Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12367
Title: | การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยที่เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ |
Other Titles: | A meta-analysis of research comparing item analyses between classical test theory and item response theory |
Authors: | เฉลิมฤทธิ์ แกล้วกล้าหาญ |
Advisors: | ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siridej.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การวิเคราะห์อภิมาน ข้อสอบ ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สังเคราะห์งานวิจัยที่เปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบและผู้สอบ ระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ อันประกอบไปด้วย ค่าความสามารถของผู้สอบ ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อสำรวจและศึกษางานวิจัยที่เปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ ระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 2) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของงานวิจัยที่เปรียบเทียบค่า พารามิเตอร์ของข้อสอบและผู้สอบ ระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 3) เพื่อศึกษาตัวแปรปรับที่ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของงานวิจัย ที่เปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบและผู้สอบ ระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ จากงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 34 เล่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Hierarchical stepwise regression analysis) ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า 1. งานวิจัยที่เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ระหว่างทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ จำนวน 34 เล่ม ประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จำนวน 619 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.510 โดยแบ่งเป็น ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ค่าความสามารถของผู้สอบ จำนวน 244 ค่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ค่าอำนาจจำแนก จำนวน 141 ค่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ค่าความยาก จำนวน 228 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.935, 0.674, -0.071 ตามลำดับ 2. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ได้แก่ แหล่งที่มาของงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ประเภทงานวิจัย แหล่งเผยแพร่งานวิจัย พารามิเตอร์ที่เปรียบเทียบ ลักษณะเครื่องมือ คุณภาพของเครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดระดับนัยสำคัญ คะแนนประเมินคุณภาพงานวิจัย และการมีนัยสำคัญของข้อค้นพบ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ การสร้างเครื่องมือ 3. ตัวแปรปรับที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ได้แก่ ตัวแปรดัมมี่การเผยแพร่ในวารสารต่างประเทศ ตัวแปรดัมมี่การเปรียบเทียบค่าความยาก และตัวแปรดัมมี่ผลวิจัยมีนัยสำคัญทั้งหมด สามารถอธิบายความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ได้ 28.5% |
Other Abstract: | To (1) study correlation coefficients of researches comparing parameters of items and examinees between Classical Test Theory (CTT) and Item Response Theory (IRT), (2) survey and study researches comparing parameters between CTT and IRT, (3) to study moderators affecting correlation coefficients of researches comparing parameters of items and examinees between CTT and IRT. The knowledge concerning relationships between parameters of items and examinees between CTT and IRT were synthesized from correlation coefficients of 34 researches both in Thailand and aboard. Descriptive Statistics, ANOVA, and Hierarchical Stepwise Regression Analysis were used to analyze the research data. The synthesis results were summarized as follows: 1) There were 619 correlation coefficients of 34 researches comparing item analyses between CTT and IRT. The average was 0.510. These correlation coefficients consisted of 244 correlation coefficients of examineesๅ' abilities, 141 correlation coefficients of discrimination, and 228 correlation coefficients of difficulty. The averages were 0.935, 0.674, -0.071, respectively. 2) From the result of analysis of variance, it was found that some variables of research characteristic affecting correlation coefficients were statistically significant at .01. These variables consisted of research resources, year of publication, type of research, publication resources, comparative parameters, characteristics of instruments, quality of instruments, data collection procedures, determination of significant level, score of research evaluation, and significance of research findings. In addition, instrument construction was statistically significant at .05. 3). From the result of multiple regression analysis, it was found that moderators affecting correlation coefficients were significant. These moderators consisted of dummy variables of publication in the international journals, comparison of difficulty, utilization of simulating data, and all research results were significant. All of which could explain 29.8% of variance in correlation coefficients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12367 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chalermrit_kl.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.