DSpace Repository

การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ
dc.contributor.author เชฏฐพร เชื้อสุพรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:31:17Z
dc.date.available 2022-07-23T04:31:17Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79674
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็มหลังทดลอง 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้ชุดกิจกรรม 4) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ 2) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) พัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในด้านการอธิบายแนวทางการแก้ปัญหา ด้านการระบุความรู้ทางคณิตศาสตร์ และด้านการระบุตัวอย่างที่ใกล้เคียงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีตามลำดับ  
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to develop a mathematical activity package using mathematization, 2) to compare the mathematical connection ability of students after learning with this package to the criteria of 65%, 3) to compare the mathematical connection ability of the students before and after learning from the activity package, and 4) to study the development of the mathematical connection ability of students learning from the activity package. The subjects were 32 tenth grade students in Suphanburi. The instruments used for data collection included four mathematical connection ability tests, and a mathematical activity package using mathematization. The data were analyzed using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The results of the study revealed that 1) the development of the mathematical activity package using mathematization was of good quality, 2) the mathematical connection ability of the students after being taught using the mathematical activity package was higher than the criteria of 65% at the .05 level of significance, 3) the mathematical connection ability of the students after being taught using the mathematical activity package was higher than before being taught at the .05 level of significance, and 4) the mathematical connection ability components were changed in a positive direction in term of explaining solutions, identifying mathematical knowledge, and identifying examples close to the original problem.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.554
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject การเชื่อมโยง (คณิตศาสตร์)
dc.subject Mathematics -- Study and teaching ‪(Secondary)‬
dc.subject Activity programs in education
dc.subject Connections (Mathematics)
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4
dc.title.alternative Development of mathematical activity package by using mathematization to enhance mathematical connection ability of tenth grade students
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การศึกษาคณิตศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.554


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record