Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2321
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาททางด้านพาณิชยกรรมของย่านสำเพ็ง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors influencing the commercial role of Sampeng District, Bangkok
Authors: กฤตพร ลาภพิมล, 2522-
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: ภูมิศาสตร์พาณิชยกรรม
สำเพ็ง (กรุงเทพฯ)
การใช้ที่ดิน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อบทบาททางด้านการค้าของย่านสำเพ็ง ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของย่านที่ทำให้ย่านสามารถคงอยู่ได้ตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งหาแนวทางการพัฒนาเพื่อทำให้ย่านมีศักยภาพมากยิ่งขึ้นและคงอยู่ได้ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า สำเพ็งเป็นย่านการค้าสำคัญที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร และยังสามารถคงอยู่ได้ตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็เพราะปัจจัยที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1. ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านการคมนาคม ปัจจัยทางด้านสภาพที่ตั้ง ปัจจัยทางด้านการเข้าถึงพื้นที่ และปัจจัยทางด้านลักษณะของย่าน 2. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านราคาที่ดิน ปัจจัยทางด้านกิจกรรมทางการค้า และปัจจัยทางด้านรูปแบบการค้า 3. ปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ ปัจจัยทางด้านประชากร ปัจจัยทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และปัจจัยทางด้านกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทุกๆ ปัจจัยจะมีความสัมพันธ์กันและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญให้กับย่านมาตลอด ซึ่งเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ถ้าปัจจัยใดสามารถปรับตัวได้ก็จะคงอยู่ต่อไป แต่ถ้าปัจจัยใดไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะมีบทบาทลดน้อยลงจนกระทั่งสูญหายไป และในขณะเดียวกันก็จะมีปัจจัยใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมให้ย่านสามารถคงบทบาททางด้านการค้าและคงอยู่ได้ตลอดไป แต่ในปัจจุบันย่านสำเพ็งมีปัญหาต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งปัญหาทางด้านกายภาพ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งทุกๆปัญหาได้ส่งผลกระทบต่อปัจจัยที่มีความสำคัญทางด้านการค้าของย่าน อาจทำให้ย่านสูญเสียบทบาททางการค้าซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญไปจนกระทั่งย่านไม่สามารถคงอยู่ได้ ดังนั้นจึงได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาย่านโดยจะแบ่งเป็นการดำเนินการของรัฐและของผู้ศึกษาเอง ซึ่งแนวทางการพัฒนาของรัฐจะเน้นปรับปรุงทางด้านกายภาพเป็นหลัก ส่วนของผู้ศึกษาจะเสนอเป็นการบูรณาการทั้งแนวทางการพัฒนาทางด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมควบคู่กันไป เพื่อให้มีความครอบคลุมการพัฒนาของย่านในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สำเพ็งเป็นย่านการค้าที่มีศักยภาพและสามารถคงอยู่คู่กับกรุงเทพมหานครได้ต่อไป
Other Abstract: The research studies factors influencing the commercial role of Sampeng District, Bangkok and guidelines for developing its potential. It is found that Sampeng District has been a commercial site since it was established. It is very important in terms of both history and economy. It can maintain its importance due to physical, economic and social factors. The physical factors include transport, its location, access to the site, its characteristics. The economic factors include land price, its commercial activities and commercial types. The social factors include the size of population, race and culture, public utilities and land deed title. These three factors are interrelated, however, some factors play more important role than others as time changes or some even disappear since they cannot withstand through time. Meanwhile other factors arise to replace the disappearing ones in order to enable Sampeng to maintain its status. Currently, however, Sampeng is faced with problems concerning the three factors.They may result in Sampeng losing its commercial status. Consequently, the guidelines for developing this area have been proposed. The guidelines can be divided into two types : the government's and the researcher's. The government guidelines focus on physical improvement while those of the researcher will cover improvement on the three factors to ensure that Sampeng can keep its commercial role.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2321
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1235
ISBN: 9741754205
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1235
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittaporn.pdf7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.