Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21550
Title: การรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Self perception of elementary school teachers under the jurisdiction of the Bangkok metropolitan administration concerning their competencies
Authors: วีระพล อารวรรณ
Advisors: นิพนธ์ ไทยพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่สอนอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก สมมติฐานในการวิจัย 1. ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่สอนอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก จะมีความแตกต่างกันในการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเอง 2. ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน จะมีความแตกต่างกันในการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเอง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือครูผู้ทำหน้าที่ปฎิบัติการสอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2526 จำนวน 372 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 201 โรง แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 40 โรง จำนวนครู 154 คน โรงเรียนขนาดกลาง 60 โรง จำนวนครู 123 คน โรงเรียนขนาดเล็ก 101 โรง จำนวนครู 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสอบถามประกอบด้วยคำถามชนิดตรวจสอบและชนิดมาตราส่วนประมาณค่า เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและคำถามเกี่ยวกับสมรรถภาพทางด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธี และด้านคุณลักษณะ ได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 372 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ใช้วิเคราะห์ได้จำนวน 322 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ Test for all possible comparison) ผลการวิจัย ตามการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร รับรู้ว่าตนเองมีสมรรถภาพสรุปเป็นภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มากเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ ครูยอมรับว่าจากจำนวนสมรรถภาพทั้งหมด 155 ข้อสมรรถภาพที่เป็นข้อคำถาม ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครรับรู้ว่าตนเองมีสมรรถภาพอยู่ในเกณฑ์มาก 126 ข้อสมรรถภาพ รับรู้ว่าตนเองมีสมรรถภาพอยู่ในเกณฑ์น้อย 29 ข้อสมรรถภาพและรับรู้ว่าไม่มีสมรรถภาพอยู่ในเกณฑ์ไม่มี เกณฑ์น้อยที่สุดและเกณฑ์มากที่สุดเลย เมื่อแยกพิจารณารายละเอียดของสมรรถภาพในแต่ละด้านแล้วจะได้ดังต่อไปนี้ 1.สมรรถภาพด้านคุณลักษณะ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครรับรู้ว่าตนเองมีสมรรถภาพทางด้านนี้อยู่ในเกณฑ์มากทุกข้อสมรรถภาพที่เป็นข้อคำถามจากข้อคำถามในสมรรถภาพทางด้านนี้ทั้งสิ้น 12 ข้อสมรรถภาพ 2. สมรรถภาพด้านความรู้ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครรับรู้ว่าตนเองมีสมรรถภาพทางด้านนี้อยู่ในเกณฑ์มาก 59 ข้อสมรรถภาพอยู่ในเกณฑ์น้อย 18 ข้อสมรรถภาพ และไม่มีสมรรถภาพอยู่ในเกณฑ์ไม่มี เกณฑ์น้อยที่สุดและเกณฑ์มากที่สุดจากข้อสมรรถภาพที่เป็นข้อคำถามในสมรรถภาพทางด้านนี้ทั้งสิ้น 77 ข้อสมรรถภาพ สำหรับสมรรถภาพที่มีอยู่ในเกณฑ์น้อยเรียงลำดับตามแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ดังนี้คือ ความรู้ในเนื้อหาวิชากลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ความรู้ในเนื้อหาวิชากลุ่มทักษะ ความรู้ในเนื้อหาวิชากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ความรู้ในเนื้อหาวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ความรู้ทางด้านธุรการและธุรการเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน ความรู้ด้านการวัดและประเมินผล ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3.สมรรถภาพด้านเทคนิควิธี ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครรับรู้ว่าตนเองมีสมรรถภาพทางด้านนี้อยู่ในเกณฑ์มาก 55 ข้อสมรรถภาพ อยู่ในเกณฑ์น้อย 11 ข้อสมรรถภาพและไม่มีสมรรถภาพอยู่ในเกณฑ์ไม่มี เกณฑ์น้อยที่สุดและเกณฑ์มากที่สุดจากข้อสมรรถภาพที่เป็นข้อคำถามในสมรรถภาพทางด้านนี้ทั้งสิ้น 66 ข้อสมรรถภาพ สำหรับสมรรถภาพที่มีอยู่ในเกณฑ์น้อยเรียงลำดับตามแต่ละกลุ่มประสบการณ์ดังนี้ คือ เทคนิคการสอนวิชาเฉพาะกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย การศึกษาชุมชน เทคนิคการสอนทั่วไป เทคนิคการสอนวิชาเฉพาะกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต การพัฒนาโรงเรียนการวางแผนและดำเนินงานโครงการ ทักษะความเป็นผู้นำ เมื่อทดสอบความแปรปรวนของคะแนนและนำผลการรับรู้มาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มพบว่า 1. การรับรู้ของครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน จากจำนวนสมรรถภาพที่เป็นข้อคำถามทั้งหมด 155 ข้อสมรรถภาพ กลุ่มครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ กลุ่มครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง และกลุ่มครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานในการวิจัยจำนวน 5 ข้อสมรรถภาพ ซึ่งเป็นสมรรถภาพทางด้านความรู้ทั้งสิ้น และสมรรถภาพที่เหลืออีก 150 ข้อสมรรถภาพนั้นมีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การรับรู้ของครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกัน จากจำนวนสมรรถภาพที่เป็นข้อคำถามทั้งหมด 155 ข้อสมรรถภาพ กลุ่มครูที่มีประสบการณ์ในการสอน 1 – 10 ปี กลุ่มครูที่มีประสบการณ์ในการสอน 11 -20 ปี และกลุ่มครูที่มีประสบการณ์ในการสอน 21 ปีขึ้นไป มีการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานในการวิจัยจำนวน 30 ข้อสมรรถภาพ และสมรรถภาพที่เหลืออีก 125 ข้อสมรรถภาพนั้นมีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อแยกพิจารณาสมรรถภาพที่มีการรับรู้แตกต่างกันออกเป็นสมรรถภาพในแต่ละด้าน พบว่าการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพของตนเองของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่มีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 30 ข้อ สมรรถภาพนั้นแบ่งออกเป็นสมรรถภาพด้านความรู้จำนวน 10 ข้อ สมรรถภาพด้านเทคนิควิธีจำนวน 18 ข้อ และสมรรถภาพด้านคุณลักษณะจำนวน 2 ข้อ
