Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19069
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดน กองร้อย 446 จังหวัดนราธิวาส |
Other Titles: | Factors related to stress and stress management behaviors of border patrol police company 446 in Narathiwat province |
Authors: | มนทิรา ปรีชา |
Advisors: | นันทิกา ทวิชาชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | fmednta@md2.md.chula.ac.th |
Subjects: | ตำรวจตระเวนชายแดน -- ไทย -- นราธิวาส ความเครียด (จิตวิทยา) การบริหารความเครียด |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดนกองร้อย446 จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างจำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ The Maudsley Personality Inventory (MPI) แบบสอบ ถามเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต(The General Well being Schedule) และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ,ค่าเฉลี่ย,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, t-test, One-way ANOVA, Pearson'product moment correlation coefficient และทำนายปัจจัยโดยการใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ตำรวจตระเวนชายแดนกองร้อย 446 จังหวัดนราธิวาสมีความเครียดอยู่ในระดับสูงร้อยละ 13.0 ความเครียดระดับปานกลางร้อยละ 54.3 และมีความเครียดอยู่ในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 32.7 ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและเป็นปัจจัยทำนายการเกิดความเครียดได้แก่ บุคลิกภาพที่ไม่มีความมั่นคงทางด้านอารมณ์ (ลักษณะบุคลิกภาพ Scale N) การสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำ ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาตรี การมีปัญหาสุขภาพหรือโรคประจำตัว รวมทั้งรายได้ครอบครัวและรายได้ตนเองที่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีระดับความสำคัญทางสถิติที่ P < .05 ในส่วนของพฤติกรรมการจัดการความเครียดพบว่าตำรวจตระเวนชายแดนกองร้อย 446 จังหวัดนราธิวาสมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดในระดับสูงร้อยละ 30.9 ระดับปานกลางร้อยละ 36.4 และมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 32.7 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยทำนายการเกิดพฤติกรรมการจัดการความเครียดได้แก่ บุคลิกภาพที่ชอบแสดงตัว (ลักษณะบุคลิกภาพ Scale N) ภูมิลำเนา การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ รวมทั้งรายได้ครอบครัวและรายได้ตนเองที่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีระดับความสำคัญทางสถิติที่ P < .05 |
Other Abstract: | The purpose of this cross - sectional descriptive study was to examine the factors related to stress and stress management behaviors of border patrol police company 446 in Narathiwat province. The self reported questionnaire was used for demographic data, Mental health indicator questionnaire ( General Well being Schudule),Stress management behaviors questionnaire,The Maudsley Personality Inventory (MPI),The social support questionnaire. The SPSS for Window was used for descriptive and inferential Statitical analysis. Descriptive statistics were presented as percentage, mean, standard deviation, while inferential Statistics were done for Chi-square test, t-test, One-way ANOVA, Pearson's product moment correlation coefficient. Stepwise multiple analysis was performed to determine for significant predictive factors. The result of this research found that 13% of border patrol police company 446 in Narathiwat Province had the high level stress, 54.3% had the medium level stress and 32.7% had the lower level stress. The related factors and predicting factors such as stress were Neuroticism (Personality Scale N), low social support, low educational level, physical health problem, sufficiency of family and personal income, where as the factor which significantly associated with stress at P < .05. Stress management behavior were border patrol company 446 in Narathiwat Province had 30.9% of the high level stress management behavior, 36.4% had the medium level stress management behavior and 32.7% had the lower level stress management behavior. The related factors and predicting factors such as stress management behavior were Extroversion (Personality Scale E), native habitat, low social support, sufficiency of family and personal income, where as the factor which significantly associated with stress management behavior at P < .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19069 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.342 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.342 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montira_Pr.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.