Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24542
Title: การเปรียบเทียบการประกอบอาชีพของบัณฑิตและบัณฑิตเกียรตินิยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A comparison of career performance of Chulalongkron University graduates and honored graduates
Authors: พจนา ว่องตระกูล
Advisors: วรรณา ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประกอบอาชีพของบัณฑิตและบัณฑิตเกียรตินิยม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบวัดการประกอบอาชีพชนิดมาตราส่วนประเมินค่า ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ให้บัณฑิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่ประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และผู้บังคับบัญชา ประเมินค่าการประกอบอาชีพของบัณฑิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2 ด้าน คือ ความรู้ความสามารถทางวิชาการ และบุคลิกภาพที่เสริมความรู้ความสามารถทางวิชาการ ได้แบบวัดการประกอบอาชีพคืนจากบัณฑิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 188 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 67.14 จากผู้บังคับบัญชา 173 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 61.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที การทดสอบค่ายู คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สูตรของเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า บัณฑิตและบัณฑิตเกียรตินิยม ประสบผลในการประกอบอาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ทั้งในทัศนะของตนเองและในทัศนะของผู้บังคับบัญชา นอกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้นที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าบัณฑิตเกียรตินิยมประสบผลการประกอบอาชีพสูงกว่าบัณฑิตอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และความคิดเห็นของบัณฑิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อการประกอบอาชีพของบัณฑิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .10
Other Abstract: The purpose of this research was to compare Chulalongkorn University honor graduates and ordinary graduates on success in career performance. Career performance was evaluated by means of a rating scale designed to cover two areas: knowledge and academic ability, and personality. The rating scales were sent to a sample of Chulalongkorn University graduates now working in Bangkok and Nonthaburi and to their Administrators. From the graduates, 188 rating scales or 67.14% were returned; the return rate for the Administrators was 61.79% or 173 scales. Data were analyzed by means of t-tests, Mann-whitney U-tests, and Product-moment correlations. Results indicated that there were no significant differences between ordinary graduates and honor graduates. However, Administrators of engineering faculty graduates rated honor graduated higher than ordinary graduates in career performance success (p<.05). There was a significant correlation (p<.10) between administrators ratings of career performance and the performance ratings of the combined sample of Chulalongkorn graduates.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24542
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pojana_Wo_front.pdf392.17 kBAdobe PDFView/Open
Pojana_Wo_ch1.pdf410.14 kBAdobe PDFView/Open
Pojana_Wo_ch2.pdf781.28 kBAdobe PDFView/Open
Pojana_Wo_ch3.pdf422.39 kBAdobe PDFView/Open
Pojana_Wo_ch4.pdf887.81 kBAdobe PDFView/Open
Pojana_Wo_ch5.pdf466.71 kBAdobe PDFView/Open
Pojana_Wo_back.pdf832.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.