Other Abstract: Objectives of the Study : 1.To study the self – perception of elementary school teachers under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration concerning their competencies. 2. To compare the self – perception of elementary school teachers under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration who are teaching at schools of different sizes classified as large, medium and small schools concerning their competencies. Hypotheses of the Study : 1.Elementary school teachers under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration who are teaching at schools of different sizes, i.c., large, medium and small have different self- perception concerning their competencies. 2.Elementary school teachers under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration with different working experience will have different self – perception concerning their competencies. Procedures : Three hundred and seventy – two teachers teaching at 201 elementary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration of academic year 1983 were randomly selected as the subjects of the study. These subjects were 154 teachers from 40 large size schools, 123 teachers from 60 medium size schools and 95 teachers from 101 small size schools. The instrument used in the study was a specially designed questionnaire which consisted of questions to survey and rate the status, knowledge, techniques and characteristics of the subjects. Three hundred and seventy – two questionnaires were sent to the subjects and 322 completed questionnaires were returned and used for the analysis. Analysis of data : Data was analysed in percentage, means, standard deviation and ANOVA test. Results of the study : Most respondents rated their competencies high, that is 126 out of 155 competencies were rated high and 29 out of 155 competencies were rated low. No competencies were rated none, lowest and highest. Detailed analysis of each domain of competencies were : 1. Characteristics. Elementary school teachers under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration rated themselves high in everyone of the 12 competencies in this domain. 2. Knowledge Teachers rated themselves high in 59 competencies, low in 18 competencies and none in no competencies, lowest and highest rating were altogether 77 competencies. The consecutive low rating were knowledge in work oriented area courses, knowledge in skill area courses, knowledge in habit formation courses, knowledge in life experience courses, knowledge in administration and learning activities, knowledge in measurement and evaluation, knowledge in humanities and social studies. 3. Techniques The respondents rated themselves high in 55, low in 11 competencies and none in no competencies. Sixty – six competencies were rated lowest and highest. The consecutive low rating were techniques in teaching special career courses in habit formation, community education, general methods of teaching techniques in teaching life experience, school development, planning and managing projects, and skills of leadership. Further findings were : 1. Of all 155 competencies, there was significant difference at the .05 level between the perception of teachers in 3 different size schools, namely large medium and small, in 5 competencies which were all in the knowledge domain and there was no significant of difference in the remaining 150 competencies. 2. Of all 155 competencies, there was significant difference at the .05 level between the perception of teachers with different years of teaching experience ranges 1- 10, 11 – 20 and over 21 years, in 30 competencies. The remaining 125 competencies were not of significantly difference. It is also found that those 30 competencies at the level of .05 significantly difference were 10 competencies in knowledge, 18 in techniques and 2 characteristics domain, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21550
ISBN: 9745645346
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Verapone_Ar_front.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Verapone_Ar_ch1.pdf580.5 kBAdobe PDFView/Open
Verapone_Ar_ch2.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Verapone_Ar_ch3.pdf428.7 kBAdobe PDFView/Open
Verapone_Ar_ch4.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Verapone_Ar_ch5.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Verapone_Ar_back.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.