Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10133
Title: | สภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา |
Other Titles: | State and problems of curriculum administration of the higher diploma in technology in the institutions of the Department of Vocational Education |
Authors: | สุภาวดี ภิรมย์รัตน์ |
Advisors: | ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง หลักสูตร การศึกษาทางอาชีพ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 110 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 212 คน รวมประชากรทั้งหมด 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละข้อโดยใช้โแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ สถานศึกษามีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ตลอดจนความพร้อมของสถานศึกษา เพื่อเตรียมวางแผนการใช้หลักสูตร จัดประชุมผู้มีส่วนร่วมในการวางแผน เตรียมวางแผนด้านบุคลากร อาคารสถานที่ ประสานแผนระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนการใช้หลักสูตร ในการเตรียมบุคลากร สถานศึกษาจัดหาอาจารย์ผู้สอนให้เหมาะสมกับหลักสูตร สำรวจและจัดอาจารย์ผู้สอนให้มีจำนวนเพียงพอ จัดอาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงตามวุฒิ ความถนัด ความสามารถและประสบการณ์ และจัดจ้างอาจารย์พิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ส่วนการจัดตารางสอน สถานศึกษาจัดศูนย์รวมตารางสอนทุกประเภท จัดตารางสอนต่อเนื่องกันหลายคาบในรายวิชาที่เป็นภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการจัดตารางสอน ในการบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน สถานศึกษามีการจัดวัสดุฝึกอุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอนให้ทันกับการเปิดภาคเรียน จัดเตรียมอาคารสถานที่สำหรับการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของสถานศึกษาให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและตามลักษณะการบริหารสถานศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารห้องสมุด เพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน การประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร โดยจัดประชุมชี้แจงให้แก่นักศึกษา มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการศึกษาดูงานนอกสถานที่ การส่งนักศึกษาไปผึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาอื่น นอกจากนี้สถานศึกษายังมีการส่งเสริมขวัญและกำลังใจ โดยการยกย่อง ชมเชย และให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน มีการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตรโดยการแต่งตั้งบุคลากรและคณะกรรมการนิเทศภายใน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสังเกต และแบบสอบถาม มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรหลังการใช้และระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร ด้านปัญหาการบริหารหลักสูตร พบว่าปัญหาการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับมาก คือ ขาดการนำปัญหาการใช้หลักสูตรมาใช้ในการวางผน การจัดอาจารย์ผู้สอนให้ตรงตามวุฒิยังไม่พอ ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน การจัดห้องสมุดยังขาดความเหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาค้นคว้าสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของการส่งเสริมขวัญและกำลังใจเท่าที่ควร ขาดการนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ |
Other Abstract: | To study the state and problems of the curriculum administration of the Higher Diploma in Technology in the institutions of the Department of Vocational Education. The population comprised 110 institutions administrators and 212 instructors, totaling 320. Research instruments employed were two questionnaires. The data were analyzed by the program SPSS/PC+. The percentage, the arithmetic mean and the standard deviation for each topic were computed. The research results were found in the following aspects : The Institutions studied the current state, the problems, the needs as well as the readiness of the institutions to prepare the planning of the curriculum implementation. The conferences among the planning participants were held. The planning in staff, building spaces, and the planning coordination between the related parties were managed. The majority of instructors had no participation in planning the curriculum implementation. In preparing the staff, the institutions looked for qualified instructors and surveyed their numbers to be sufficient for impletation. Instructors were assigned to teach according to their educational backgrounds, aptitudes, abilities and experiences. The part-time teachers to solve the problem of instructors' inadequacy were employed. In the timetable scheduling, there was the subject schedule center. The scheduling of practice subjects was made in various connected periods of the time. The majority of instructors had no participation in timetable scheduling. In the services of curriculum materials and instructional media. The institutions provided the materials for practice, instruments, and teaching media before the semester resumed. The building spaces and the institutional environments were prepared for teaching and learning activities. The budget allocation regarding needs was made. The promotion and the support of the librarys' service were done to suit the teaching and learning condition. The public relations of the curriculum implementation were done by informing the students. Coordination with the related organizations was performed by visiting other institutions and providing the students to train in other institutions. Besides, there were boosting morale and recognizing the staff performances by praising, complimenting and giving them moral support. Supervision and monitoring of the curriculum implementation were also done by assigning the staff's responsibilities and appointing the internal supervision commitee. The instruments used in the internal supervision were the observation forms and questionnaires. The evaluation of the curriculum implementation after and during the operation was also initiated. The majority of instructors had no participation in supervision, monitoring and evaluation of the curriculum implementation. Concerning the problems confronted, it was found that most institutions faced the problems of the curriculum implementation in a great extent. There were lack of implementation of problem in planning, insufficient qualified instructors, insufficient budgets in providing instructional media, inappropriate libraries to facililate bachelor degree students, insufficient allocation for curriculum, lack of public relations. Besides, the administrators paid little attention to boosting morale, and lack of supervition, monitoring and evaluation of the curriculum implementation consistently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10133 |
ISBN: | 9746367056 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supawadee_Pi_front.pdf | 935.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawadee_Pi_ch1.pdf | 874.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawadee_Pi_ch2.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawadee_Pi_ch3.pdf | 757.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawadee_Pi_ch4.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawadee_Pi_ch5.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawadee_Pi_back.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.