Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16329
Title: การลดและควบคุมความสูญเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก โดยใช้กรอบแนวทางการบริหารความเสี่ยง กรณีศึกษา : โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Other Titles: Loss reduction and control in plastic autoparts production process using risk management framework : case study of an autoparts factory
Authors: จินต์จิรา อเนกบุณย์
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasert.A@chula.ac.th
Subjects: การบริหารความเสี่ยง
การควบคุมความสูญเปล่า
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลดและควบคุมความสูญเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก โดยใช้แนวทางการบริหารความเสี่ยง กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ งานวิจัยเริ่มจากการคัดเลือกข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดของเสียและผลิตภัณฑ์ที่เกิดมากที่สุด หลังจากนั้นใช้การบริหารความเสี่ยง ซึ่งเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ แล้วจึงระบุความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคไม่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จากนั้นจึงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องประเมินความเสี่ยงผ่านแบบสอบถาม เพื่อเรียงลำดับตามความจำเป็นในการจัดการ ขั้นตอนต่อมาคือการสร้างแผนจัดการความเสี่ยง โดยอาศัยหลักของการวิเคราะห์แขนงความบกพร่อง (Fault tree diagram) หรือ FTA ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของความเสี่ยง และเพื่อทำให้การวางแผนจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงประยุกต์ใช้แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยง (Risk map) เพื่อค้นหารากของความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง เสร็จแล้วจึงประยุกต์ใช้แผนจัดการความเสี่ยงที่มีทั้งสิ้น 4 แผนเป็นขั้นตอนสุดท้าย จากการนำแผนจัดการความเสี่ยงทั้ง 4 แผนไปปฏิบัติพบว่า สามารถลดระดับความเสี่ยงด้านทักษะในการทำงานของพนักงานหน้าเครื่องฉีดไม่เพียงพอ ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ขาดการบำรุงรักษา และด้านพนักงานทำงานผิดพลาด จากระดับความเสี่ยงสูงมากเป็นระดับปานกลาง และความเสี่ยงด้านไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด จากระดับความเสี่ยงปานกลางเป็นระดับต่ำ นั่นหมายความว่า การนำแผนจัดการความเสี่ยงไปปฏิบัติสามารถช่วยลดระดับความเสี่ยง ที่ทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิตชิ้นงาน อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จากของเสียในการผลิตแผงประตูหลังด้านขวาและซ้าย 2.76% หลังการใช้แผนลดลงเหลือ 1.78% และชิ้นงานแผงประตูหน้าด้านขวาและซ้าย 2.60% หลังการใช้แผนลดลงเหลือ 1.76%
Other Abstract: To decrease and control losses in plastic parts process by using risk management framework in which could impact to the case study of an autoparts factory. Screening the defects part which could help improve the product losses most was conducted as the first stage. In order for using risk management framework, objectives specification and risk identification were also applied in order to analyze the data gained. Questionnaires was used as the main research instrument and distributed to the subjects in order to prioritize management necessity. Fault tree analysis (FTA) was also used as a tool to analyze root causes or risk causes. In so doing, the management plans can be conducted more effectively. The application of risk map was used to investigate the root causes/ risk factors. The 4 risk treatment plans were finally implemented. By illustration from applying the 4 risk treatment plans, the shortage of injection staffs working skills, machine and equipment, lack of maintenance, staff working mistakes which are originally leveled to be high can be leveled to be medium. Lack of following the working instructions is originally leveled to be medium can be leveled to be low. The 4 risk treatment plans has been acceptably used to help decrease the risk of plastic parts process losses. The Trim Rear RH and LH Door defects which are originally from 2.76% to 1.78%. The Trim Front RH and LH Door defects which are originally from 2.60% to 1.76%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16329
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1268
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1268
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jinjira_an.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
jinjira_an.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.