DSpace Repository

รูปแบบการถ่ายโอนความรู้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0

Show simple item record

dc.contributor.advisor เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
dc.contributor.advisor อัจฉรา ศรีพันธ์
dc.contributor.author มนัสนันท์ แจ่มศรีใส
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:54:51Z
dc.date.available 2021-09-21T06:54:51Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76640
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้ แปรรูป (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนความรู้เพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0 และ (3)  เพื่อนำเสนอรูปแบบการถ่ายโอนความรู้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยใช้การวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวโน้มวิธีการผลิตแบบฟรีซดรายและแบบสเตอริไลซ์ใน SMEs ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วน SMEs ที่มียอดขายเฉลี่ยต่ำกว่า50 ล้านบาทต่อปีมีสัดส่วนมากกว่า SMEs ที่มียอดขายเฉลี่ยเกินกว่า 50 ล้านบาทต่อปี   ขณะที่ตลาดการจำหน่ายผลไม้แปรรูปเป็นตลาดส่งออกชายแดนเป็นส่วนใหญ่  รวมทั้งพบว่าปัจจัยวัตถุดิบผลไม้สดและปัจจัยแรงงานมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ส่วนปัจจัยการถ่ายโอนความรู้ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป 2) สภาพปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความรู้มาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่และผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพมาตรฐานของผลไม้แปรรูปเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นด้านการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ใน SMEs ไม่พร้อมรับความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในองค์กร  และเครื่องมือภายใน SMEs ที่ใช้รับความรู้จากภายนอกเข้าสู่องค์กรอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำ  นอกจากนี้พบว่า ผู้ประกอบการขาดความรู้ในการพัฒนาเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ ขาดความรู้ด้านการส่งออกสินค้า ขาดความรู้การผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้าของตนเอง แต่มีความตระหนักในนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0  กับอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปว่าเป็นแนวทางที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและสร้างโอกาสในการแข่งขัน ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดการศึกษาถึงความต้องการในความรู้ของผู้ประกอบการ SMEs ก่อนถ่ายโอนความรู้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง การขาดเครือข่าย การขาดการติดตามผล  และขาดวิธีการถ่ายโอนความรู้ที่เหมาะสมจากหน่วยงานรัฐ 3) รูปแบบการถ่ายโอนความรู้คือ IMMUNE ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ   ได้แก่  1.Initiation   2.Methods  3.Monitoring  4.User Satisfaction  5.Network 6. Eco - Friendly
dc.description.abstractalternative This research aims to  (1) analyze the current condition of productivity in a processed fruit  industry (2) analyze the existing state and factors related to the knowledge transfer of fruit processing based on the policy of industry 4.0 promotion and (3) present the model of knowledge transfer of how to increase the productivity in the processed fruit industry based on the policy.  This research study employed mixed methods involving qualitative and quantitative approaches.  The results were found that  1) The trends of freeze drying and sterilization among SMEs were increasing in popularity.  It was also found  that SMEs  with  annual sales on average that below 50 million Baht occurred a higher proportion than SMEs with annual sales on average that above  50 million Baht  In particular, the export business of processed fruit  was in high density around the border areas of the country of Thailand.  The factors of fresh fruit as raw materials and labor were those that affect the productivity while that of knowledge transfer factor did not affect the productivity of the processed fruit Industry.  2) The current state, it was found SMEs entrepreneurs sought to learn by themselves and SMEs  entrepreneurs placed top priority on the standard quality of processed fruit products. Following that, it was the environmental friendliness of the operation that they feel obliged to.  It was reported that most of SMEs employees were not ready to receive external technology knowledge into organizations and in-house tools used for obtaining external technology knowledge into the organization were still at a low level. In addition, the SMEs entrepreneurs lacked the knowledge of how to optimize their machines, lacked  the knowledge of exporting products and lacked the knowledge of manufacturing under their own original brands. However, they still recognized the philosophy of the industry 40 promotion policy to processed fruit industry because they realized it was a way that could create added value to the products and create competitive advantage for their businesses.  Other related factors also included the lack of studies on the demands of SMEs entrepreneurs before receiving know-how from any government agencies,  lack of network, lack of monitoring and lack of appropriate methods of know-how transfer from the government agencies  and  3) The knowledge transfer model is  IMMUNE.  It consists of six elements  namely  1.Initiation  2.Methods 3.Monitoring 4.User Satisfaction 5.Network 6. Eco- Friendly 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.922
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อุตสาหกรรมอาหาร -- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
dc.subject อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลเกษตร
dc.subject ผลไม้ -- การแปรรูป
dc.subject อาหารแปรรูป
dc.subject Food industry and trade -- Technology transfer
dc.subject Agricultural processing industries
dc.subject Fruit -- Processing
dc.subject Processed foods
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title รูปแบบการถ่ายโอนความรู้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป ตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0
dc.title.alternative Knowledge transfer model to increase productivity of fruit processing industry based on the industry 4.0 promotion policy
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline พัฒนศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.922


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record