Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21560
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์-
dc.contributor.authorวีระ ศรีขาว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-19T08:42:18Z-
dc.date.available2012-08-19T08:42:18Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745624764-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21560-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อทราบความต้องการ ความสนใจ และความคิดเห็นของผู้เรียนต่อรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.เพื่อทราบปริมาณ รูปแบบรายการ และความยาวของรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ที่เหมาะสม 3. เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค ของการผลิตรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นผู้เรียนทางวิทยุและไปรษณีย์ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2525 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดทำการสอนได้แก่ จังหวัดต่างๆ ต่อไปนี้ คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด และ มุกดาหาร จำนวน 439 คน และเจ้าหน้าที่ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 15 คน รวม 454 คน การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และ ค่ามัชฌิมเลขคณิต โดยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตาราง ผลการวิจัย 1.ผู้เรียนส่วนใหญ่สนใจฟังรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ และเห็นว่ารายการวิทยุมีประโยชน์ต่อการเรียนมาก นอกจากนั้นเนื้อหาของรายการวิทยุที่จัดอยู่ก็ตรงกับความต้องการ ตลอดทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการให้ออกอากาศรายการวิทยุในช่วงเวลา ตั้งแต่ 18.00 – 21.00 น. ของทุกวัน โดยออกอากาศรายการละ 30 นาที จำนวนครั้งในการออกอากาศผู้เรียนต้องการให้ออกอากาศรายการละ 2 ครั้ง 3. เนื้อหาของรายการวิทยุ ผู้เรียนต้องการให้เป็นความรู้เสริมความรู้ในบทเรียนและมีการสอดแทรกคติธรรมและความคิดเข้าไปในรายการวิทยุด้วย 4. รูปแบบรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ผู้เรียนต้องการให้เป็นรูปแบบประเภท บรรยาย อภิปราย ละคร สารคดี สนทนาโต้ตอบ คุยกับผู้ฟัง และตอบปัญหา 5. ปัญหาของผู้เรียน ส่วนใหญ่ คือ เวลาออกอากาศรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ ตรงกับเวลาทำงานของผู้เรียน จึงไม่สามารถรับฟังรายการวิทยุได้ทุกครั้งเพราะต้องทำงานที่ไม่สามารถรับฟังรายการวิทยุได้ ส่วนปัญหาของเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกี่ยวกับการผลิตรายการวิทยุ คือ ปัญหาด้านบุคลากร การบริหาร และการประสานงาน เป็นส่วนใหญ่ ข้อเสนอแนะ 1.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรจะปรับเวลาในการออกอากาศรายการวิทยุใหม่ ให้ตรงกับเวลาว่าง หรือ เวลาที่ผู้เรียนต้องการ ซึ่งควรจะเป็นช่วงเวลาระหว่าง 18.00 – 21.00 น. ของทุกวัน เพื่อผู้เรียนจะได้ทบทวนบทเรียนไปด้วยในระหว่างการฟังรายการวิทยุ นอกจากนั้นผู้เรียนยังจะสามารถทำแบบฝึกปฎิบัติไปด้วย และจะสามารถติดตามรับฟังรายการวิทยุได้ทุกครั้ง 2. จำนวนครั้งในการออกอากาศรายการวิทยุแต่ละรายการ ควรออกอากาศรายการละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ส่วนเนื้อหาในรายการวิทยุควรมีการวิเคราะห์ให้แน่นอนว่าส่วนใดของบทเรียนควรจะทำเป็นบทวิทยุ และเมื่อจะจบรายการวิทยุ แต่ละรายการควรมีการสรุปแนวคิดจากบทเรียน เสนอแนะกิจกรรมต่อ เนื่องหรือประเด็นอภิปราย ตลอดทั้งบอกแหล่งความรู้ หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ไว้ด้วยเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ 3. ในการผลิตรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์นั้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรมีการจัดตั้งหน่วยผลิตรายการวิทยุขึ้นมาต่างหากโดยขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ หรือ สำนักงานผู้อำนวยการโดยตรง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวสูง และเป็นการลดขั้นตอนการบริหาร และการประสานงานลง ซึ่งเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นปัญหาในการผลิตอยู่ในปัจจุบัน-
dc.description.abstractalternativePurposes 1. To find the needs, interest and opinions of learners in radio correspondence programmes which are operated by North – Eastern Regional Nonformal Education Center. 2. To find the appropriate quantity, period and length of time and contents in radio correspondence programmes. 3. To investigate problems and obstacles of radio corresspondence programmes production. Procedures The population of this survey research were the learners in the radio correspondence programmes, who registered in 1982. A total of 439 were selected from provincial centers in Ubon, Sisaket, Surin, Nakorn Ratchasima, roi – Et and Mukdahan provinces, by the simple random sampling. The open ended questionares were used to collected the data. Means and percentages were utilized to show the findings. Findings 1. A majority of the learners were interested in listenning to the programmes and believed that they were useful for study. 2. A majority of the learners wanted the programmes to be broadcasted between 6.00 – 9.00 p.m. everyday, and each programme should be broadcasted twice. The appropriate length of time was 30 minutes. 3. A majority of learners wanted to listen to programmes which enriched the knowledge that they could acquire from texts. They wanted some content in moral interm of thinking to be added into the programmes. 4.The learners wanted the programme to be descriptive discussion, drama, non – fiction, conversation and talk to the audience. 5. The major problems of the learners about radio programmes was the listenning time. The learners could not listen to all programmes they want, because they had to work while the programmes were broadcasted. Revommendations 1. North – Eastern Regional Nonformal Education Center should adust the breadcasting time to be 6.00 – 9.00 p.m., since during this time the learners were released from their work, and let the learners had a chance to study their texts and practice their exercises while listen to the programmes. 2. Each programme should be broadcasted twice and for 30 minutes. The content from the texts should be selected only some part that suit to the radio programme. Befor the ending broadcasting programmes, the programmer should summarize each lesson and give suggestion activities or issue to be discussed. In addition the programmer should give information or the places where to find the information which help the learner studied themselves. 3. North – Eastern Regional Nonformal Education Center should set up a production unit in order to produce the radio programmes. Its administration should be placed directly to the Center’s Director – General.-
dc.format.extent660532 bytes-
dc.format.extent1292413 bytes-
dc.format.extent839908 bytes-
dc.format.extent310000 bytes-
dc.format.extent1373223 bytes-
dc.format.extent673334 bytes-
dc.format.extent997539 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความต้องการรายการวิทยุเพื่อการศึกษาทางวิทยุและไปรษณีย์ของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen
dc.title.alternativeNeeda of the people in North-Eastern region for radio correspondence programmesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weera_Sr_front.pdf645.05 kBAdobe PDFView/Open
Weera_Sr_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Weera_Sr_ch2.pdf820.22 kBAdobe PDFView/Open
Weera_Sr_ch3.pdf302.73 kBAdobe PDFView/Open
Weera_Sr_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Weera_Sr_ch5.pdf657.55 kBAdobe PDFView/Open
Weera_Sr_back.pdf974.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.