Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17619
Title: การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนวิชา "การวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ" โดยใช้ระเบียบวิธีสถิติ
Other Titles: A Statistical analysis for teaching and learning problems on "Statistical analysis for business"
Authors: พัชนี ศิรตานนท์
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถิติ -- การศึกษาและการสอน -- วิจัย
Issue Date: 2524
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อเป็นการศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาการวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ ตลอดจนแนวทางในการปรับปรุงด้านเนื้อหาวิชานี้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าปัญหาการเรียนวิชาการวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ ของนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต เกิดขึ้นจากพื้นฐานวิชาสถิติในระดับปริญญาตรีของนิสิตมีไม่เพียงพอ และ/หรือการอุทิศเวลาเพื่อการศึกษาวิชานี้ไม่เพียงพอ จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สาเหตุที่มีการถอนวิชาการวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจของนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิตในแต่ละภาคการศึกษา เป็นจำนวนค่อนข้างสูงนั้น เนื่องจากนิสิตส่วนใหญ่ทำงานระหว่างศึกษา ทำให้ไม่มีเวลามาเรียนและเรียนไม่เข้าใจ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะมีความพยายามและอุทิศเวลาเพื่อการเรียนวิชานี้มาก แต่ก็ยังมีปัญหาในการเรียน ซึ่งสรุปได้ว่าเกิดขึ้นจากพื้นฐานความรู้ทางด้านวิชาสถิติในระดับปริญญาตรีของนิสิตมีไม่เพียงพอ จากผลการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบวิชาการวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ กับคะแนนเฉลี่ยวิชาสถิติในระดับปริญญาตรีของนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต พบว่า คะแนนทั้งสองชุดมีความสัมพันธ์กันด้วยระดับนัยสำคัญ 5% อย่างไรก็ตาม นิสิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เนื้อหาวิชานี้ยากและมากเกินไป ถ้ามีการตัดเนื้อหาวิชาบางหัวข้อทิ้งไป และเลือกเรียนเฉพาะหัวข้อที่สามารถนำไปประยุกต์ทางธุรกิจโดยตรง จะทำให้เนื้อหาวิชานี้น่าสนใจยิ่งขึ้น และช่วยให้อาจารย์สามารถสอนได้ช้าลง และมีเวลาในการอธิบายรายละเอียดของแต่ละหัวข้อของเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น ซึ่งอาจลดปัญหาการเรียนวิชานี้ได้ ทั้งยังเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีในการเรียนวิชานี้อีกด้วย สำหรับปัญหาด้านปริมาณหนังสือในห้องสมุดมีไม่เพียงพอกับจำนวนนิสิต และการบริหารของห้องสมุดบัณฑิตวิทยาลัยนั้น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ควรนำมาพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขต่อไป
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study ways and means of tackling the academic problems of the course “Statistical Analysis for Business”, as well as to propose reasonable adjustments of the subject matters for this course. The graduates’ problems are expected mainly because of poor undergraduate background in statistics and/or the lack of sufficient interest and time spent on it. The investigation reveals that the number of students dropping in the course “Statistical Analysis for Business” is relatively high because most of them are working and do not have much time to devote to this course. Though graduates had much time to devote to this course, they had many problems in learning. Poor background also accounts for such a failure. The correlation between the grades in “Statistical Analysis for Business” and undergraduates’ average grades in statistics are correlated in 5% significant level. The graduates are of the opinion that it is worth trimming the course, leaving only those areas that are applicable to business in order to make the course more interesting. This will give the instructor more time to give a more comprehensive presentation of the course. The graduates will surely adopt a better attitude concerning this course. It is just proper to also consider improving the management of the library of the Faculty of Commerce and Accountancy.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17619
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchanee_Si_front.pdf375.98 kBAdobe PDFView/Open
Patchanee_Si_ch1.pdf276.74 kBAdobe PDFView/Open
Patchanee_Si_ch2.pdf312.82 kBAdobe PDFView/Open
Patchanee_Si_ch3.pdf656.1 kBAdobe PDFView/Open
Patchanee_Si_ch4.pdf504.4 kBAdobe PDFView/Open
Patchanee_Si_back.pdf404.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.