DSpace Repository

การศึกษาแบบการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor กมลพร บัณฑิตยานนท์
dc.contributor.author สุรางคนา เลี่ยมเพ็ชรรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.coverage.spatial กรุงเทพมหานคร
dc.date.accessioned 2021-03-08T06:17:25Z
dc.date.available 2021-03-08T06:17:25Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743466738
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72685
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และจำแนกตามแต่ละ ชั้นปี เพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สูง ปานกลาง และต่ำ ในแต่ละระดับชั้น 2) เพื่อเปรียบเทียบแบบการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในแต่ละระดับ ชั้นปี เพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่ต่างกันในแต่ละระดับชั้น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบการเรียนวิชาภาษาไทยที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุงจากแบบสอบถามแบบการเรียนของ แอนโทนี กราชา และ เชอร์ริล ไรช์แมน (Anthony Grasha and Sheryl Reichman) และแบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีแบบการเรียนวิชาภาษาไทย แบบมีส่วนร่วมมากที่สุด รองลงมาคือ แบบร่วมมือ แบบพึ่งพา แบบอิสระ แบบแข่งขัน และแบบหลีกเลี่ยง 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในชั้นปีที่ต่างกันมีแบบการเรียนวิชาภาษาไทยต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีเพศต่างกัน มีแบบการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกันนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยต่างกันในแต่ละระดับชั้น คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแบบการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกัน en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study the learning styles of Thai language subject of lower secondary school students with different class levels, sex and learning achievements 2) to compare the learning styles in Thai language subject of lower secondary school students with different class levels, sex and learning achievements in Thai language subject. The samples of this study were 1,202 lower secondary school students in schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis. The research instruments were the learning style questionnaire which the researcher modified from that of Anthony Grasha and Sheryle Reichman, and the Thai language learning achievement test constructed by the researcher. The obtained data were analyzed by SPSSX program The results of this research revealed that: 1. The lower secondary school students had participant learning styles of Thai language subject the most. Next were collaborative, dependent, independent, competitive and avoidant learning styles, respectively. 2. The lower secondary school students with different class levels had different learning styles of Thai language subject at the .05 level of significance. The lower secondary school students with different sex had no different learning styles of Thai language subject. Students with different achievement in Thai language subject in each school level, Mathayom suksa one, two and three, had no different learning styles of Thai language subject. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) en_US
dc.subject พฤติกรรมการเรียน en_US
dc.title การศึกษาแบบการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative A study of lower secondary school students' learning style of Thai language subject, Bangkok Metropolis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การสอนภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record