Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24086
Title: ความพึงพอใจในการปฎิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจ ระดับรองสารวัตร ในกองกำลังพลและในสถานีตำรวจนครบาล
Other Titles: Job satisfaction of policemen in the personnel office and metropolitan police station
Authors: ปราศรัย สังขะทรัพย์
Advisors: ไพโรจน์ สิตปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เขียนขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือต้องการที่จะทราบสภาพความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพลและในสถานีตำรวจนครบาล ว่ามีลักษณะเป็นประการใดและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสูงหรือต่ำ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เน้นหนักไปในทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการทำงานเป็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามรวมทั้งสิ้น 43 ข้อ โดยแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตร ส่วนที่สองเป็นคำถามเกี่ยวกับการวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและส่วนที่สามเป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามแก่ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพลจำนวน 67 นาย ส่วนข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในสถานีตำรวจนครบาลนั้นเนื่องจากมีจำนวนมากถึง 619 นาย ผู้วิจัยจึงใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธี Stratified Random Sampling โดยสุ่มมาคิดเทียบแล้วเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรทั้งหมด ทั้งนี้ผู้วิจัยยึดถือหลักเกณฑ์การแบ่งชั้นสถานีตำรวจนครบาล ซึ่งกรมตำรวจจัดทำขึ้นเป็นหลักในการกำหนดเกณฑ์ในการออกแบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmatic Mean) ค่ามัธยฐาน (Median) รวมทั้งการใช้เส้นกร๊าฟประกอบด้วยซึ่งผลของการศึกษาครั้งนี้พบว่า 1. ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพลจำนวน 67 นาย มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยแยกเป็นพวกที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสูงจำนวน 31 นาย และที่มีความพึงพอใจต่ำจำนวน 36 นาย 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพลค่อนข้างสูงคือ เพื่อนร่วมงาน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการค่อนข้างต่ำคือเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ 3. ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในสถานีตำรวจนครบาลจำนวน 127 นาย มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางโดยแยกเป็นพวกที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสูงจำนวน 71 นาย และพวกที่มีความพึงพอใจต่ำจำนวน 56 นาย 4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในสถานีตำรวจนครบาลค่อนข้างสูงคือ ลักษณะของงาน ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการค่อนข้างต่ำคือ เงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ 5. ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพลมีความพึงพอใจต่อปัจจัยต่าง ๆ 3 หมวด ดังนี้ 5.1 หมวดลักษณะงาน ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 5.2 หมวดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 5.3 หมวดเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ ความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ 6. ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในสถานีตำรวจนครบาลมีความพึงพอใจต่อปัจจัยต่าง ๆ 3 หมวดดังนี้ 6.1 หมวดลักษณะงาน ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 6.2 หมวดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 6.3 หมวดเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ ความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ 7. ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพลมีความเห็นว่าอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่สำคัญคือ ลักษณะของการบริหารงาน ผู้บังคับบัญชา และโอกาสแสดงความคิดเห็น 8. ข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในสถานีตำรวจนครบาลมีความเห็นว่าอุปสรรคในการปฏิบัติงานคือ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ปริมาณงานกับความรับผิดชอบและเงินเดือนสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ
Other Abstract: The objectives of this thesis are twofold. Firstly, it aims to study the condition of job satisfaction among the Police personnel at the sub-inspector level in the Police [Personnel] Office and in the Metropolitan police Stations. Secondly, it is aimed at the factors which influence the level of job satisfaction among the said policemen. The emphasis is on the behavioral aspects of job satisfaction. Questionnaire is used as the method for collecting data. It contains 43 questions and is devided into 3 categories : (1) personal information (2) job satisfaction, and (3) opinions concerning problems at work. The respondents include 67 policemen in the Police Personnel Office. With regards to the Metropolitan Police Stations, since the population involves 617 policemen, the [stratified] random sampling method is employed in the process of sampling selection. Only 20 percent of the total population is randomly selected by this method. The stratification of the Metropolitan Police Stations is in accordance with the Police Department criteria and they are used in constructing the questionnaire. Statistical analysis of data including the application of arithematic mean, median, and graphic scales. The findings of this study are as follows: 1. Job [satisfaction] among the 67 policemen in the Police Personnel Office is moderate (31 cases are rated high and 36 cases are low) 2. The important factor which influences high level of job satisfaction is coworkers. Conversely, factors which cause the low level of job satisfaction among them are salary, welfare and fringe benefits. 3. Job satisfaction of the 127 policemen in the Metropolitan Police Station is also rated moderate (71 samples are rated high and 56 samples are rated low) 4. Factors which are resulted in the high level of job satisfaction among the policemen in the Metropolitan Police Stations are nature of works, superiors and co-workers. On the other hand, factors which cause the low level of job satisfaction are salary, welfares and fringe benefits. 5. Job satisfaction, with respect to the influencing factors, among the officers of the Police Personnel Office is classified into 3 catagories 5.1 The nature of work category. Job satisfaction is moderate. 5.2 Working environmental condition category. Job satisfaction is relatively high. 5.3 Salary and fringe benefits category. Job satisfaction is relatively low. 6. Job satisfaction, with respect to the influencing factors, among the officers of the Metropolitan Police Stations is also classified into 3 categories 6.1 The nature of work category. Job satisfaction is moderate. 6.2 Working environmental conditions category. Job satisfaction is relatively high. 6.3 Salary and fringe benefits category. Job satisfaction is relatively low. 7. Opinions of the policemen in the Personnel Office concerning problems of work are administrative procedures, superiors and participative opportunity. 8. Opinions of policemen in the Metropolitan Police Stations concerning problems of work are equipment, responsibility, salary, welfare and fringe benefits.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24086
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasai_Su_front.pdf984.59 kBAdobe PDFView/Open
Prasai_Su_ch1.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Prasai_Su_ch2.pdf526.71 kBAdobe PDFView/Open
Prasai_Su_ch3.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Prasai_Su_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.