Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24601
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชุลี อาชวอำรุง | |
dc.contributor.author | พรพนา อรรจนโรจน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-19T12:21:52Z | |
dc.date.available | 2012-11-19T12:21:52Z | |
dc.date.issued | 2528 | |
dc.identifier.isbn | 9745660876 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24601 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มุ่งสำรวจแนวบทบาทนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระบบจำกัดรับ และศึกษาเปรียบเทียบแนวบทบาทนิสิตนักศึกษา โดยจำแนกตาม เพศ สถานที่พัก ชั้นปี สาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบผสม โดยศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภาคต่าง ๆ ภาคละ 1 แห่ง มหาวิทยาลัยที่ศึกษาคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาทั้งสิ้น 473 คน ส่งแบบสอบถามไปได้รับกลับคืนเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 456 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 96.40 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลส่วนที่เป็นสถานภาพและรายละเอียดเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษา วิเคราะห์ในรูปของค่าความถี่และร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวบทบาทของนิสิตนักศึกษา วิเคราะห์ในรูปของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตามเพศและสถานที่พัก ทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที-เทสต์ และการศึกษาเปรียบเทียบโดยจำแนกตามชั้นปี สาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ ทดสอบด้วยค่าเอฟ-เทสต์ สรุปผลการวิจัย 1. การรับรู้ของนิสิตนักศึกษาในแนวบทบาททั้ง 8 ด้าน พบว่า นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระบบจำกัดรับมีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ในแนวบทบาททางวิชาการและการเป็นศึกษิต สูงที่สุด รองลงมาคือแนวบทบาทในการใช้สติปัญญา และแนวบทบาทที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือแนวบทบาทที่ทำพอเป็นพิธี 2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ของนิสิตนักศึกษา จำแนกตามเพศ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนิสิตนักศึกษาชายและหญิง ในแนวบทบาททางวิชาการและการเป็นศึกษิต แนวบทบาทในการใช้สติปัญญา แนวบทบาทในการฝึกฝนเพื่อการประกอบอาชีพ และที่ระดับ .01 ในแนวบทบาทในการใช้สติปัญญา แนวบทบาทในการนำประสบการณ์จากการทำกิจกรรมในสถาบันไปใช้ประโยชน์ แนวบทบาทในการพัฒนาสังคม แนวบทบาทที่ทำพอเป็นพิธี และแนวบทบาทนักรณรงค์ทางการเมือง 3. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ของนิสิตนักศึกษา จำแนกตามสถานที่พัก พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนิสิตนักศึกษาที่พักในบริเวณมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาที่พักนอกบริเวณมหาวิทยาลัย ในแนวบทบาททางวิชาการและการเป็นศึกษิต แนวบทบาทในการใช้สติปัญญา แนวบทบาทในการฝึกฝนเพื่อการประกอบอาชีพ แนวบทบาทในการพัฒนาสังคม แนวบทบาทที่ทำพอเป็นพิธี และที่ระดับ .01 ในแนวบทบาทที่ทำพอเป็นพิธีและแนวบทบาทนักรณรงค์ทางการเมือง 4. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ของนิสิตนักศึกษา จำแนกตามชั้นปี สาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ พบความแตกต่างดังนี้ 4.1 แนวบทบาททางวิชาการและการเป็นศึกษิต พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนิสิตนักศึกษาปี 1 กับปี 2 ปี 1 กับปี 3 นิสิตนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์กับสาขาสังคมศาสตร์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และที่ระดับ .01 ระหว่างนิสิตนักศึกษาปี 1 กับปี 4 ปี 1 กับปี 2 ปี 1 กับปี 3 นิสิตนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์กับสาขาสังคมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์กับสาขาสังคมศาสตร์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.2 แนวบทบาทในการใช้สติปัญญา พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4.3 แนวบทบาทในการใช้ชีวิตในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเต็มที่ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนิสิตนักศึกษาปี 1 กับปี 2 ปี 1 กับปี 4 นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ระดับ .01 ระหว่างนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 4.4 แนวบทบาทในการฝึกฝนเพื่อการประกอบอาชีพ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนิสิตนักศึกษาปี 1 กับปี 2 นิสิตนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์กับสาขาสังคมศาสตร์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ระดับ .01 ระหว่างนิสิตนักศึกษาปี 1 กับปี 3 และ ปี 1 กับปี 4 4.5 แนวบทบาทในการพัฒนาสังคม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระหว่างนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.6 แนวบทบาทที่ทำพอเป็นพิธี พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.7 แนวบทบาทนักรณรงค์ทางการเมือง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างนิสิตนักศึกษาปี 1 กับปี 2 และปี 1 กับปี 3 | |
