Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22962
Title: การศึกษาความเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานบริเวณบึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: A study of settlement patterns around Bung Boraped, Changwat Nakhon Sawan
Authors: นิตยา กัทลีรดะพันธุ์
Advisors: มานพ พงศทัต
อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การตั้งถิ่นฐาน
การใช้ที่ดิน
การพัฒนาแหล่งน้ำ
บึงบอระเพ็ด (นครสวรรค์)
นครสวรรค์ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งทรัพยากรน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ มีจำนวนเนื้อที่ 132,737 ไร่ 56 ตารางวา อยู่ในความดูแลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 เมื่อรัฐบาลประกาศเป็นเขตสงวน สำหรับรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องจากสภาพทางกายภาพเป็นที่ลุ่ม มีน้ำขังตลอดปี สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของปลา ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนให้แก่ภูมิภาคนี้ได้ตลอดไป ขอบเขตของบึงอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก ปัจจุบันการตั้งถิ่นฐานซึ่งรวมทั้งการตั้งบ้านเรือนและการทำเกษตรกรรมในที่ดินโดยรอบเขตบึงบอระเพ็ดนี้ ทำให้เกิดการทับถมตกตะเกินตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ บริเวณพื้นที่น้ำจึงลดน้อยลงทุกที นอกจากนั้นก็ยังมีสารพิษที่เกิดจากการให้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกไหลสะสมอยู่ในบึง ถ้าเราปล่อยให้สภาพการณ์เป็นไปเช่นนี้ การจะหวังว่า บึงบอระเพ็ดจะยังคงเป็นแหล่งผลิตปลาเลี้ยงภูมิภาคแถบภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างคงจะเป็นไปไม่ได้ในอนาคต ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของบึงบอระเพ็ด กรมประมงได้พยายามหาวิธีการที่จะพัฒนาแหล่งน้ำสำคัญนี้ มาตรการหนึ่งที่ได้กำหนดขึ้นก็คือการขยายพื้นที่น้ำ โดยการสร้างพนังกั้นน้ำในรูปของถนนวงแหวนโดยรอบบึง ตามเขตที่ได้กำหนดไว้แล้ว ในการนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ด้านในของถนนวงแหวน ราษฎรที่อยู่ในเขตนี้จะต้องอพยพออกมา เนื่องจากการไม่มีสิทธิครอบครองตามกฎหมาย เพราะที่ดินบริเวณนี้ทั้งหมดอยู่ใน ความรับผิดชอบของกรมประมง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงก็เป็นการไม่เหมาะสมที่จะเข้าตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว เพราะเป็นเขตสงวนของรัฐ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเข้าตั้งถิ่นฐานนี่ทำมาก่อนการประกาศเป็นเขตประมง การดำเนินการใดๆที่จะมีผลกระทบต่อราษฎรเหล่านี้จึงต้องกระทำโดยรอบคอบและก่อประโยชน์แก่ราษฎรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จากการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสัมภาษณ์การสังเกตการณ์ ประกอบกับข้อมูลบางส่วนที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เก็บไว้เมื่อปี 2525 - 2526 เพื่อทราบสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชาวบ้านในเขตพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้จากการเก็บตัวอย่างด้วยวิธี Random Sampling ซึ่งได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 263 ตัวอย่าง และเก็บข้อมูลเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หน่วยงานต่างๆ จากที่ว่าการอำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก จากนั้นจึงนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและแนวทางการวางแผนเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดยจะเสนอผลการศึกษาในรูปของการบรรยาย ตาราง แผนที่และแผนภูมิ ผลการศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ แยกประเด็นออกได้ 2 ประการดังนี้ 1. การตั้งถิ่นฐานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งน้ำเพราะไม่ว่าจะปรับปรุงบึงบอระเพ็ดมากเพียงใด ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกต้อง และปัญหาการตกตะกอนตลอดจนการที่สารพิษจากการเกษตรกรรม ไหลลงมาสะสมแหล่งน้ำได้ ถ้าจะยังคงปล่อยให้การตั้งถิ่นฐานเป็นอยู่ในสภาพเดิม 2. แนวทางพัฒนาที่เสนอในกรณีที่กรมประมงจะพัฒนาบึงบอระเพ็ด โดยการสร้างพนังกั้นน้ำคือ การจัดรูปที่ดินและการตั้งถิ่นฐานในเขตของบึงบอระเพ็ดใหม่เพื่อความเหมาะสมในการพัฒนาทั้งการพัฒนาชุมชนและพัฒนาพื้นที่บึงบอระเพ็ดทั้งหมด รูปแบบการวางแผนชุมชนใหม่ เสนอให้กันพื้นที่ส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของบึงบอระเพ็ดในเขตตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง ประมาณ 12,000 ไร่ ไว้เป็นพื้นที่เพื่อกิจกรรมของกรมประมงพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดนำมาจัดสรรให้แก่ราษฎรที่มีหลักฐานว่า ตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ในเขตนี้มาก่อนจำนวน 2006 ครัวเรือน ทั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐานว่า ราษฎรทั้ง 2006 ครัวเรือนยอมรับเงื่อนไขของกรมประมงคือ ยอมรับการจัดสรรที่ดินครัวเรือนละ 15 ไร่ โดยได้รับเงินค่าชดเชยที่ดินและพืชผลในที่ดินเดิมตามที่ควรจะเป็น ผลที่คาดว่าจะได้จากแนวทางพัฒนาดังกล่าวก็คือ จะได้ชุมชนที่มีการจัดระบบที่ดีสามารถพัฒนาที่ดินให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นโดยใช้ที่ดินจำนวนน้อยและชุมชนที่เกิดใหม่ตามแผนนี้จะไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาบึงบอระเพ็ดแต่จะช่วยทำให้การพัฒนานั้นได้ผลสมบูรณ์นั้นได้ผลสมบูรณ์ตามความหมายของการพัฒนายิ่งขึ้น
