Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23239
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน
Other Titles: Opinions of educational administrators under the jurisdiction of the office of the provincial primary education and the school-clusters commissions concerning manpower planning in school-clusters
Authors: ประมุข ตันจำรูญ
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน สมมติฐานของการวิจัย ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำนวน 72 คน หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 278 คน และคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน จำนวน 418 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Sampling) และแบบแบ่งเป็นกลุ่ม (Cluster Sampling) รวมประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 768 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Check list) และแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับ สถานภาพส่วนตัว ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การวางแผนสรรหาบุคลากรเข้าสู่หน่วยงาน ส่วนที่ 2 การวางแผนใช้ประโยชน์จากบุคลากร และส่วนที่ 3 การวางแผนพัฒนาบุคลากร ในการวิจัยครั้งนี้ได้ส่งแบบสอบถามไป 768 ฉบับ ได้รับคืน 582 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 75.78 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นเป็นรายคู่ ตามวิธีของ เชฟเฟ ผลการวิจัย 1. สถานภาพของผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียน ซึ่งตอบแบบสอบถามในการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (95.36%) 2. กลุ่มตัวอย่างทั้งสามกลุ่มให้ความสำคัญต่อการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน ในระดับสำคัญมาก 3. จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในกลุ่มโรงเรียน ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญแตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายส่วน ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญไม่แตกต่างกันในส่วนที่ 1 การวางแผนสรรหาบุคลากรเข้าสู่หน่วยงาน แต่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญแตกต่างกันในส่วนที่ 2 การวางแผนใช้ประโยชน์จากบุคลากร และในส่วนที่ 3 การวางแผนพัฒนาบุคลากร และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายกิจกรรม ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญแตกต่างกัน 30 กิจกรรม และไม่แตกต่างกัน 30 กิจกรรม
Other Abstract: The Purposes of the Study 1. To study the opinions of the Director of Provincial Primary Education, Head of District Primary Education and the School-Cluster Commissions, concerning manpower planning in the school-clusters. 2. To compare the opinions of the Director of Provincial Primary Education, Head of District Primary Education and the School-Cluster Commission, concerning manpower planning in the school-clusters. Hypothesis The opinions of the Director of Provincial Primary Education, Head of District Primary Education and the School-Cluster Commissions concerning manpower planning in school-cluster are not different. Research Methodology The samples of the study consisted of 72 members of the Director of Provincial Primary Education, 278 Head of District Primary Education and 418 School-Cluster Commissions, selected by systematic sampling method and cluster sampling method, making a total of 768. The instrument used in the research was a questionnaire in the froms of check list and rating scale questions. The first part of the questionnaire was concerned with the background information of the respondents. The second part composed of the questions concerning manpower planning in the school-cluster, consisted of manpower recruitment planning (part 1), manpower utilization planning (part 2), and manpower development planning (part 3). The total of 768 sets of questionnaire were sent out 582 or 75.78 percent were completed and returned. The data were analyzed by using percentages, arithmetic means, standard deviation and one-way analysis of variance. Scheffes’ method might be used if any differences were discovered. Findings 1. The study indicates that the qualification of the respondents in general is male (95.36%). 2. The opinions of the samples concerning manpower planning in school-clusters are at the superior level. 3. Difference is found between the opinions of three groups concerning manpower planning in school-clusters in general. When comparing the opinions of the samples in each part, there is no difference in manpower recruitment planning (part 1), but there is difference in manpower utilization planning (part 2) and manpower development planning (part 3). A comparison of manpower planning in school-clusters activities shows 30 out of 60 are different, but 30 out of 60 are not different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23239
ISBN: 9745649791
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pramook_Tu_front.pdf608.38 kBAdobe PDFView/Open
Pramook_Tu_ch1.pdf987.78 kBAdobe PDFView/Open
Pramook_Tu_ch2.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_Tu_ch3.pdf722.01 kBAdobe PDFView/Open
Pramook_Tu_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_Tu_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Pramook_Tu_back.pdf887.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.