Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11591
Title: บูรณาการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการสร้างแบบจำลองอุทกวิทยาเพื่อการวิเคราะห์และทำแผนที่น้ำหลาก : กรณีศึกษาลุ่มน้ำเพชรบุรี
Other Titles: Integrating the geographic information system with hydrologic modeling for flood analysis and mapping : a case study of Phetchaburi Basin
Authors: ปิยาอร เวชษี
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ
สนิท พิริยะพงษ์พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Srisard.T@Chula.ac.th
Subjects: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
แบบจำลองทางอุทกวิทยา
น้ำหลาก
น้ำท่วม
ลุ่มน้ำเพชรบุรี
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอการบูรณาการการใช้แบบจำลองอุทกวิทยา/ชลศาสตร์ และแบบจำลองทางพื้นที่ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของน้ำหลาก คำนวณระดับน้ำและจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่และความลึกของน้ำหลาก บริเวณลุ่มน้ำเพชรบุรี ตั้งแต่เขื่อนเพชรจนถึงจุดออกทะเล ในรอบปีการเกิด 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี การจำลองการเคลื่อนที่ของน้ำหลากใช้แบบจำลอง HEC-HMS และใช้แบบจำลอง HEC-RAS ในการจำลองระดับน้ำ ซึ่งการปรับเทียบแบบจำลองทั้งสอง ได้ใช้ข้อมูลสัณฐานของทางน้ำที่คำนวณโดยโปรแกรม ArcView 3.2 extension HEC-GeoHMS และ HEC-GeoRAS สถิติน้ำท่าจากกรมชลประทาน และค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระ n จากงานวิจัยทางอุทกวิทยา ผลที่ได้จากการจำลองเหตุการณ์ด้วย HEC-HMS คือ ชลภาพน้ำท่า ณ จุดน้ำไหลออก ของแต่ละช่วงลำน้ำและนำไปใช้กับแบบจำลอง HEC-RAS เพื่อคำนวณค่าระดับน้ำ จากนั้นสร้างเป็นแผนที่น้ำหลากบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง ด้วยการวิเคราะห์ทางพื้นที่ งานวิจัยนี้ได้ใช้ HEC-GeoHMS และข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขแบบกริด จำลองทิศทางการไหลของน้ำในบริเวณที่ราบจากแนวคันกั้นน้ำ ของแม่น้ำเพชรบุรีจนถึงแนวชายฝั่งทะเล ส่วนการทำแผนที่แสดงบริเวณน้ำท่วมและระดับความลึก ได้ใช้แบบจำลองสามมิติประกอบกับแผนที่น้ำท่วม ที่ได้จากการสำรวจขณะเกิดน้ำหลากของกรมชลประทาน พบว่า น้ำหลากที่มีความถี่ต่ำ (ขนาดใหญ่) ทำให้พื้นที่น้ำท่วมขยายไปทางทิศใต้และตะวันตก
Other Abstract: To present an integrated approach using computer hydrologic/hydraulic process modeling and spatial modeling provided by the Geographic Information System. The objectives of this project were to do flood-routing analysis, calculate water surface profiles and construct maps showing flood inundation area and flood depth in the Phetchaburi river, from the Phet dam to the sea. Flood events of 2 years, 5 years and 10 years were selected for simulations. HEC-HMS and HEC-RAS models were used, for each event, to simulate flood-routing and flood elevation profile respectively. Data used in model calibration were river morphology derived from ArcView 3.2 extension HEC-GeoHMS and HEC-GeoRAS software, recorded hydrographs and hydrologic parameters (Manning n) from previous studies. Results from HEC-HMS, flood hydrographs at outflow of each reach, were used as inputs to HEC-RAS to calculate water surface profiles, which then were georeferenced to create a flood map in the floodplain area within river embankments. HEC-GeoHMS was used a grid model to simulate flow direction for the flooded area sloping from the embankment to the sea. Flood maps of this area created by overlaying terrain model with inundation maps surveyed by the Royal Irrigation Department. It was noticeable that low frequency (large) flood resulted in the expansion of flooded area towards the south and west.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11591
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1244
ISBN: 9741740107
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1244
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaorn.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.