dc.description.abstractalternative | Purpose of the Study The primary purpose of the study was to survey the students’ role orientations and to compare the perceptions of such student role orientations among students differing in sex, residence attended, class level, field of study and university. Methodology The method employed was a survey using a rating scale questionnaire. The samples of this study were students in closed admission universities all over the country. The sample of students, 473 in number, was obtained by employing multiple sampling technique. Four hundred and seventy three questionnaires were mailed to all samples and 456 in representing 96.40 percent of the target samples were returned. Data from the completed questionnaires were analyzed to determine the status of students by using the percentage and frequency. In addition, means, standard deviations, t-test and F-test were employed to specify students’ perceptions on role orientations. Conclusions: The results of the study are as follows. 1. The perceptions of students’ role orientations at highest level are Academic and Scholary Role Orientation. The Intellectual Role Orientation was also at high level. At the same time, Ritualistic Role Orientation was at lowest level. 2. The comparative study between sex was found to be statistically significantly different at .05 level in Academic and Scholary Role Orientation, Intellectual Role Orientation, and General Vocational Role Orientation. The level of significant difference was at .01 level in Intellectual Role Orientation, Instrumental Collegiate Role Orientation, Social Development Role Orientation, Ritualistic Role Orientation and Political Activist Role Orientation. 3. The comparative study between residences was statistically significantly different at .05 level in Academic and Scholary Role Orientation, Intellectual Role Orientation, General Vocational Role Orientation, General Vocational Role Orientation, Social Development Role Orientation and Ritualistic Role Orientation. The level of significant difference was found at .01 level in Ritualistic Role Orientation and Political Activist Role Orientation. 4. The comparative study among class levels, fields of study and universities are as follows. 4.1 Academic and Scholary Role Orientation was statistically significantly different at .05 level between Freshmen and Sophomores, Freshmen and Juniors, students in Applied Sciences and Social Sciences, students in Pure Sciences and Social Sciences, students in Kasetsart University and Chiangmai University, students in Khon Kaen University and Chiangmai University, students in Prince of Songkhla University and Chiangmai University. 4.2 Intellectual Role Orientation was statistically significantly different at .05 level between students in Chiangmai University and Kasetsart University, students in Chiangmai University and Prince of Songkhla University. 4.3 Instrumental Collegiate Role Orientation was found to be statistically significantly different at .05 level between Freshmen and Sophomores, Freshmen and Seniors, students in Kasetsart University and Chiangmai University, students in Prince of Songkhla University and Chiangmai University. Significant differences at .01 level were between students in Kasetsart University and Khon Kaen University, Students in Kasetsart University and Prince of Songkhla University, students in Chiangmai University and Khon Kaen University. 4.4 General Vocational Role Orientation was statistically significantly different at .05 level between Freshman and Sophomores, students in Kasetsart University and Chiangmai University. Significant differences at .01 level were between Freshmen and Juniors, Freshmen and Seniors. 4.5 Social Development Role Orientation was statistically significantly different at .01 level between students in Kasetsart University and Chiangmai University. 4.6 Ritualistic Role Orientation was found to be statistically significantly different at .05 lever between students in Prince of Songkhla University and Khon Kaen University, students in Kasetsart University and Chiangmai University. 4.7 Political Activist Role Orientation was statistically significantly different at .05 level between Freshmen and Sophomores, Freshmen and Juniors. Recommendations for further studie | |
dc.format.extent | 713511 bytes | |
dc.format.extent | 508377 bytes | |
dc.format.extent | 1080530 bytes | |
dc.format.extent | 526675 bytes | |
dc.format.extent | 2157000 bytes | |
dc.format.extent | 1314522 bytes | |
dc.format.extent | 638580 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การสำรวจแนวบทบาทนิสิตนักศึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยระบบจำกัดรับ | en |
dc.title.alternative | A servey of student role orientations as perceived by students in closed admission universities | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornpana_Au_front.pdf | 696.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpana_Au_ch1.pdf | 496.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpana_Au_ch2.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpana_Au_ch3.pdf | 514.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpana_Au_ch4.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpana_Au_ch5.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpana_Au_back.pdf | 623.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.