Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22069
Title: การปฏิบัติต่อหญิงมีครรภ์ในระหว่างการดำเนินคดีอาญา
Other Titles: The treatment of pregnant women in criminal process
Authors: ปิยะลักษณ์ ทัฬหิกรณ์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
Subjects: นักโทษหญิง
สตรีมีครรภ์
เรือนจำ
กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยเฉพาะหน่วยงานตุลาการได้มีการนำโทษจำคุกมาเป็นหลักในการกำหนดโทษตามคำพิพากษาแก่จำเลยมากขึ้น ประกอบกับ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 4(2) ได้ให้คำนิยามผู้ต้องขังว่าหมายความรวมตลอดถึง นักโทษเด็ดขาด คนต้องขังและคนฝาก จึงทำให้ผู้ต้องขังถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำหรือทัณฑสถานเป็นจำนวนมาก ในส่วนนี้ ผู้ต้องขังซึ่งเป็น หญิงมีครรภ์ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ข้อ 79 ให้ถือว่าผู้ต้องขังหญิงมีครรภ์ถือว่าเป็นผู้เจ็บป่วยโดยอนุโลม อีกทั้งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 29 ได้บัญญัติว่า “ให้ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยหรือเป็นหญิงมีครรภ์ได้รับการรักษา ตามสมควร” ดังนั้นผู้ต้องขังหญิงมีครรภ์จึงจำเป็นต้องได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษแตกต่างจากผู้ต้องขังทั่วไป ในการนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 โดยให้จำเลย ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์สามารถขอทุเลาการบังคับโทษจำคุกได้ ซึ่งให้มีการควบคุมตัวอยู่ในสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำหรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในหมายจำคุก โดยสถานที่ขังดังกล่าวให้เป็นไปตาม “กฎกระทรวงกำหนดสถานที่ที่ใช้ในการขัง จำคุกหรือควบคุมผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด พ.ศ. 2552” แต่หากพิจารณาจากสภาพปัจจุบันแล้ว ปรากฏว่าการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) และกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้นยังไม่สามารถบรรลุผลตรงตามเจตนารมณ์ของการแก้ไขกฎหมายได้อย่าง แท้จริง เพราะยังขาดรายละเอียดในทางปฏิบัติหลายประการ เช่น ยังไม่มีการประกาศสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำซึ่งใช้ทุเลาการบังคับโทษจำคุกสำหรับหญิงมีครรภ์แต่อย่างใด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาถึงแนวคิดตลอดจนทฤษฎี หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง หญิงมีครรภ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติได้แก่ กฎมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยมาตรการไม่ควบคุมตัว (ข้อกำหนดโตเกียว) (United Nation Standard Minimum Rules for Non-custodial Measures 1990) และข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของ การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners 1955) รวมทั้ง ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับ ผู้กระทำความผิดหญิง(United Nations Rules the Treatment of Women prisoners and non-custodial Measures for Women offenders) เพื่อนำมากำหนดสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำสำหรับผู้ต้องขังหญิงมีครรภ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินคดีหรือการบังคับโทษตามคำพิพากษารวมตลอดไปถึงหลักเกณฑ์ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้มาตรการต่างๆ
Other Abstract: At present time, criminal procedure especially the judicial stage increases the imprison penalty as the president sanction to defendant in accordance with the Correction Act B.E. 2479. Article 4(2) gives the meaning of “the prisons” that includes all convicted prisoners, detainee and inmate. According to the numbers of prisoners have increased in the jails and the corrections. In this, including the prisoners in condition of pregnant women under the rule of Ministry of the Interior accordance with article 58 of the Correction Act B.E.2479. Article 29 provides that “for prisoners who are sick or pregnant women were treated appropriately”. So the prisoners who are pregnant women need special treatment differ from other prisoners. From B.E. 2550 the amendment of the Criminal Procedural Code, article 246, provides that “the pregnant women, relief to abate the penalty”. They have to detent in the appropriate locations outside the correction or locations under the “Ministerial regulation concerning about assign another place to detain imprison or control accused defendant or defendant or prisoner according to final judgenent B.E.2552.” The currently consideration find the problem concern the enforcement of law and the rule above cannot touch the real objection of the amendment because of the details in practices such as the lack of notification of the place where appropriate locations outside the correction under that conditions. Results getting from research focuses on the principles include theory, criteria and practice to prisoners who are pregnant in Thailand and foreign countries under the standard of United Nations, United Nations Standard Minimum Rules for Non-custodial Measure 1990 and Standard Minimum Rules for the Treatment of women prisoners and Non-custodial Measures for women offenders, regulate the appropriate locations for women offenders who are pregnant under the litigations or the enforcement penalties accordance with judgment include all practices concerning the measures
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22069
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.683
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.683
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaluck_Th.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.