Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสายใจ อินทรัมพรรย์-
dc.contributor.authorสิริวัฒน์ ลายกนก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-04T14:37:07Z-
dc.date.available2012-04-04T14:37:07Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745627992-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18979-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และนักเรียนเกี่ยวกับการฝึกสอนวิชาภาษาไทยของนิสิตฝึกสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง เวลาในการฝึกสอน การเตรียมการสอน การดำเนินการสอน การจัดกิจกรรมในห้องเรียน การวัดและประเมินผล บุคลิกภาพ และการปกครองชั้นเรียน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และนักเรียนเกี่ยวกับการฝึกสอนวิชาภาษาไทยของนิสิตฝึกสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวในข้อ 1 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด ถามเกี่ยวกับการฝึกสอนวิชาภาษาไทยของนิสิตฝึกสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง เวลาในการฝึกสอน การเตรียมการสอน การดำเนินการสอน การจัดกิจกรรมในห้องเรียน การวัดและประเมินผล บุคลิกภาพ และการปกครองชั้นเรียน แล้วนำไปสอบถามนิสิตฝึกสอนวิชาภาษาไทย 13 คน อาจารย์นิเทศก์วิชาภาษาไทย 16 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งได้รับการฝึกสอนจากนิสิตฝึกสอนในปีการศึกษา 2526 จำนวน 220 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม โดยค่าที (t-test) แล้วเสนอผลในรูปตารางและความเรียง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสร้างแบบสัมภาษณ์ 1 ชุด เพื่อสัมภาษณ์นิสิตฝึกสอนวิชาภาษาไทย 13 คน อาจารย์นิเทศก์วิชาภาษาไทย 16 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน แล้วนำข้อมูลเสนอในรูปความเรียง ผลการวิจัย ผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ปรากฏว่า 1. นิสิตฝึกสอนและอาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นต่อการเตรียมการสอนของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง การเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับนักเรียน เตรียมวิธีการวัดและประเมินผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการสอน และเตรียมค้นเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมประกอบการสอนได้ถูกต้อง และมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง การกำหนดจุดประสงค์การเรียนได้เหมาะสม เตรียมเนื้อหาที่นำมาสอนในแต่ละชั่วโมงได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร เตรียมวิธีสอนได้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและนักเรียน เตรียมอุปกรณ์การสอนได้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและนักเรียน เตรียมค้นเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมประกอบการสอนจากที่อื่น และเตรียมจัดบรรยากาศในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา 2. นิสิตฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเวลาในการฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง ควรจัดฝึกสอนในภาคเรียนที่ 2 ระยะเวลาประมาณ 12 สัปดาห์ และควรจัดฝึกสอนทั้ง 2 ภาคเรียน ระยะเวลาประมาณ 12 สัปดาห์ 3. ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการสอนของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง การนำเข้าสู่การเรียนได้สอดคล้องกับเรื่องที่สอน สอนเนื้อหาได้ถูกต้อง สอนภาษาไทยโดยเน้นให้นักเรียนมีพัฒนาการทักษะทั้งสี่ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน อธิบายเนื้อหาวิชาได้ชัดเจน ยกตัวอย่างได้เหมาะสมกับเนื้อหาและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของนักเรียน บอกจุดมุ่งหมายของการสอนในแต่ละเรื่องให้นักเรียนทราบ และสอนภาษาไทยให้สัมพันธ์กับวิชาอื่น 4. ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง การจัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคน ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและเน้นให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5. ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง การเขียนกระดานดำเป็นระเบียบ ใช้อุปกรณ์การสอนได้ตรงกับเนื้อเรื่องที่สอน ใช้อุปกรณ์การสอนที่มีขนาดใหญ่พอที่นัดเรียนจะเห็นได้ทั่วถึง และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดหาหรือทำอุปกรณ์ และมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่องใช้อุปกรณ์การสอนที่มีราคาถูกที่จะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบายเนื้อหา 6. ทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นเกี่ยวกับ การวัดและประเมินผลของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง วัดและประเมินผลท้ายชั่วโมงที่สอน วัดและประเมินผลโดยให้นักเรียนตอบคำถามปากเปล่า ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็น ให้ทำแบบฝึกหัด บอกให้นักเรียนทราบจุดมุ่งหมายในการวัดและประเมินผล วัดและประเมินผลโดยให้นักเรียนเล่นละครประกอบบทเรียนและให้แสดงบทบาทสมมุติ 7. ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคลิกภาพของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย ตรงต่อเวลา มีอารมณ์ดี ใจเย็น ยิ้มแย้มอยู่เสมอ มีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่และมีมนุษยสัมพันธ์ดีกับนักเรียนและบุคคลอื่น ๆ ในโรงเรียน และมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง สามารถควบคุมอารมณ์ได้ไม่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ต่อหน้านักเรียน 8. ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปกครองชั้นเรียนของนิสิตฝึกสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง สนใจนักเรียนอย่างทั่วถึง ในขณะที่สอนและขณะที่ทำกิจกรรม และจำชื่อนักเรียนได้หมดทุกคน และมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่อง มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง และใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ จากผลของการสัมภาษณ์ของบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม สรุปได้ว่า นิสิตฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการฝึกสอนวิชาภาษาไทย นอกจากนี้นิสิตฝึกสอนและอาจารย์นิเทศยังต้องการให้ทางคณะเพิ่มความรู้ทางนาฏศิลป์ให้แก่นิสิตและมีความคิดเห็นว่าการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตนั้น ควรจะประเมินผลจากการสอนของนิสิตแต่ละครั้งและไม่ควรจะมีการสอบสอน สำหรับนักเรียนนั้นต้องการให้นิสิตฝึกสอนนำวิธีสอนหลาย ๆ อย่างมาใช้ และให้มีความยุติธรรมกับนักเรียนทุกคน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study 1. To study the opinions of student teachers, supervisors and students concerning the Thai language practice teaching of student teachers from the Faculty of Education, Chulalongkorn University about time allotted for practice teaching, Student Teachers’ planning in teaching, their instructional procedure, activity and evaluation, their personalities and classroom administration 2. To compare the opinions of student teachers, supervisors and students concerning the Thai