Other Abstract: Bung Boraped, the largest inland water resource located in Nakhon Sawan Province, covers the area of 132,737 rai. The Department of Fisheries has jurisdiction over the area since the government declared the area to be for fresh water, plant and animal conservation in B.E. 2470 (A.D.1927). The reservoir is appropriate for fish propagation and may function as the center to supply protein food for the region. The reservoir is situated at the boundary lines constituting parts of 4 districts, i.e. Muang, Chumsaeng, and Tha Tako. At present there are squatters in the dried up reservoir area, building houses and cultivating paddy and or lotus. Fertilizers used in farming activities in the reservoir area create more sedimentation and reduce the water area subsequently. Insecticides used in paddy and lotus fields also left sediments harmful to fish in reservoir. The Department of Fisheries realized the problem of squatters and sedimentation and is now trying to improve the situation by building ring road around the reservoir to serve as dikes, and as a measure to increase water area. If the ring road is built, an area within the dike ring road will be flooded and the illegal squatters will have to be resettled. But since a few of the illegal squatters lived in the reservoir area prior to the proclamation in 1927, resettlement schemes to be proposed will have to be considered with care to avoid undesirable consequences. This study examines the settlement pattern in the area surrounding the reservoir with the aim of making recommendations for future resettlement. Secondary data available at the Department of Fisheries, Department of Local Administration, the Asian Institute of Technology, and Chulalongkorn University 4were studied in detail Primary data were collected by the author during 1983 and 1985 Squatters and government officers were interviewed using questionnaire and interview guides as research tools. The result can be summarized as follows : 1. The present settlement pattern is not appropriate for future development of the water resource. Fishery development scheme will not be successful without proper land use. If present land use pattern is not altered, the problem of sedimenation and chemical pollution in the reservoir will not be solved. 2. The Department of Fisheries proposed the dike/ring road construction to keep squatters out and to increase the water area. This means that resettlement is required and appropriate water resource development scheme and community development scheme will have to be planned. The recommendation proposed in this study is to reserve 12,000 rai land area in to north section of the reservoir for the Department of Fisheries. The rest of the land area north of the dike may be reallocated to 2006 households presently inhabiting in the reservoir area at 15 rai/household . Compensation will also have to be made to those having paddy and lotus farms in the reservoir area. It is expected that the new community will be well planned. With intensive farming, production per household should be sufficient for consumption. the new community will be physically separated from water resource development activities planned for within the reservoir area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22962
ISBN: 9745667935
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya_Ka_front.pdf683.96 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_ch1.pdf844.21 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_ch2.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_ch3.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_ch5.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_ch6.pdf722.91 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ka_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.