Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12656
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ และการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงานของพนักงานในหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
Other Titles: Factors relating interest and participation in club activities of officers in government agencies and state enterprises
Authors: ธารทิพย์ สาณะเสน
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jaranai.G@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร
นันทนาการ
การสื่อสารในองค์การ
ความสนใจ (จิตวิทยา)
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบการเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงาน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยส่วนบุคคล การเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ ความสนใจ ทัศนคติ และการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงานที่องค์การจัดขึ้น ของพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรม หน่วยงานที่ทำการศึกษา ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 456 คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เพศ ระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และองค์การที่สังกัด มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างอายุ สถานภาพสมรส รายได้ และตำแหน่ง กับรูปแบบการเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงาน 2. ในภาพรวมแล้ว ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เพศ อายุ และรายได้ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา องค์การที่สังกัด และตำแหน่ง กับการเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงาน 4. ความสนใจในกิจกรรมสโมสรพนักงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง กับทัศนคติที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีต่อกิจกรรมสโมสรพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญอย่างทางสถิติที่ระดับ .001 5. ทัศนคติที่มีต่อกิจกรรมสโมสรพนักงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง กับการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญอย่างทางสถิติที่ระดับ .001 6. ในภาพรวมแล้ว ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นปัจจัยด้านเพื่อนหรือกลุ่มทางสังคม ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7. องค์การที่สังกัด และตำแหน่งของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสคัญทางสถิติระหว่างเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ กับการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสรพนักงาน 8. การเปิดรับข่าวสารด้านกิจกรรมสโมสรพนักงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับทัศนคติที่มีตอกิจกรรมสโมสรพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The research was aimed to examine the correlation between media exposure patterns, demographic variables, personal factors, internal media exposure, interest, attitude and participation in club activities of officers in government agencies and state enterprises. This is a survey research using questionnaires to collect data from the participants in Ministry of Public Health, Office of the Civil Service Commission of Thailand, Petroleum Authority of Thailand, and Metropolitan Electricity Authority. The data from a total of 456 samples was analyzed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson's product moment correlation coefficient which were calculated by SPSS package program. The result of the research could be summed up as follows: 1. Genders, education levels and organizations of the participants significantly correlate with media exposure pattern to club activities. However, ages, marital status, income and positions is not significantly correlate with participation in club activities. 2. Personal factors significantly positively correlates with media exposure pattern to club activities at the level of .05. 3. Genders, ages and income of the participants significantly correlate with internal media exposure to club activities. However, marital status, education levels, organizations and positions is not found to be significantly correlate with internal media exposure to club activities. 4. Interest in club activities significantly positively correlates with attitude towards club activities at the level of .001. 5. Attitude towards club activities significantly positively correlates with participation in club activities at the level of .001. 6. All of the personal factors, except "peer and social group", significantly positively correlates with participation in club activities. 7. Organizations and positions of the participants significantly correlate with participation in club activities. However, the significant correlation between genders, ages, marital status, education levels, income and participationin club activities is not found. 8. Participation in club activities significantly positively correlates with attitude towards club activities at the level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12656
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.360
ISBN: 9743348611
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.360
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tharnthip_Sa_front.pdf600.97 kBAdobe PDFView/Open
Tharnthip_Sa_ch1.pdf820.88 kBAdobe PDFView/Open
Tharnthip_Sa_ch2.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Tharnthip_Sa_ch3.pdf921.83 kBAdobe PDFView/Open
Tharnthip_Sa_ch4.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Tharnthip_Sa_ch5.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Tharnthip_Sa_back.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.