Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13602
Title: การยึดรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรค 2
Other Titles: Confined cars as physical evidence under Thailand's Traffic Act (2522) title 78 section 2
Authors: ทรรศนีย์ เรืองศิลป์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
การยึดทรัพย์
การริบทรัพย์
ทรัพย์สินส่วนบุคคล
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีลักษณะเป็นกฎหมายเทคนิค กล่าวคือ กฎหมายดังกล่าวนั้นถูกบัญญัติขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงได้มีการกำหนดสภาพบังคับเอาไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมาตรา 78 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้นำเอาโทษยึดทรัพย์และริบทรัพย์ซึ่งเป็นโทษทางอาญาอย่างหนึ่งมากำหนดเป็นบทลงโทษเอาไว้ จากการศึกษาพบว่า การกำหนดโทษดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิในการใช้ทรัพย์สินของบุคคล อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองเอาไว้ จึงมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจรัฐเข้าไปจำกัดสิทธิการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของปัจเจกชน และเป็นการเพิ่มภาระให้กับเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถคันก่อเหตุ ทั้งที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถอาจมิได้ทราบถึงเหตุในการกระทำความผิดนั้นเลย ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักกรรมสิทธิ์อันเป็นหลักการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ โดยในการยึดรถยนต์ของกลางนั้นจะต้องมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างเพียงพอ มิเช่นนั้นแล้วเจ้าพนักงานก็ไม่ควรใช้อำนาจในการยึดรถยนต์ของกลางดังกล่าวเอาไว้ อีกทั้งควรมีการวางระเบียบปฏิบัติในการยึดรถยนต์ของกลาง เพื่อเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ผู้ศึกษายังเห็นว่าไม่ควรนำมาตรการให้รถยนต์ของกลางต้องตกเป็นของรัฐโดยผลของกฎหมายมาใช้ในบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนและเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างเหมาะสมและได้สัดส่วนมากที่สุด
Other Abstract: Under Thailand Traffic Act (2522) this act purpose was to properly organize the society’s well being and for the intention of the act it self. Special conditions are made for this act under title 78 section 2 (act2522), which states that property maybe seized if any legal case was issued. From studies shows that determining this kind of penalty will limit freedom of using there own possession. Which in a way limits an individual right to make full use any confiscated vehicle in which may not concern with the actual owner. Therefore an adjustment to the act must be made to insure that the owners maybe able to use the confiscated vehicle if no further inspections are needed. Moreover, the seized vehicle should not become the property of state. So that there will be justice to the citizen.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13602
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.376
ISBN: 9741427212
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.376
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanee Ru.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.