language practice teaching of student teachers from the Faculty of Education, Chulalongkorn on the topics stated in 1. Procedures A questionnaire was constructed concerning the Thai language practice teaching of student teachers from the Faculty of Education, Chulalongkorn University about time allotted for practice teaching, Student teachers’ planning in teaching, their instructional procedure, activities and evaluation their personalities and classroom administration; and sent to 13 student teachers, 16 supervisors and 220 secondary school students taught by student teachers in the academic year of 2526. The obtained data was analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test from the comparison of the opinion of 3 group’s arithmetic means and presented in table and descriptive form. In addition, an interview form was constructed for 13 student teachers, 16 supervisors and 15 secondary school students and the obtained data was presented in descriptive form. Results The results from the comparison of the 3 group were: 1. The opinions of student teachers and supervisors concerning the student teachers planning in teaching were not significantly different at the level of .05 about the appropriate activities planning to students, the similar evaluational procedures planning to instructional objectives and the correct additional content planning. And the opinions were significantly different at the level of .05 about the appropriate instructional objective planning, the appropriate and similar content planning to the curriculum, the appropriate instructional methods planning to content and students, the appropriate instructional media planning to content and students, the additional content planning from other sources and the appropriate classroom atmosphere planning to subject matter. 2. The opinions of student teachers, supervisors and students concerning time allotted for practice teaching were not significantly different at the level of .05 about 12 weeks in the second semester practice teaching and 12 weeks in both semesters practices teaching 3. The opinions of the 3 groups concerning student teachers’ instructional procedures were not significantly different at the level of .05 about the appropriateness of the introduction of content, teaching procedure, the teaching of the Thai language emphasizing students development in 4 skills : listening, speaking, reading and writing, the clear explanation of content, examples appropriated to content and related to student daily-life, the stating of the instructional objectives to students and the teaching of the Thai language related to other subjects. 4. The opinions of the 3 groups concerning student teachers’ classroom activities organizing were not significantly different at the level of .05 about the organization of activities based on individuals differences, the students’ opportunity of activities participation, the organization of activities which students can use in their daily-life and emphasizing creative thinking. 5. The opinions of the 3 groups concerning the student teachers’ instructional media using were not significantly different at the level of .05 about the neatness of blackboard writing, the instructional media using appropriate to the content and visible for all of the students, and the students participating in providing and making instructional media. And the opinions were significantly different at the level of .05 about using of inexpensive media for the saving of time in explanation of the content. 6. The opinions of the 3 groups concerning the student teachers’ measurement and evaluation were not significantly different at the level of .05 about measurement and evaluation at the end of the period, the measurement and evaluation by oral, discussing and doing exercises, the stating of evaluational objectives and the measurement and evaluation by role-play and simulation. 7. The opinions of the 3 groups concerning the student teachers’ personalities were not significantly different at the level of .05 about their neat dress, their punctuality, their good temper, their responsibility and their good human relationship. And their opinions were significantly different at the level of .05 about the self-control. 8. The opinions of the 3 groups concerning student teachers’ classroom administration were not significantly different at the level of .05 about the teachers’ interest in student while teaching and doing activities and the students’ names remembering. And their opinions were significantly different at the level of .05 about student teachers’ fairness and the appropriate reinforcement and punishment to each situation. From the result of the interview, it was concluded that student teachers, supervisors and students had good attitudes toward the Thai practice teaching. Besides, student teachers and supervisors wanted the Faculty to teach dramatics to student teachers. They also thought that the student teachers practice teaching evaluation should be evaluated from each teaching period without any final teaching examination. For the students, they wanted the student teachers to be fair and to use many different kinds of teaching methods.-
dc.format.extent651967 bytes-
dc.format.extent432540 bytes-
dc.format.extent2142425 bytes-
dc.format.extent323946 bytes-
dc.format.extent1708454 bytes-
dc.format.extent921941 bytes-
dc.format.extent956941 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกสอนen
dc.titleความคิดเห็นของนิสิตฝึกสอน อาจารย์นิเทศก์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเกี่ยวกับการฝึกสอนวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeOpinions of student teachers, supervisors, and students in secondary schools concerning the Thai language practice teaching, Faculty of Education, Chulalongkorn Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwat_La_front.pdf636.69 kBAdobe PDFView/Open
Siriwat_La_ch1.pdf422.4 kBAdobe PDFView/Open
Siriwat_La_ch2.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Siriwat_La_ch3.pdf316.35 kBAdobe PDFView/Open
Siriwat_La_ch4.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Siriwat_La_ch5.pdf900.33 kBAdobe PDFView/Open
Siriwat_La_back.pdf934.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.