Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12709
Title: อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 : ศึกษากรณีความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการทุจริตในภาคเอกชน
Other Titles: United Nations Convention Against Corruption 2003 : a study of the criminal liability on private corruption
Authors: กัญญาณัฐ บางพาน
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
อุทัย อาทิเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003
การทุจริตและประพฤติมิชอบ
ความรับผิดทางอาญา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทุจริต หรือ คอร์รัปชั่น หมายถึง การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว โดยใช้อำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่ตามตำแหน่งหน้าที่ การศึกษาปัญหาการทุจริตที่ผ่านมามักให้ความสนใจกับการทุจริตในภาครัฐเท่านั้น แต่จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาพบว่า ความล้มเหลวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการทุจริตในภาครัฐและภาคเอกชน ล้วนแล้วแต่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของชาติเป็นจำนวนมากมายมหาศาลทั้งสิ้น สำหรับการทุจริตในภาคเอกชนนี้โดยทั่วไปแล้วคือ การกระทำความผิดในการที่ตนอาศัยมีตำแหน่งหน้าที่ในองค์กรเอกชน กระทำการอันเป็นการขัดต่ออำนาจหน้าที่ของตน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์โดยมิชอบ ในอดีตหากกล่าวถึง การทุจริตในภาคเอกชนอย่างแคบแล้ว มักเป็นความผิดอาญาในรูปแบบการยักยอก หรือฉ้อโกงของบุคคลในองค์กรเอกชนนั้น แต่สำหรับการให้หรือรับสินบนนั้น จะต้องเป็นกรณีที่องค์กรเอกชนให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐรับสินบนเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน การให้หรือรับสินบนแก่องค์กรเอกชนด้วยกัน โดยที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่อย่างใด ก็ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการทุจริตในภาคเอกชนด้วยเช่นกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาถึงความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการทุจริตในภาคเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ดังนั้นประเทศไทยจะต้องตรวจสอบพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าว และจากการศึกษาวิจัยพบว่า มีกฎหมายภายในของประเทศไทยที่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาฯ ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการทุจริตในภาคเอกชนแล้ว แต่ยังมีกฎหมายบางฉบับที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาฯ ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นจะต้องทำการแก้ไขกฎหมายภายในที่มีอยู่หรือยกร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ อันจะส่งผลให้สามารถนำมาตรการความร่วมมือต่างๆ ตามอนุสัญญาฯ มาใช้บังคับ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นทุจริตอย่างเป็นระบบ และความมุ่งหมายให้การกระทำอันเป็นการทุจริตหมดสิ้นไปจากสังคมไทยในที่สุด
Other Abstract: Dishonesty or corruption means an unlawful act for self-interest by using power and influence in office. The previous studies on corruption mostly emphasized on corruption in public sector. As a result of the economic crisis of the country, it was found that both the failure to implement economic policies and the corruption in public and private sector caused enormous damage to the economic system of the nation. Generally, the corruption in the private sector is a wrongful act by virtue of having a function in a private organization, namely, an act in contravention of functions of oneself in order to gain unlawful benefit. In the past, the private corruption in narrow perspective was mentioned as a criminal offence of fraud or misappropriation. In addition, giving or receiving a bribe was only the case where the private organization gave the bribe to public officials or where the latter received such bribe. However, at present, giving or receiving the bribe to or from private organizations themselves without any public officials involved can be deemed the dishonest act in the private sector. In this thesis, the writer studied the criminal liability on private corruption as the preparedness of Thailand to become a State Member of the United Nations Convention against Corruption 2003. Accordingly, Thailand needs to examine the obligations under the Convention. The research findings revealed that domestic laws of Thailand regarding the corruption in the private sector are generally consistent with the provisions of the Convention. Nevertheless, some of them are inconsistent. It is therefore necessary to amend such laws or even enact a new law in order that the measures on co-operation under the Convention can be applied in Thailand. It is for the purposes that the prevention of and the counter to corruption can be systematic and effective, and that the corruption can finally be eliminated from the Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12709
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyanat.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.