Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19067
Title: ผลกระทบจากพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ต่อผู้ประกอบการ
Other Titles: Effcts of the product liability Act B.E.2551 upon entrepreneurs
Authors: เมธัส อนันต์ศิริวงศ์
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@chula.ac.th
Subjects: พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
สินค้า
ความรับผิด (กฎหมาย)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เป็นบทบัญญัติกำหนดความรับผิดทางละเมิดซึ่งให้เสรีภาพแก่ผู้ประกอบการที่จะเลือกบทบาทของตนเองว่าจะทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ การกำหนดความรับผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือการสร้างเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการหันมาไตร่ตรองผลจากการกระทำของตนเองในทุกแง่มุมให้ครบถ้วนเพื่อจะได้ตัดสินใจเลือกบทบาทการดำเนินกิจกรรมที่มีประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้น กลไกความรับผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจเลือกดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและสังคมได้ เช่น เลือกป้องกันให้เกิดความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยให้เหลือน้อยที่สุด โดยบริหารจัดการให้ค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกันอยู่ในระดับต่ำที่สุดในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลกลับคืนสู่ธุรกิจได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย ซึ่งสภาพของการประกอบธุรกิจก็เปิดทางให้ผู้ประกอบการสามารถปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้เข้มแข็งและพัฒนาทรัพยากรภายในองค์กรให้มีคุณภาพมากที่สุดเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมการป้องกันความเสียหายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายด้วยความมั่นคงและยั่งยืนได้ ดังนั้น การพิจารณาเลือกดำเนินกิจกรรมป้องกันความเสียหายที่สามารถสร้างประโยชน์แก่ทุกฝ่ายและการพัฒนาตนเองอย่างเข้มงวดจนเกิดประสิทธิผลจึงเป็นบทบาทสำคัญของผู้ประกอบการที่ช่วยแปรเปลี่ยนผลกระทบจากพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ให้อยู่ในลักษณะที่พึงประสงค์ต่อผู้ประกอบการและสังคมมากขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใด ผู้ประกอบการจะต้องมีจิตสำนึกในความสุจริตและความรับผิดชอบ บทบาทดังกล่าวจึงจะเกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างถูกต้องและมีพลังได้
Other Abstract: The Product Liability Act B.E. 2551 is structurally a sort of tort liability provision which allows an entrepreneur freedom of choice to perform his roles in respect to prevention against defective product-causing injury, for which he must be liable if it occurs to another person. From a welfare economic perspective, the establishment of liability under this Act aims to draw the entrepreneur’s contemplative attention to all ramifications of his activities by which greater benefit and efficiency could be enhanced. In other words, in product liability context, the Act permits the entrepreneur to be in a position to choose the best options available to him that could be most beneficial to his business and society contemporaneously i.e. minimizing the injury as well as the prevention costs while gaining as much investment return as possible. To do as mentioned, howbeit, requires a certain level of business structure strengthening and resource management developing. Fortunately enough, business environment allows and encourages the entrepreneur to do so. In conclusion, choosing a prevention scheme advantageous to all parties and constituting intensive self-development with conscience of good faith and responsibility would ideally be an entrepreneur’s role most necessary to make effects of the Act sustainably desirable to his path and society.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19067
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.394
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.394
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Methat_an.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.