Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23058
Title: | ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษา |
Other Titles: | Opinions of administrators, teachers, and parents concerning parents' participation in elementary school activities |
Authors: | ไพฑูรย์ ทอหุน |
Advisors: | รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | กิจกรรมของนักเรียน |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษา วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษาในด้านบริหาร ด้านการเรียนการสอน ด้านการแนะแนวและด้านกิจกรรมพิเศษ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่าเพื่อใช้ถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแยกประเภทประกอบด้วยผู้บริหาร 41 คน ครู 176 คน และผู้ปกครองนักเรียน 301 คน จากโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครนายก ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแปรปรวน ทดสอบค่า เอฟ เพื่อหาความแตกต่างของข้อมูล โดยใช้วิธีของ นิวแมนคูลส์ ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ ผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกัน ต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ในความเป็นจริง ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองมีความเห็นว่า ผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆในด้านการบริหารและด้านการเรียนการสอนน้อย 4. ในความเป็นจริง ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองมีความเห็นว่า ผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในด้านการแนะแนวและด้านกิจกรรมพิเศษปานกลาง 5 . ในความคาดหวัง ผู้บริหารและครูมีความเห็นว่า ผู้ปกครองควรเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษาในระดับ “ มาก ” ขณะที่ผู้ปกครองเห็นว่าพวกเขาควรมีส่วนร่วมปานกลาง สรุปและข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งๆที่ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองมีความเห็นว่า ผู้ปกครองควรเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษา แต่ในความเป็นจริงผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วมน้อยมาก จากผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษาแตกต่างกัน แสดงว่าความแตกต่างของความคิดเห็นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมน้อย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างดังกล่าวไม่ได้เป็นสาเหตุทั้งหมดที่ทำให้ผู้ปกครองไม่เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย อาทิ การประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน ความรู้ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครอง |
Other Abstract: | The general purpose of this research was two folds : (I) To study the opinions of administrators teachers, and parents concerning parents' participation in elementary school activities in the areas of (a) administrative activities,(b) teaching and learning activities, (c) guidance activities, and (d) extra curricular activities . (II) To compare the opinions of administrators, teachers, and parents concerning parents' participation in elementary school activities. Procedure The researcher constructed a research instrument. It was a Rating scales questionnaire for the administrators, teachers, and parents. This questionnaire concisted of questions asking the opinions of administrators, teachers, and parents concerning parents, participation in elementary school activities, in the above aspects.The samples were consisted of 41 administrators, 176 teachers, and 301 parents in elementary schools in Nokornayok province by stratified random sampling. The questionnaires were sent to the samples by the researcher. The obtained data were analysed by percentage, mean and the standard deviation. The F - test and the one-way analysis of variance were also employed to determine any significant differences of data. Newman-kuels' method might be used if any differences were discovered. Results . The opinions of administrators, teachers, and parents concerning parents’ participation in elementary school activities in the above aspects were .significantly different at the level of .01 (p < .01) 2. The opinions of various parents of differing occupations concerning parents' participation in elementary school activities in the above respects were not significantly different. 3. The administrators, teachers, and parents perceive that parents actually participate in most administrative activities, and teaching and learning activities at the least level. 4. The administrators, teachers, and parents perceived that Parents' actually participate in most guidance activities and extra curricula activities at a moderate level. 5. Administrators and teachers perceive that parents should participate in elementary school activities at a higher level. 6. Parents perceived that they should participate in elementary school activities at a moderate level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23058 |
ISBN: | 9745628077 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phaitoon_To_front.pdf | 616.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phaitoon_To_ch1.pdf | 695.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phaitoon_To_ch2.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phaitoon_To_ch3.pdf | 424.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phaitoon_To_ch4.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phaitoon_To_ch5.pdf | 498.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phaitoon_To_back.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.