Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22858
Title: สมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม
Other Titles: The physical fitness of secondary school students in Nakhon Pathom
Authors: อำพล บัวแก้ว
Advisors: วรศักดิ์ เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2523 ในจังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นพวก จากนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 1,200 คน เป็นนักเรียนชาย 600 คน นักเรียนหญิง 600 คน จากโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลงคะแนนดิบเป็นคะแนน “ที” และทดสอบค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครปฐม มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับปานกลาง ประมาณร้อยละ 66 2. สมรรถภาพทางกายรวมของนักเรียนชายชั้น ม.3 ม.ศ. 4 และ ม.ศ. 5 โรงเรียนรัฐบาล มีสมรรถภาพทางกายดีกว่านักเรียนชายในโรงเรียนราษฎร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนสมรรถภาพทางกายรวมของนักเรียนชายชั้น ม.1 ม. 2 และ ม.ศ. 3 ของโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ไม่แตกต่างกัน 3. สมรรถภาพทางกายรวมของนักเรียนชั้น ม.2 ของโรงเรียนรัฐบาล มีสมรรถภาพทางกายดีกว่านักเรียนหญิงโรงเรียนราษฎร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนสมรรถภาพทางกายรวมของนักเรียนหญิงชั้น ม.1 ม.3 ม.ศ. 3 ม.ศ. 4 และ ม.ศ. 5 ของโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนราษฎร์ ไม่แตกต่างกัน 4. สมรรถภาพทางกายรวมของนักเรียนชายโรงเรียนรัฐบาล มีสมรรถภาพทางกายดีกว่านักเรียนชายโรงเรียนราษฎร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. สมรรถภาพทางกายรวมของนักเรียนหญิงโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the physical fitness of secondary school students for the academic year of 1980 in Nakhon Pathom. The International Committee for Standardized. Physical Fitness Test was used as a tool for collecting data. A stratified random sampling method was used to select 1200 secondary school students with equal boys and girls from each grade level. The obtained data were then analysed in terms of means, standard deviations and T- score. A t - test was also employed to determine the significant difference. It was found that : 1. About 66 percent of secondary school students in Nakhon Pathom were of physically fit a moderate. 2. The Physical Fitness of boy students in public schools in MOR SOR 5 were significantly better than those in private schools at the .05 level. In the other grade levels were not significantly different. 3. The Physical fitness of girl students in public schools MOR 2 was significantly better than those of girl in private schools at the .05 level. In the other grade levels were no significantly different. 4. The Physical fitness of all boy students in public schools was significantly better than those in private schools at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22858
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amphol_Bu_front.pdf405.93 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_front.pdf405.93 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_ch1.pdf532 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_ch2.pdf913.19 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_ch3.pdf301.91 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_ch4.pdf907.59 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_ch5.pdf438.27 kBAdobe PDFView/Open
Amphol_Bu_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.