Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24006
Title: การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี
Other Titles: A study of community participation in curriculum development in schools of Chonburi Municipality
Authors: จิรัญญา เวสสุวรรณ
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี ประชากรคือ โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัย พบว่า ด้านการเตรียมความพร้อมนั้น หน่วยงานทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานให้บริการทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลพื้นฐาน ประสานงาน ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ สนับสนุนงบประมาณ แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ และให้ความเห็นชอบในการดำเนินการสร้างความตระหนักและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนและชุมชน การตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการ การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ และการจัดทำแผนการดำเนินการ ปัญหาคือ บุคลากรไม่เข้าใจการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนกับชุมชนมีเวลาว่างไม่ตรงกัน และการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศยังไม่สมบูรณ์ ด้านการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษานั้น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง สถาบันศาสนา องค์กรวิชาชีพ บุคคลในชุมชน สถานประกอบการและหน่วยงานให้บริการทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลพื้นฐาน ในการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีรายภาค คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปัญหาคือ ระยะเวลาไม่เพียงพอ และบุคลากรไม่เข้าใจการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตรนั้น หน่วยงานทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานให้บริการทางการศึกษา มีส่วนร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรับทราบ ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์หลักสูตร เตรียมอาคารสถานที่ เตรียมบุคลากร พัฒนาแหล่งเรียนรู้และห้องสมุด บริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน เตรียมงบประมาณ และพัฒนาระบบแนะแนว ปัญหา คือ งบประมาณไม่เพียงพอ ด้านการบริหารหลักสูตรนั้น หน่วยงานทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรชุมชน บุคคลในชุมชน สถานประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา องค์กรวิชาชีพและ หน่วยงานให้บริการทางการศึกษามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เอื้อเฟื้อสถานที่และแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนงบประมาณและสื่อวัสดุอุปกรณ์ ประสานงาน แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ และนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมแนะแนว จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พัฒนาและเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน และวัดผลประเมินผล ปัญหา คือ ตัวแทนชุมชนไม่เข้าใจการจัดการเรียนการสอน และงบประมาณไม่เพียงพอ
Other Abstract: The purposes of this research were to study state and problems of community participation in curriculum development in schools of Chonburi Municipality, Population were school of Chonburi Municipality data were obtained through an interview technique and document analysis then they were analyzed by using content analysis and frequencies. Research findings showed as follows: At the preparation stage: Many organizations were participated ; educational organizations, school board members, student’s parents, local governing units and educational services units participated in coordinating, knowledge and experiences transformation, budgeting support, ideas and recommendations. They also participate in approving of awareness activities organization, committee and sub-committee set up, management of information system, operating plan, and action plan. Problems found were insufficient knowledge on curriculum construction, inappropriate of time, and insufficient data. At the curriculum organization stage : School board members, student’s parents, religious organization, professional organization, community resource person, enterprises, and educational service units participated in information providing, data analysis vision and mission formulating, goals setting, student desirable characteristics, content and syllabus preparation, so as student development activities. Problems found were insufficient amount of time and insufficient knowledge on curriculum construction. At the curriculum implementation planning stage : Educational organizations, school board members, local governing units, educational services unit participated in public relations activities, school buildings and ground preparation, personal preparation, learning resource units and library preparation, budgeting and materials providing, so as guidance system preparation. Problem found was insufficient amount of budget. At the curriculum management stage : Educational organizations, school board members, community resource person, enterprises, local governing units, religious organization, professional organization and educational service units participated in knowledge transformation, providing opportunity for learning, budget allocating, coordinating, idea and recommendations on curriculum implementation activities. Problem found were insufficient knowledge on instruction among community representatives and insufficient amount of budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24006
ISBN: 9741732473
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiranya_we_front.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Jiranya_we_ch1.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Jiranya_we_ch2.pdf28.49 MBAdobe PDFView/Open
Jiranya_we_ch3.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Jiranya_we_ch4.pdf37.82 MBAdobe PDFView/Open
Jiranya_we_ch5.pdf9.61 MBAdobe PDFView/Open
Jiranya_we_back.pdf8.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.