DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะด้วยการเรียนจากกรณีศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการให้คำปรึกษาด้านสื่อการเรียนการสอน สำหรับอาจารย์นิเทศก์ระดับประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรวดี ถังคบุตร
dc.contributor.advisor นกุล คูหะโรจนานนท์
dc.contributor.advisor อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
dc.contributor.author บริบูรณ์ ชอบทำดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-06T09:38:03Z
dc.date.available 2023-09-06T09:38:03Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83512
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะด้วยการเรียนจาก กรณีศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการให้คำปรึกษาด้านสื่อการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์นิเทศก์ระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูประจำการระดับประถมศึกษาตอนปลายกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมจำนวน 397 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำแบบทดสอบเพื่อทำเหมืองข้อมูลได้แก่อาจารย์นิเทศก์จำนวน 295 คน และกลุ่มตัวอย่างในการทดลองบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ได้แก่อาจารย์นิเทศก์จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test K-means ต้นไม้การตัดสินใจ Apriori ผลการวิจัย พบว่า 1. การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนของครูจะเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉายมากที่สุดได้แก่ แผนที่ภาพถ่าย ประเภทใช้เครื่องฉายมากที่สุดได้แก่ เครื่องวิดีโอโพรเจ็กเตอร์หรือเครื่องแอลซีดี ประเภทสื่อประสมมากที่สุด ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและประเภทเทคโนโลยีการเรียนการสอนมากที่สุดได้แก่ โปรแกรม PowerPoint 2. รูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะด้วยการเรียนจากกรณีศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการ ให้คำปรึกษาด้านสื่อการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์นิเทศก์ระดับประถมศึกษามีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โมดูลการติดต่อสื่อสารเป็นส่วนเป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะกับอาจารย์นิเทศก์ ได้แก่ การคลิกเมาส์ การป้อนข้อความ การทำแบบทดสอบ การแสดงข้อความ 2) โมดูลอาจารย์นิเทศก์เป็นส่วนที่บันทึกข้อมูลของ อาจารย์นิเทศก์ ได้แก่ กลไกการจัดการข้อมูลประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล กลไกการวินิจฉัยผู้เรียน ประกอบด้วยคะแนนแบบทดสอบ การวินิจฉัยอาจารย์นิเทศก์ โมเดลอาจารย์นิเทศก์ การจำแนกอาจารย์นิเทศก์ การจัดกลุ่ม อาจารย์นิเทศก์ กฎความสัมพันธ์และการทำนายอาจารย์นิเทศก์ 3) โมดูลการสอนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสื่อการ เรียนการสอนและวิธีการสอนด้วยกรณีศึกษา 4) โมดูลความเชี่ยวชาญมีองค์ประกอบได้แก่ การให้คำปรึกษาและการวิเคราะห์การให้คำปรึกษา 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะด้วยการเรียนจากกรณีศึกษาเพื่อ เสริมสร้างความรู้ในการให้คำปรึกษาด้านสื่อการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์นิเทศก์ระดับประถม ศึกษาพบว่า อาจารย์นิเทศก์มีความรู้ในการให้คำปรึกษาด้านสื่อการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to develop of an intelligent computer-assisted instruction model using case-based learning to enhance instructional media consultation for elementary school supervisors. The number of 397 elementary school teachers in the Department of Social Religion and Culture Studies was randomly selected. The sampling group used for data mining test consisted of 295 supervisors, and another group employed in testing intelligent computer-assisted instruction was comprised of 30 supervisors. The data were analyzed by using percentage, means, standard deviation (S.D.), t-test, K-means, Decision Tree, and Apriori. The results indicated that: 1. In the utilization of instructional media, non- projected material was selected. The most instructional media that the teachers selected to use was photogram and the instructional media mostly used in projected and equipment were projectors. In multimedia, the instructional technology that the teachers mostly used were computer-assisted instruction and the instructional technology that the teachers frequency used was PowerPoint. 2. The intelligent computer-assisted instruction model using case-based learning to enhance instructional media consultation for elementary school supervisors was divided into four modules: 1) communication module is an interaction between an intelligent computer-assisted instruction and supervisors such as mouse clicking, inputting text, doing test, and massage displaying. 2) supervisor module is the record of their supervisors’ information such as data management mechanisms consisting of data storage and data presentation. Supervisor diagnostic mechanism consisted of the score from the test, diagnosing supervisors, model of supervisors, classification of supervisors, grouping of supervisors, association rule and the prediction of supervisors. 3) instruction module is the content related to instructional media and teaching method by case study, and 4) the expert module is the module for giving and analyzing consultation process. 3. The result from an intelligent computer-assisted instruction model using case-based learning to enhance instructional media consultation for elementary school supervisors revealed that elementary supervisors can better provide instructional media consultation for post-tests than a pre-tests at .05 significance level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน en_US
dc.subject Computer-assisted instruction en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะด้วยการเรียนจากกรณีศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการให้คำปรึกษาด้านสื่อการเรียนการสอน สำหรับอาจารย์นิเทศก์ระดับประถมศึกษา en_US
dc.title.alternative Development of an intelligent computer-assisted instruction model using case-based learning to enhance instructional media consultation for elementary school supervisors en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record