Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23022
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of administrators and teachers concerning leadership behaviors of elementary school administrators under the auspices of the office of Bangkok primary education
Authors: ไพบูลย์ วงศ์ยะรา
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สมมติฐานของการวิจัย พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 33 คน และอาจารย์จำนวน 334 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 33 โรงเรียนที่สุ่มได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ชุด มีลักษณะเดียวกัน ชุดที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ชุดที่ 2 สำหรับอาจารย์ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบและแบบมาตราส่วนประเมินค่า ประกอบด้วย สถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม และคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา 7 ด้าน จำนวน 45 ข้อ ได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 367 ชุด และได้รับคืนฉบับที่สมบูรณ์ใช้ได้ จำนวน 356 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.70 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าฐานนิยม ( Mode ) และค่า แมน - วิทนีย์ ยู – เทสท์ ( Mann – Whitney U – test ) ผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ทั้ง 7 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1.1 ผู้นำในฐานะผู้มีความริเริ่ม ปรากฏว่า ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้เห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด ยกเว้นในเรื่อง ผู้บริหารพร้อมที่จะทุ่มเททั้งเวลา กำลังกายและกำลังใจกับทั้งงานที่ริเริ่มใหม่ ทั้งผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1.2 ผู้นำในฐานะผู้รู้จักการปรับปรุงแก้ไข ปรากฏว่าความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้เห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด ยกเว้นในเรื่อง ผู้บริหารส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูไปร่วมประชุม อบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในหน้าที่การงาน ทั้งผู้บริหารและอาจารย์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1.3 ผู้นำในฐานะเป็นผู้ให้การยอมรับนับถือ ปรากฏว่า ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้เห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด ยกเว้นในเรื่อง ความสำเร็จของการบริหารงานโรงเรียน ผู้บริหารมักจะกล่าวว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจของคณะผู้ร่วมงาน มิใช่ความสามารถของตนเพียงคนเดียว ทั้งผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1.4 ผู้นำในฐานะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ปรากฏว่า ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้เห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ 1.5 ผู้นำในฐานะเป็นนักพูดที่เก่ง ปรากฏว่า ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้เห็นอยู่ในระดับมาก ยกเว้นในเรื่อง ผู้บริหารสามารถพูดในที่ชุมชนกับคนทุกระดับด้วยความมั่นใจ ไม่มีกริยาประหม่า เคอะเขิน ทั้งผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 1.6 ผู้นำในฐานะเป็นผู้ประสานงาน ปรากฏว่า ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้เห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด ยกเว้นในเรื่อง ผู้บริหารจัดให้บุคลากรระดับต่างๆมีโอกาสพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางาน เพื่อสร้างไมตรีสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทั้งผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 1.7 ผู้นำในฐานะเป็นผู้เข้าสังคมได้ดี ปรากฏว่า ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่า ผู้บริหารได้ปฏิบัติออกมาให้อยู่ในระดับมากทั้งหมดทุกข้อ 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ทั้ง 7 ด้าน ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ดังนี้ 2.1 ผู้นำในฐานะผู้มีความริเริ่ม มีความแตกต่างกันอยู่ 2 ข้อ ในจำนวน 6 ข้อ 2.2 ผู้นำในฐานะผู้รู้จักการปรับปรุงแก้ไข มีความแตกต่างกันอยู่ 4 ข้อ ในจำนวน 6 ข้อ 2.3 ผู้นำในฐานะเป็นผู้ให้การยอมรับนับถือ มีความแตกต่างกันอยู่ 5 ข้อ ในจำนวน 6 ข้อ 2.4 ผู้นำในฐานะผู้ให้การช่วยเหลือ มีความแตกต่างกันทุกข้อในจำนวน 6 ข้อ 2.5 ผู้นำในฐานะเป็นนักพูดที่เก่ง มีความแตกต่างกันอยู่ 2 ข้อ ในจำนวน 7 ข้อ 2.6 ผู้นำในฐานะเป็นผู้ประสานงาน มีความแตกต่างกันอยู่ 4 ข้อ ในจำนวน 8 ข้อ 2.7 ผู้นำในฐานะเป็นผู้เข้ากับสังคมได้ดี มีความแตกต่างกันอยู่ 2 ข้อ ในจำนวน 6 ข้อ
Other Abstract: 1. To study leadership behaviors of the elementary School administrators under the auspices of the office of Bangkok Primary Education. 2. To compare the school administrators and teachers opinions concerning leadership behaviors of the -elementary school administrators under the auspices of the Office of Bangkok Primary Education. Hypothesis: The opinions of school administrators and teachers concerning leadership behaviors of elementary school administrators are different. The sample used in the this research was composed . of two groups ©f persons: 33 school administrators and 334 teachers in 33 elementary schools under the auspices of the Office of Bangkok Primary Education. The instruments used in this study were two forms of similar questionnaires including a check-list and a rating scale These instruments included questions about the status of the sample population, seven aspects of questions about the leadership behaviors of elementary school administrators totaling 45 items. Three hundred sixty-seven copies of the questionnaire were distributed, and three hundred fifty-six completed copies (96.70) were returned. The data were analysed by using percentage modes, and the Mamn -Whitney U-Test. Findings and conclusions : 1. The opinions of school administrators and teachers concerning leadership behaviors of elementary school adminis¬trators in seven aspects are as follows: 1.1 In the aspect of leader as an initiator, both school administrators and teachers indicated that the elementary school administrators performed at the above average level with the exception that the elementary school administrators are ready to dedicate strength time and spirit to the new jobs in this case, both school administrators and teachers rated them at the superior level, 1.2 In the aspect of leader as an improver, both school administrators and teachers indicated that the elemen¬tary school administrators performed at the average level with the exception that in sending the personnel to conferences, seminars, to gain more knowledge, both school administrators and teachers rated them at the superior level, 1.3 In the aspect of leader as a recognizer, both school administrators and teachers indicated that the elementary school administrators performed at the above average level with the exception that in the succession of the administration in schools, which the administrators say always depends on the cooperation of the personnel: not only ability, both school administrators and the teachers rated them at the superior level, 1.4 In the aspect of leader as a helper, the opinions of the school administrators and teachers indicated that the school administrators performed at the above average, 1.5 In the aspect of leader as an effective speaker, both school administrators and teachers indicated that the school administrators performed at the above average level except that the administrators can address all classes of the public with confidence, for which the opinions were at the superior level. 1.6 In the aspect of leader as a co-ordinator, both the school administrators end teachers indicated that the administrators performed at the above average level. However in the details concerning informal meetings after working hours to build interpersonal relationship, school administrators and teachers rated them at the low average level. 1.7 In the aspect of leader as a social man, both the school administrators and the teachers indicated that the administrators performed at the above average level. 2. When the opinions of the school administrators and teachers are compared regarding the seven aspects discussed above, it is found that there are statistically significant differences at .05 as follows: 2.1 In the aspect of leaders as an initiator, there are 2 items out of 6, 2.2 In the aspect of leader as an improver, there are 2 items; out of 6. 2.3 In the aspect of leader as a recognizer, there are 5 items out of 6. 2.4 In the aspect of leader as a helper, there are 6 items. 2.5 In the aspect of leader as an effective speaker, there are 2 items out of 7. 2.6 In the aspect of leader as a coordinator, there are 4 items out of 8. 2.7 In the aspect of leader as a social man, there are 2 items out of 6c
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23022
ISBN: 9745631035
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paiboon_Wo_front.pdf618.16 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Wo_ch1.pdf893.54 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Wo_ch2.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Wo_ch3.pdf412.41 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Wo_ch4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Wo_ch5.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Wo_back.pdf802.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.