Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23602
Title: การประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: School public relations in secondary schools under the jurisdiction of the department of general education, Bangkok metropolis
Authors: สุพัตรา ไผ่แก้ว
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประชาสัมพันธ์โรงเรียน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์โรงเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. การประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และอาจารย์หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ 1. กิจกรรมของนักเรียน และกิจกรรมของโรงเรียนในโอกาสพิเศษต่างๆ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ศิษย์เก่าต่อครู และโรงเรียน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมศิษย์เก่า สมาคมวิชาชีพต่างๆ และกลุ่มอิทธิพลในชุมชนกับโรงเรียน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในโรงเรียน 5. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียน 6. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และช่องทางต่างๆในการประชาสัมพันธ์โรงเรียน 2. กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่ม มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์โรงเรียนอยู่ในระดับน้อย
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate school public relations, including their problems and obstacles, of secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education in Bangkok Metropolis. The research revealed that: 1. In the opinions of school administrators and heads of public relations, the extent of public relations in the following six areas, ranked according to their degrees of intensity was high; (1) Students’ activities and school activities in special occasions (2) Relationships between students and teachers, and among alumni, teachers and schools (3) Relationships among the PTA's, alumni associations, and professional associations, and relationships between pressure groups in the community and schools (4) Relationships between school personnel (5) Relationships among parents, the communities and schools (6) Tools, materials and channels for public relations 2. The two sample groups agreed that problems of and obstacles to school public relations were minimal.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23602
ISBN: 9745790117
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supatra_ph_front.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_ph_ch1.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_ph_ch2.pdf14.38 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_ph_ch3.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_ph_ch4.pdf9.17 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_ph_ch5.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open
Supatra_ph_back.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.