Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19459
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการสร้างแบบคัดกรองผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวในผู้ที่ทำงานในสำนักงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Related factors and the development of screening questionnaire for the risks of low back symptoms among the office workers in Chulalongkorn University |
Authors: | ภัทริยา มูลกาย |
Advisors: | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wiroj.J@Chula.ac.th |
Subjects: | ปวดหลัง กระดูกสันหลังส่วนเอว ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ข้าราชการและพนักงาน |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวและนำมาสร้างแบบคัดกรองผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวในผู้ที่ทำงานในสำนักงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้การสุ่มเลือกแบบสะดวกในการเลือกผู้ที่ทำงานในสำนักงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 403 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามและการตรวจร่างกาย จากนั้นวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคโดยใช้อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวในรอบ 12 เดือน และ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นตัวแปรตามเพื่อคัดเลือกปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติมาสร้างแบบคัดกรอง และประเมินประสิทธิภาพแบบคัดกรองโดยการหาความไว ความจำเพาะ และการสร้าง Receiver Operating Characteristic (ROC) curve ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและถูกนำมาสร้างเป็นแบบคัดกรอง ได้แก่ ระดับการศึกษา ประวัติการทำงานในสำนักงานมาก่อน การก้มหลังบ่อยๆ ระดับความเครียด และ ความยืดหยุ่นของหลังไม่ดี แบบคัดกรองมีคะแนนเต็ม 15 คะแนน จุดตัดของคะแนนที่เหมาะสมคือ 7 คะแนนขึ้นไป ความไวเท่ากับ ร้อยละ 61.9 ความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 70.8 ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาและถูกนำมาสร้างเป็นแบบคัดกรอง ได้แก่ จำนวนปีที่ทำงานในสำนักงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ประวัติเคยทำงานในสำนักงานมาก่อน การยืนทำงานอยู่กับที่ติดต่อกันนานกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน การก้มหลังบ่อย ๆ การใช้เก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงหนุนบริเวณหลังส่วนล่าง ความไม่สมดุลกันระหว่างความทุ่มเทในการทำงานและผลตอบแทนที่ได้รับ และความยืดหยุ่นของหลังไม่ดี แบบคัดกรองมีคะแนนเต็ม 14 คะแนน จุดตัดของคะแนนที่เหมาะสมคือ 5 คะแนนขึ้นไป ความไวเท่ากับร้อยละ 74.2 และ ความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 63.4 โดยสรุป การศึกษานี้นำเสนอแบบคัดกรองผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหลังส่วนบั้นเอวในผู้ที่ทำงานในสำนักงาน 2 แบบ สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของแบบคัดกรองยังต้องทำการศึกษาแบบไปข้างหน้าต่อไป |
Other Abstract: | The objectives of this cross sectional study were to determine related factors of low back symptoms and to develop screening questionnaire for the risk of such symptoms among the office workers in Chulalongkorn University. Convenience sampling technique was used to select 403 office workers in Chulalongkorn University. Data was then collected by using self-administered questionnaire and physical examination. Two multiple logistic regressions were analyzed, treating low back symptoms in the previous 4 weeks and 12 months as binary outcomes, to identify their potential related factors for inclusion in the screening questionnaires. Sensitivity and specificity, as well as the Receiver Operating Characteristic (ROC) curve, were analyzed to determine the efficacy of the newly-constructed screening questionnaires. The results showed that factors which were related with low back symptoms in the previous 12 months and were used as a screening questionnaire included educational level, previous history of working as office worker, frequent forward bending, stress and poor flexibility of lumbar spine. The total scores were 15 and optimal cut-off score was 7. The sensitivity and specificity were 61.9 % and 70.8% respectively. When low back symptoms in the previous 4 weeks was the outcome, its related factors (which were also utilized in the screening questionnaire) consisted of previous history of working as office worker, years of working as office worker, frequent forward bending, standing more than 2 hours/day, using chair without lumbar support, imbalance between effort and reward ratio and poor flexibility of lumbar spine. The total scores were 14 and optimal cut-off score was 5. The sensitivity and specificity were 74.2 % and 63.4% respectively. In conclusion, this study proposes two screening instruments for identifying individuals at higher risk for low back symptoms among office workers. However, their effectiveness should be further verified by prospective study design. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อาชีวเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19459 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patriya_mo.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.