Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10183
Title: สัณฐานวิทยาและการสร้างพิษของไดโนแฟลกเจลเลตสกุล Alexandrium บริเวณอ่าวไทยตอนบน
Other Titles: Morphology and toxin production of dinoflagellate genus Alexandrium in the upper Gulf of Thailand
Authors: ชลธยา ทรงรูป
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
อัธยา กังสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ajcharap@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: คุณภาพน้ำ
ไดโนแฟลกเจลเลต
แพลงค์ตอนพืช
อ่าวไทย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชในบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ และบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตจังหวัดที่ติดต่อกับทะเลรอบอ่าวไทยตอนบน รวมทั้งบริเวณกลางอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539 จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 รวม 17 ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวจะมีไดโนแฟลกเจลเลตสกุล Alexandrium อยู่มากน้อยเพียงไรและทดสอบความสามารถในการสร้างพิษของไดโนแฟลกเจลเลตสกุลดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้าระวังไดโนแฟลกเจลเลตที่สามารถสร้างพิษได้ในสกุลนี้ จากการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 17 ครั้ง พบ Alexandrium เพียง 2 ชนิด คือ Alexandrium tamarense และ Alexandrium minutum จากจุดเก็บ 8 แห่งในบริเวณ 6 จังหวัด โดยพบ A. minutum บริเวณปากแม้น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ส่วน A. tamarense พบว่ามีการกระจายอยู่ทั่วไปรอบอ่าวไทยตอนบนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำที่อยู่ในบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง และจันทบุรี รวมทั้งบริเวณปากแม่น้ำระยอง จังหวัดระยองด้วย เมื่อได้ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแผ่นเปลือกพบว่า Alexandrium ทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในลักษณะของแผ่นเปลือกแผ่นที่ 6 และแผ่น posterior sulcal plate นอกจากนี้ยังพบความผันแปรของแผ่นเปลือกทั้งในระหว่างชนิดที่เก็บจากที่เดียวกันและต่างสถานที่กัน โดยเฉพาะตำแหน่ง ventral pore ทั้งนี้ใน A. tamarense ยังพบอีกว่ามีแผ่นเปลือกในชุด epitheca เกินมาจากปกติ และรูปร่างของposterior sulcal plate ต่างไปจากลักษณะประจำชนิดโดยมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และขอบด้านล่างของแผ่นตัดตรง คัดเลือกเซลล์ Alexandrium จากแต่ละบริเวณมาเพาะเลี้ยงเป็น clonal culture ได้ทั้งหมด 22 โคลนด้วยอาหารเลี้ยงสูตร T1 ที่อุณหภูมิ 30+- องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 3,000 ลักซ์ ช่วงเวลาสว่าง:มืด เท่ากับ 12:12 ชั่วโมง จากนั้นศึกษารูปแบบการเจริญเติบโตใน culture แต่ละโคลนที่คัดเลือกเป็นตัวแทนในแต่ละจุดเก็บ พบว่าสัมประสิทธิ์การเติบโตอยู่ในช่วง 0.40 ถึง 0.65 ต่อวัน โดยมีรูปแบบการเติบโตคล้ายคลึงกันคือ เข้าสู่ระยะ log phase เมื่อ culture มีอายุ 2-3 วัน และเข้าสู่ระยะ late log phase เมื่อ culture มีอายุ 8-9 วัน หลังจากเริ่มเลี้ยง ทดสอบความเป็นพิษจากสารสกัดเซลล์ของ A. tamarense และ A. minutum จำนวน 12 โคลน และ 4 โคลน ตามลำดับ ด้วยวิธี mouse bioassay และวิเคราะห์องค์ประกอบพิษด้วย HPLC พบว่ามีเพียง A. minutum เท่านั้นที่สร้างพิษได้ โดยมีความเป็นพิษอยู่ในพิสัย 1.12x10 -4 ถึง 1.53x10 -3 MU/เซลล์ และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบพิษพบว่าประกอบด้วย GTX1-4 ซึ่งมี GTX1 เป็นองค์ประกอบหลักและพบ GTX4 รองลงมา ส่วน GTX2 และ GTX3 พบในปริมาณน้อย ยกเว้นบางโคลนที่พบว่ามี GTX4 เป็นองค์ประกอบหลักโดยในแต่ละโคลนมีความเป็นพิษไม่ต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงความเป็นพิษต่อความหนาแน่นเซลล์ของ A. minutum ที่พบในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่ามีความเป็นพิษต่ำและต่ำกว่าระดับที่จะเป็นพิษต่อสัตว์น้ำหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก
Other Abstract: Alexandrium-liked-cells were isolated from plankton samples collected from aquaculture ponds, riverine estuaries and the coastal areas from May 1995 to March 1998. In order to investigate the distribution of dinoflagellate Alexandrium in the Upper Gulf of Thailand, cell morphology as well as thecal plate structure and arrangement were examined in both natural and clonal cells to identify these samples to species level. From clonal cultutres of Alexandrium collected from 8 different locations, only two species, Alexandrium minutum and Alexandrium tamarense, were distinguished from the characterized 6th precingular plate and posterior sulcal plate. A. minutum was isolated from Chao Phraya river mouth while A. tamarense was widely distributed from aquaculture ponds in Petchchaburi, Samut Songkram, Samut Sakorn, Chantaburi and Rayong Province as well as from Rayong river mouth. However, the shape of posterior sulcal plate of A. tamarense differed from typical character in which the width is longer than the length and flattened at the posterior part. Furthermore, the intra and interspecific variation of plates morphology were discussed. Clonal cultures of Alexadrium were maintained in T1 medium at 30+-1 ํC, 12:12 hrs LD cycle and at light intensity of 3,000 lux. Representative clones from all eight sites were selected for growth pattern study. All clone with the initial cell concentration about 500 cells/ml showed the lag growth phase for 2-3 days followed by the exponential phase with the growth rate of 0.40 to 0.65 division per day untill day 8 or day 9. Mouse bioassay method and reversed-phase HPLC analysis were employed to determine toxicity and toxin composition of Alexandrium extracts. Only extracts from 4 clonal cultures of A. minutum were toxic. The toxcity varied from 1.12x10 -4 to 1.53x10 -3 MU/cell. The toxin profile composed of GTX1-4.GTX1 was the dominant component compared to GTX4, while GTX2 and GTX3 were found in trace amount. This result suggested that A. tamarense did not produce toxin. Furthermore, the density of A. minutum, the toxin producing species, found in the study area was extremely low that it could not threaten the aquatic lives and human health.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10183
ISBN: 9743323511
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cholthaya_So_front.pdf818.65 kBAdobe PDFView/Open
Cholthaya_So_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Cholthaya_So_ch2.pdf786.74 kBAdobe PDFView/Open
Cholthaya_So_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Cholthaya_So_ch4.pdf892.09 kBAdobe PDFView/Open
Cholthaya_So_ch5.pdf707.41 kBAdobe PDFView/Open
Cholthaya_So_back.pdf944.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.