Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22629
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ | - |
dc.contributor.author | อลิสา พงษ์อมรพรหม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-12T16:25:47Z | - |
dc.date.available | 2012-10-12T16:25:47Z | - |
dc.date.issued | 2519 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22629 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 | en |
dc.description.abstract | การทำวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบขวัญของพยาบาลระหว่างสถาบันที่ผู้บริหารงานอยู่ในวิชาชีพพยาบาลกับผู้บริหารงานอยู่นอกวิชาชีพพยาบาล พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อระดับขวัญของพยาบาล สมมุติฐานในการวิจัย (1) สภาพขวัญของพยาบาลทั้งหมดในโรงพยาบาลที่มีผู้บริหารงานอยู่ในวิชาชีพพยาบาลและที่มีผู้บริหารงานอยู่นอกวิชาชีพพยาบาลไม่แตกต่างกัน (2) สภาพขวัญของพยาบาลระดับหัวหน้าตึกและผู้ตรวจการทั้งสองสถาบันจะแตกต่างกัน (3) สภาพขวัญของพยาบาลระดับประจำการทั้งสองสถาบันไม่แตกต่างกัน (4) พยาบาลที่ทำงานมากกว่า 10 ปี มีสภาพขวัญไม่แตกต่างกันทั้งสองสถาบัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามของ ณัฐพล ขันธไชย และสร้างมาตรวัดแบบลิเคอร์ท (Likert) นำแบบสอบถามชุดนี้มาหาความตรงและวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่น 0.874 แล้วนำแบบสอบถามไปใช้กับประชากรที่เลือกไว้ ซึ่งเป็นพยาบาลระดับต่าง ๆ ในสถาบันที่มีผู้บริหารงานอยู่ในวิชาชีพพยาบาลและในสถาบันที่มีผู้บริหารงานอยู่นอกวิชาชีพพยาบาลจำนวน 200 คน ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา 186 ฉบับ นำมาใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งกระทำโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบขวัญโดยการหาค่าที (t – test) สรุปผลการวิจัย 1. ผลการเปรียบเทียบระดับขวัญโดยส่วนรวมของพยาบาลทั้งหมดในสถาบันที่มีผู้บริหารอยู่ในวิชาชีพพยาบาลพบว่าสูงกว่าพยาบาลในสถาบันที่มีผู้บริหารอยู่นอกวิชาชีพพยาบาล แต่จัดอยู่ในระดับขวัญปานกลางทั้ง 2 สถาบัน และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงเป็นการยอมรับสมมุติฐานที่วางไว้ 2. เมื่อเปรียบเทียบขวัญของพยาบาลระดับหัวหน้าตึกและผู้ตรวจการทั้ง 2 สถาบันปรากฏว่าปานกลางและไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของสถิติ ซึ่งค้านกับสมมุติฐานที่วางไว้ 3. ระดับขวัญของพยาบาลประจำการในสถาบันที่มีผู้บริหารอยู่ในวิชาชีพพยาบาลสูงกว่าสถาบันที่ผู้บริหารอยู่นอกวิชาชีพพยาบาล แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งยอมรับสมมุติฐานที่วางไว้ 4. ระดับขวัญของพยาบาลที่ทำงานมากกว่า 10 ปี หรือต่ำกว่า 10 ปี ในสถาบันทั้ง 2 แห่งอยู่ในระดับเดียวกัน และไม่แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมุติฐานที่วางไว้ ส่วนองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อระดับขวัญคือ ความยุติธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ความก้าวหน้า ความมั่นคง ปลอดภัย และความเหมาะสมของปริมาณงานในหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในสถาบันที่มีผู้บริหารงานอยู่ในวิชาชีพพยาบาล ทั้งพยาบาลประจำการ หรือพยาบาลหัวหน้าตึก และพยาบาลผู้ตรวจการ หรือพยาบาลที่ทำงานน้อยกว่า 10 ปี ระดับขวัญสูงกว่าสถาบันที่มีผู้บังคับบัญชาอยู่นอกวิชาชีพพยาบาล และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบเหล่านี้พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สำหรับพยาบาลที่ทำงานมากว่า 10 ปี ก็คล้ายคลึงกัน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ความก้าวหน้า และความมั่นคง ในสถาบันผู้บริหารเป็นพยาบาลระดับขวัญสูงกว่าผู้บริหารที่อยู่นอกวิชาชีพพยาบาล และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยในองค์ประกอบเหล่านี้ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนองค์ประกอบด้านอื่น ๆ ปรากฏว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to compare the morale of nurses working in a setting where the nursing service administration was under a nurse administrator and where it was under a non-nurse administrator at the same time study the causes which influence the morale. The hypotheses were; (1) there was no difference in the nurses' morale in hospitals with a nurse administrator and a non-nurse administrator, (2) there was no difference in the staff-nurses' morale under the two types of administrators, (3) there was a difference in the morale of the head-nurse and supervisors under the two types of administrators, (4) there was no difference in the morale of nurses who have worked more than 10 years or less than 10 years. Method used in this study was the questionnaires revised from those of Mr.Natapol Kuntachai. These questionnaires were analyzed for validity and reliability (0.874). Two hundred copies of the revised questionnaires were distributed to nurses in various positions who were working under a nurse administrator and a non-nurse administrator. One hundred and eighty six copies had been completed. The statistical methods used to determine the morale level were arithmetic mean and t-test. The hypotheses had been tested at .01 and .05 level significant. The Major Findings : 1. The comparison between the level of moral for all nurses in the hospital with nurse administrator and with a non-nurse administrator showed that the former group had higher morale but there was no statistically significant difference which the hypothesis was accepted. 2. When comparing the morale of the head nurse and supervisors the mean score was high in both hospitals and showed no statistically significant difference which the hypothesis was rejected. 3. The morale of staff nurses in the hospital with a nurse administrator was higher than in the hospital with a non-nurse administrator but there was no statistically significant difference which the hypothesis was accepted. 4. Nurses having worked more than ten years or less than ten years had the same level of morale in both types of administrators and there was no statistically significant difference which the hypothesis wan accepted. Factors influencing the morale were : fairness, the relationship between the superior and subordinates, career opportunities, job-security safety, and workload that showed higher level of morale in the hospital with the nurse administrator for staff nurses, head nurse, supervisors and nurses having worked less than ten years, and the comparison between mean showed statistically significant difference. Nurses having worked more than ten years showed a similar results but there were only three influencing factors; relationship between the superior and subordinate, career opportunities and job-security and safety. The remaining factors shoed no statistically significant difference. | - |
dc.format.extent | 431361 bytes | - |
dc.format.extent | 482790 bytes | - |
dc.format.extent | 477782 bytes | - |
dc.format.extent | 336865 bytes | - |
dc.format.extent | 642939 bytes | - |
dc.format.extent | 545874 bytes | - |
dc.format.extent | 495285 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบขวัญของพยาบาลในสถาบันที่มีผู้บริหารงาน อยู่ในวิชาชีพพยาบาลกับผู้บริหารงานอยู่นอกวิชาชีพพยาบาล | en |
dc.title.alternative | A comparison of nurses' morale under hospital administration between professional and non-professional nurse | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
alisa_po_front.pdf | 421.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
alisa_po_ch1.pdf | 471.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
alisa_po_ch2.pdf | 466.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
alisa_po_ch3.pdf | 328.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
alisa_po_ch4.pdf | 627.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
alisa_po_ch5.pdf | 533.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
alisa_po_back.pdf | 483.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.