Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24059
Title: ความพึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารโรงเรียนและวิทยาลัย ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา
Other Titles: Job satisfaction of vocational institute administrators
Authors: ปรานี อารยะศาสตร์
Advisors: ธนู แสวงศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารโรงเรียน และวิทยาลัยอาชีวศึกษา 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารระดับโรงเรียน และระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารแยกตามลักษณะวิชาชีพของสถานศึกษา 4. เพื่อศึกษาอันดับความสำคัญที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารตามอุดมคติ วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ได้ทำการค้นคว้าจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้บริหาร และสร้างแบบสอบถาม โดยใช้ผู้บริหารระดับโรงเรียนและวิทยาลัย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นประชากร จำนวนทั้งสิ้น 163 คน แยกเป็นผู้บริหารระดับโรงเรียน 136 คน ผู้บริหารระดับวิทยาลัย 27 คน ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างแบบสอบถามใช้ทฤษฎีจูงใจ – ค้ำจุน (The Motivation – Hygiene Theory) ของ เฟรดเดอริค เฮอร์สเบอร์ก (Frederick Herzberg) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบเปรียบเทียบโดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน (Coefficient of variation) สรุปผลการวิจัย 1. ความพึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารทั้งระดับโรงเรียน และผู้บริหารระดับวิทาลัยอยู่ในระดับปานกลาง และความพอใจต่อปัจจัยต่าง ๆ ภายในกลุ่มแตกต่างกันน้อย 2. ความพึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารระดับวิทยาลัยสูงกว่าความพึงพอใจการทำงานของผู้บริหารระดับโรงเรียน 3. ความพึงพอใจในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ยกเว้น กลุ่มวิทยาลัยพาณิชยกรรมที่มีความพอใจในปัจจัยต่าง ๆ สูงกว่ากลุ่มอื่น 4. ความพอใจในการทำงานที่ผู้บริหารทั้ง 2 ระดับ มีความเห็นตรงกัน คือเรื่อง ความมั่นคงในการทำงานเป็นอันดับสูงสุด รองลงมา ได้แก่ เรื่อง ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานตามลำดับ 5. ความพอใจน้อยมีผลตรงกับความไม่พอใจในการทำงานของผู้บริหารทั้ง 2 ระดับ ในปัจจัยค้ำจุน เรื่อง เงินเดือน และผลประโยชน์เกื้อกูล อยู่ในอันดับต่ำสุดสูงขึ้นมา ได้แก่ เรื่อง สภาพการทำงาน นโยบายการบริหารงาน และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 6. ในการบริหารงานตามอุดมคติของผู้บริหารทั้ง 2 ระดับ มีความเห็นตรงกันว่า เงินเดือนและตำแหน่งเป็นปัจจัยที่สำคัญน้อยที่สุด ในส่วนที่แตกต่างกัน คือ 6.1 ผู้บริหารระดับวิทยาลัย เห็นว่า ความสำเร็จในการทำงานเป็นปัจจัยจูงใจที่สำคัญที่สุด 6.2 ผู้บริหารระดับโรงเรียน เห็นว่า สัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานสำคัญที่สุด
Other Abstract: The Purpose of the research 1. To study the level of job satisfaction and job dissatisfaction of vocational school and college administrators. 2. To study and compare the job satisfaction and job dissatisfaction of school and college administrators. 3. To study and compare the satisfaction and dissatisfaction of educational institution administrators according to nature of vocational trade subjects 4. To study the level of significant factors of satisfaction according to ideal of administratos. Methods of Research The study and research are based on document, interviews with administrators, and [questionnaires] sending to 163 school and college administrators as population in the central and provincial areas. This number comprise of 136 school administrators and 27 college administrators. Structure of the questionnaire is based on the Motivation – Hygiene theory of Frederick Herzberg. Statistical method in the analysis of data involve percentage, mean and Coefficient of variation. The research conclusion 1. Job satisfaction of both school and college administrators is in between low and high degree. However difference of satisfaction within each group is minimal. 2. Job satisfaction of college administrators is higher than that of school administrators. 3. Job satisfaction of vocational college administrators is about the same level, except for the commercial college group which show higher satisfaction in varies factors than other groups. 4. There is a consensus of opinion regarding job satisfaction of the two levels of administrators, viz, job security, work itself, responsibility and relationship with staff. 5. Less satisfaction, which, more or less, means job dissatisfaction of both level of administrator, is shown in hygiene factors, namely salary and other fringe benefits in the lowest level. Next from these are working conditions, policy of administration and relationship with supervisors. 6. In the ideal administration, there is a consensus of opinions of the two levels of administrators that salary and position rank are less important to their satisfaction. However, there are some difference realize that between the two levels. 6.1 College administrators think that work achievement is the highest motivation factor. 6.2 School administrators believe that the most important factor for job satisfaction is the good relationship among work associates.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24059
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_Ar_front.pdf558.31 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ar_ch1.pdf868.21 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ar_ch2.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ar_ch3.pdf710.41 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ar_ch4.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ar_ch5.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ar_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.