ อำนาจหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ อำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 264 ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจดังกล่าวในกรณีที่มีการโต้แย้งว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ คำว่า “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ตามมาตรา 264 มีความหมาย ครอบคลุมกฎหมายในลำดับใดบ้าง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว ประเด็นที่สำคัญก็คือ กรณีกฎหรือข้อบังคับขององค์กรดามรัฐธรรมนูญจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญดัวยหรือไม่ ซึ่งจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวโยงกับกรณีตามมาตรา 198 ที่บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาสามารถเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองพิจารณาในกรณีที่มีความเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำของบุคคลใดตามมาตรา 197(1) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมิได้มีการแบ่งแยกขอบเขต อำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองไว้อย่างชัดเจน หากได้ทราบถึงขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็จะทำให้การแบ่งแยกขอบเขตอำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ การใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องทางนโยบายขององค์กรทางการเมือง กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะควบคุมตรวจสอบกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรทางการเมือง ฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรจะมีแนวทางที่เหมาะสมในการใช้อำนาดังกล่าว เพื่อที่จะไม่เป็นการก้าวก่ายอำนาจขององค์กรทางการเมือง ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะว่า คำว่า “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ตามมาตรา 264 และมาตรา 198 ควรมีความหมายเช่น เดียวกัน กล่าวคือ ต้องเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติเท่านั้น หรือที่เรียกว่า “กฎหมายในทางรูปแบบ” ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประกาศของ คณะปฏิวัติที่มีค่าบังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ เป็นการใช้วิธีการตีความรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลที่ มีเขตอำนาจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
ฉะนั้น จึงไม่อาจตีความบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เป็นไปในทางขยายอำนาจของศาลได้ สำหรับกฎหรือข้อบังคับขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาว่าควรอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดนั้น มีความเห็นว่า ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เนื่องจากกฎหรือข้อบังคับดังกล่าวมิได้ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ ซึ่งการตีความว่ากฎหรือข้อบังคับขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเห็นว่าจะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด สำหรับกรณีที่การใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวช้องกับเรื่องในทางนโยบายนั้น เห็นว่า ศาลควรจะจำกัดตนเองอย่างยิ่งที่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายอำนาจขององค์กรทางการเมือง เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ในฐานะที่จะทำเช่นนั้นได้ซึ่งการตีความรัฐธรรมนูญ โดยเคร่งครัดและการจำกัดตนเองในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายนั้น จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระอย่างแท้จริง และจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต