Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23079
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพของอาจารย์นิเทศก์ ในวิทยาลัยครูภาคเหนือ
Other Titles: Opinions concerning the competence of student teaching supervisors in Northern teachers colleges
Authors: ไพศาล สิทธิเลิศ
Advisors: สงัด อุทรานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อาจารย์มหาวิทยาลัย
การนิเทศการศึกษา
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการนิเทศการฝึกสอนของอาจารย์นิเทศก์ในสถาบันฝึกหัดครูที่อยู่ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะในการวิจัย ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถภาพที่ควรจะเป็นของอาจารย์นิเทศก์ในการนิเทศการฝึกสอน 2) เพื่อศึกษาสมรรถภาพของอาจารย์นิเทศในการนิเทศการฝึกสอนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัย คือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์นิเทศการฝึกสอนในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือทั้ง 8 แห่งทุกคน ในปีการศึกษา 2523 จำนวนทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบตรวจสอบ (Check list) แบบประเมินค่า (Rating Scale) แบบจัดอันดับและแบบปลายเปิด (Open ended) ผู้วิจัยได้หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพที่ควรจะเป็นและสมรรถภาพที่เป็นจริงได้ค่าความเชื่อมั่น .98 และ .97 ตามลำดับ จากจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้นจำนวน 224 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 205 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.52 การวิเคราะห์ข้อมูลได้ทำโดยการหาค่าร้อยละ (Percent) ค่าคะแนนเฉลี่ย (x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1) ความรู้ความสามารถทางวิชาการ อาจารย์นิเทศมีความเห็นว่าสมรรถภาพที่จำเป็นมากที่สุด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการฝึกหัดครู วิธีการสอน เทคนิคการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ปรัชญาและแนวคิดเกี่ยวกับโครงการฝึกสอน การนิเทศการฝึกสอนและหลักสูตร ทักษะการสอนในระดับการศึกษาที่ทำการนิเทศการฝึกสอน ส่วนความสามารถที่เป็นจริง อาจารย์นิเทศมีความรู้ความสามารถอยู่ในเกณฑ์สูงทุกเรื่องที่กล่าวมา แต่มีความรู้ความสามารถอยู่ในเกณฑ์ต่ำในเรื่อง ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนที่ไปปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการนิเทศการศึกษาระดับประถมศึกษาและการวิจัย 2) ความสามารถในการปฏิบัติงานนิเทศการฝึกสอน อาจารย์นิเทศเห็นว่า สมรรถภาพที่จำเป็นมากที่สุด ได้แก่ การช่วยเหลือแนะนำวิธีสอน การจัดกิจกรรม ทักษะการสอน การช่วยเหลือนักศึกษาฝึกสอนเป็นรายบุคคล และการตรวจบันทึกการสอน พร้อมทั้งให้คำแนะนำช่วยเหลือ ส่วนในความเป็นจริงอาจารย์นิเทศก์มีความสามารถในการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์สูงทุกเรื่องดังกล่าว แต่มีความรู้ความสามารถอยู่ในเกณฑ์ต่ำในเรื่องการเตรียมนักศึกษาฝึกสอน การช่วยเหลือครู-อาจารย์นิเทศฝ่ายโรงเรียนในเรื่องการนิเทศการฝึกสอน การประยุกต์ความคิดลงมาสู่การทดลองปฏิบัติ การแนะนำการใช้โสตทัศนูปกรณ์ การใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษาในการนิเทศการฝึกสอน การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมนักศึกษาฝึกสอน เช่น การจัดป้ายนิเทศ การจัดนิทรรศการ การพานักศึกษาฝึกสอนไปศึกษานอกสถานที่ และการช่วยเหลือนักศึกษาฝึกสอนวิเคราะห์การสอน 3) ความสามารถในการบริหารงานฝึกสอน อาจารย์นิเทศเห็นว่าสมรรถภาพที่จำเป็นมากที่สุด ได้แก่ ความสามารถในการดูแลนักศึกษาฝึกสอนเพื่อให้ประพฤติและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ส่วนในการปฏิบัติจริง อาจารย์นิเทศมีความสามารถในการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์สูงในเรื่องดังกล่าว แต่มีความรู้ความสามารถอยู่ในเกณฑ์ต่ำในเรื่อง การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ให้ข่าวสาร การให้ความช่วยเหลือทางโรงเรียน ความเข้าใจในโครงการต่างๆ ของโรงเรียน การจัดประชุมอบรมสัมมนา การสำรวจพิจารณา คัดเลือกขยายและยุบหน่วยฝึกสอน การศึกษารวบรวมสถิติข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการฝึกสอนนิเทศการสอน การจัดสวัสดิการ บริการแก่นักศึกษาฝึกสอน การจัดทำเอกสาร วารสารเกี่ยวกับการฝึกสอน การนิเทศการฝึกสอน 4) ความสามารถในการใช้มนุษยสัมพันธ์ อาจารย์นิเทศเห็นว่า การมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานมีความสำคัญและจำเป็นมากที่สุดในการนิเทศการฝึกสอนและอาจารย์นิเทศก์ใช้มนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงมากทุกเรื่อง 5) ขวัญในการทำงาน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลต่อสมรรถภาพของอาจารย์นิเทศก์
Other Abstract: The primary purpose of this study was to investigate opinions concerning the competence of the students teaching supervisors in Northern Teachers Colleges. The two specific purposes were as follows : 1. To study the competence that qualified supervisor should have in supervising the students teaching, 2. To study the supervisors' competence in supervising the students teaching. Prooedure The population consisted of 224 supervisors in Northern. Teachers Colleges in the academic year 1980, The research questionnaires were constructed in variable forms : check-list rating scale, order, and open-ended. The reliabilities of the questionnaires concerning with qualified supervisors and supervisors’ conpetence in supervising of the students teaching were .98 and .9, respectively. The 224 coppies of questionnaires were Bent out to population, and 205 coppies ( 91.52 % ) were returned. The data was statistically analyzed for its percentages, means, and standard daviations. Results The results of this research were as follows 1. Supervisory Knowledge The most important items concerning supervisory knowledge were set in this order i understanding in the Teachers’ Training Policy, methods of teaching, class activities, objectives of education, philosophy of the Students Teaching Program, students teaching and its curriculum, and teaching skills at the elementary school level. Supervisors’s knowledges in these mentioned items were considered ’’high”. Supervisors' knowledges in educational technology, communities involved experiences in supervision at elementary school level, and research were considered "low". 2.Supervisory Ability The most important items consuming supervisory ability were set in this order ; guidance in methods of teaching, class activities, skills in teaching, individual taking-care, lesson plan checking and comments. The supervisors. abilities in these mentioned items were considered ’’high". The supervisors’ abilities in preparing teaching students, helping school-supervisors, applying theories into practice, introducing audio-visual media, applying modern supervisory technology, conducting school activities such as bulletin board, exhibition, field trip, and helping students analyzing their teaching ware considered "low". 3. Administrative Ability The most important item concerning administrative ability was the ability in taking care of students to behave and do their works properly. Supervisors’ ability in this mentioned item was considered "high". Their abilities in cooperating in gathering news "and informations, cooperating with schools-involved 1 understanding schools’ projects, conducting meetings and orientations, gathering informations and making decisions concerning establishing and disestablishing supervisory schools gathering the involved data and informations, and making news letters or magazine concerning students teaching and supervision were considered "low". 4. Human Relationship Supervisors agreed that human relationship was important in supervision. And it highly used in every item, 5. Working spirit Working spirit was the most important factor influencing the supervisors' competence.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23079
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paisan_Si_front.pdf683.48 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_Si_ch1.pdf856.24 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_Si_ch2.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Paisan_Si_ch3.pdf451.47 kBAdobe PDFView/Open
Paisan_Si_ch4.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Paisan_Si_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Paisan_Si_back.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.