Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17996
Title: การวิเคราะห์ผลร่วมระหว่างช่วยการเสนอสิ่งเร้าซ้ำ และช่วงจำในการจำคำโยงคู่แบบน่อเนื่อง เพื่อทดสอบทฤษฎีการเลือกรหัส
Other Titles: An analysis of the interaction effects between interpresentation and retention intervals in continuous paired-associate memory : a test of the selective encoding theory
Authors: นวลฉวี คุ้มตระกูล
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
รัตนา พุ่มไพศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Ratana.P@chula.ac.th
Subjects: ความจำ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่ามีผลร่วมกันระหว่างช่วงการเสนอสิ่งเร้าและช่วงจำหรือไม่ในการจำคำโยงคู่แบบต่อเนื่องเพื่อทดสอบทฤษฎีการเลือกรหัส ผู้รับการทดลองเป็นนิสิตปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2521 จำนวน 30 คน เป็นชาย 15 คน หญิง 15 คน รับสมัครเข้าร่วมรับการทดลองตามความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ ชุดคำโยงคู่ซึ่งเป็นคำนามภาษาไทย 2 พยางค์ คู่กับตัวเลขอารบิค 2 หลัก จำนวน 56 คู่ที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยคู่ที่ใช้ทดสอบ 32 คู่ คู่แทรก 24 คู่ ทำการทดลองกับผู้รับการทดลองทีละคน โดยฉายสไลด์รายการคำโยงคู่แบบต่อเนื่องจำนวน 120 คู่ ผู้รับการทดลองแต่ละคนจะต้องเรียนรายการคำโยงคู่คนละ 1 รายการที่ต่างกัน ในแต่ละรายการจะประกอบไปด้วยเงื่อนไขการทดลองทั้ง 16 เงื่อนไข ผู้วิจัยนำคะแนนของผู้รับการทดลองไปจัดกระทำดังต่อไปนี้ 1) หาค่าเฉลี่ยของคะแนนการจำ 2) วิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนการจำ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. พบว่าไม่มีผลร่วมระหว่างช่วงการเสนอสิ่งเร้าและช่วงจำ 2. พบว่าความจำไม่ได้ดีที่สุดที่ช่วงการเสนอสิ่งเร้า เท่ากับช่วงจำ
Other Abstract: The main purpose of this study was to investigate the interaction effects between interpresentation and retention intervals in continuous paired-associate memory in order to test the Selective Encoding Theory. The subjects of this experiment were 30 volunteer undergraduate students, fifteen males and fifteen females, at Chulalongkorn University in the academic year 1978. The instrument used in the experiment was a set of 56 Thai two-syllabled words, each pair associated with two-digited members. This set was divided into two subsets, a set consisting of 32 testing pairs and another consisting of 24 intervening pairs. The experimentation was done to the subject one by one by exposing him (her) to the set of pairs projected on a screen by a slide projector continually for 120 pairs under 16 conditions. Statistical analysis of the score obtained was done by ANOVA. The results were that. 1. There was no interaction effects between interpresentation and retention intervals. 2. Retention was not at best at equal interval of interpresentation and retention intervals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17996
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuanchavee_Ch_front.pdf308.6 kBAdobe PDFView/Open
Nuanchavee_Ch_ch1.pdf818.36 kBAdobe PDFView/Open
Nuanchavee_Ch_ch2.pdf376.54 kBAdobe PDFView/Open
Nuanchavee_Ch_ch3.pdf248.62 kBAdobe PDFView/Open
Nuanchavee_Ch_ch4.pdf334.64 kBAdobe PDFView/Open
Nuanchavee_Ch_ch5.pdf235.13 kBAdobe PDFView/Open
Nuanchavee_Ch_back.pdf264.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.