Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22236
Title: การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: An analysis of the feasibility of instructional management by using mobile learning technology in higher education institutions
Authors: ปาริชาติ ปาละนันทน์
Advisors: ศักดิ์ พลสารัมย์
ทีป เมธาคุณวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@Chula.ac.th
Pateep.M@Chula.ac.th
Subjects: ระบบการเรียนการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษา
การสอนด้วยสื่อ -- การศึกษาความเป็นไปได้
สถาบันอุดมศึกษา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ตามกรอบการศึกษาความเป็นไปได้ 5 ด้าน (TELOS) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ตามสภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการจัดการเรียนการสอนที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 43 คน (2) ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และบุคลากรที่มีหน้าที่กำกับและดูแลรับผิดชอบโดยตรงกับพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 27 คน (3) นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 84 คน (4) องค์กรธุรกิจภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 11 คน (5) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบฯ จำนวน 7 คน (6) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ จำนวน 9 คน และ (7) อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์สาระ และสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ 1.ด้านเทคนิคและระบบ (T) พบว่า มีการพัฒนาระบบและ/หรือสื่อการสอนสำหรับการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ใน 4 แบบ ได้แก่ (1) การพัฒนาระบบและสื่อการสอนด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (Software-Based System) ในลักษณะของการบันทึกการสอน (Classroom Record/ VDO Capture) (2) การพัฒนาระบบและสื่อการสอนด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ (Hardware-Based System) ในลักษณะของการบันทึกการสอนแบบเบ็ดเสร็จ (All in one recording) (3) กระบวนการ พัฒนาสื่อการสอนจากการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูปต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน (Package Software-Based Process) (4) การพัฒนาระบบและสื่อการสอนด้วยการพัฒนาระบบโปรแกรมประยุกต์ (Application-Based System) ในลักษณะของแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ Mobile Device โดยมีการนำทั้ง 4 แบบ มาพัฒนาในลักษณะผสมผสานกันตามความเหมาะสมของลักษณะเนื้อหารายวิชา 2. ด้านเศรษฐศาสตร์ (E) พบว่า มีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณจาก ผลประโยชน์ในรูปแบบของผลประโยชน์ที่มองไม่เห็นหรือไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน (Intangible Benefits) มากที่สุด ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา การส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ การขยายโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา และรองลงมา คือ ผลประโยชน์ในลักษณะของผลประโยชน์ทางอ้อมหรือการคืนประโยชน์สู่สังคม (Indirect Benefits / External Benefits) ได้แก่ การส่งเสริมสังคมที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และในส่วนของผลประโยชน์ที่มองเห็นหรืออยู่ในรูปของตัวเงิน (Tangible Benefits) ได้แก่ การลดการใช้เอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือกระดาษ 3. ด้านกฎหมาย (L) พบว่า การจัดให้มีการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ ในรูปแบบสนับสนุนหรือเป็น สื่อเสริม สถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องมีการจัดทำเป็นหลักสูตรและการขออนุมัติจากสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. ด้านการปฏิบัติงาน (O) พบว่า มีหน่วยงานและบุคลากรที่ดูแลรับผิดชอบการผลิตสื่อการสอน และระบบการบริหารการจัดการเรียนการสอน (LMS) สำหรับการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่โดยเฉพาะ 5. ด้านตารางเวลา (S) พบว่า มีการใช้ระยะเวลาในการพัฒนาระบบฯ ตั้งแต่การจัดทำโครงการ วางแผนปฏิบัติงาน การจัดสรรและติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การทดสอบระบบ การอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จนสามารถใช้งานได้จริง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ใช้ระยะเวลาประมาณการที่ 7-12 เดือน
Other Abstract: This research aims to analyze current status of m-learning in higher education institutions, explore the feasibility of developing m-learning based on the feasibility analysis, and present policy recommendations for m-learning development for Rattana Bundit University as a case study. TELOS framework is used in conducting the feasibility analysis. Data for the research are collected from the following sample groups: (1) 43 administrators who are responsible for e-learning in their respective higher education institutions; (2) 27 administrators, instructors and staffs who are responsible for m-learning in their respective higher education institutions; (3) 84 students who have m-learning experience in higher education institutions; (4) 11 executives in private enterprises that are active in m-learning system development; (5) 7 specialists who are administrators and experts in developing m-learning system; (6) 9 senior administrators of Rattana Bundit University involved in m-learning decision; and (7) 3 lecturers of Rattana Bundit University who are involved in e-learning content development. Data analysis is done by means of content analysis. Frequency, percentage, means, and standard deviation are the statistical methods used in this research. The research results as follows: 1. Technology and System: There are 4 platforms of m-learning courseware development and delivery system which are (a) Software-Based System using classroom recording / VDO capture as content, (b) Hardware-Based System using an all-in-one recording system, (c) Package Software-Based System that combines available commercial/open-sourced software packages, and (d) Application-Based System using the mobile-devices App system solutions. Most deployment of m-learning system combines various aspects of these four platforms into unique application suitable to the courseware context. 2.Economics: Intangible benefits are considered as the most relevant factors for budget allocation, which include access to supplementary learning channel, out-of-classroom learning, competency in using technology in learning, increasing in learning opportunity, and promoting self-regulated learning. Indirect benefits, such as encouraging a self-directed and life-long learning culture, are also significant consideration, while tangible benefits, mostly in savings in printed material, are considered least in importance. 3. Legal: M-learning has been deployed as supplementary learning channel in classroom-based curriculum, in which case, it is not necessary to set a new curriculum nor request for approval from the Office of Higher Education Institution. 4. Operation: The establishment of a separate operating unit in charge of courseware production and LMS administration in m-learning technology is a key success factor in the deployment of m-learning. 5. Schedule: The deployment of m-learning in a higher education institution will require about 7-12 months for project development, schedule planning, procurement and installation of additional hardware and software, system testing, and training of lecturers and personnel.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22236
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.848
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.848
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parichart_pa.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.