Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17716
Title: | พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 : ศึกษากรณีอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ |
Other Titles: | Protection of victims of Domestic Violence Act B.E. 2550 : a study of authority and role of the officer |
Authors: | สุนันทา กว้างทุ่ง |
Advisors: | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pareena.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์ในการให้ ความคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีโอกาสกลับตัว รวมทั้งรักษาความสัมพันธ์อันดีงามในครอบครัวไว้ โดยพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้มี “พนักงานเจ้าหน้าที่” ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เช่น เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่เกิดเหตุ ความรุนแรงในครอบครัวเพื่อดำเนินการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ออกคำสั่งกำหนด มาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราว หรือยุติคดี โดยการประนีประนอมยอมความและไกล่เกลี่ย เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในประการต่าง ๆ ยังมีปัญหาด้านแนว ทางการปฏิบัติงานที่ไม่ชัดเจน ซึ่งมีผลทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขาดประสิทธิภาพในการใช้อำนาจหน้าที่ นอกจากนี้ พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ อยู่มาก ซึ่งการใช้ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวอาจมีผลกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใน กรณีที่ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเห็นควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยกำหนดแนวทางในการใช้ อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในประการต่าง ๆ ให้เกิดความชัดเจน ซึ่งการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าวจะทำให้เกิดผลในการบังคับใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในขณะเดียวกัน ก็เห็นควรเสนอให้มีมาตรการในการ ควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อเป็นหลักประกันแก่ประชาชนว่าการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของ พนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นไปโดยความบริสุทธิ์ ยุติธรรมและกระทบสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองน้อยที่สุด |
Other Abstract: | The Protection of Victims of Domestic Violence Act B.E. 2550, which aims to protect victims from domestic violence and to confer offenders an opportunity to reform themselves as well as to maintain good relationship within family unit, prescribes several government officers as the law enforcement agencies whose duty is to protect victims from domestic violence such as entering into domestic violence scene, even in domestic premises, in order to assist victims immediately after receiving a request. Furthermore, with their own power, the authorized officers could order a temporary protection order to relieve the violence and resolve disputes with compromise and meditation processes etc.. The relevant study has found that in practice, there are several complicated problems in exercising such power of the authorized officers. This obstacle conduces them to inefficient performance inevitably. In addition, the exercise of such power under the Act, which confers the authorized officers a lot of power in the performance of their official functions, may adversely impact rights and liberties of people under the Thai Constitution in the event of wrongfully exercising their officially functional power. This thesis, thus, proposes guidance on resolutions for the problem regarding the exercise of such officially functional power of the authorized officers by mean of amending the Act with respect to the problem in order for the authorized officers to clearly realize their lawful power and to efficiently perform their official functions in compliance with the intention of the Act. In the meantime, control and check measures on exercising such officially functional power of the authorized officers shall also be added in the Act to prevent wrongful exercise of such officially functional power and to guarantee people that the authorized officers’ performance, in pursuance of the norm of absolute fairness, will slightly impact fundamental rights and liberties of people under the Thai Constitution. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17716 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sununta_Kw.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.