Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24678
Title: การวิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดี ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: An analysis of non-fiction external readings at the upper secondary education level
Authors: เนาวรัตน์ สวินทร์
Advisors: ฐาปะนีย์ นาครทรรพ
สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านลักษณะรูปเล่ม ด้านเรื่อง (ประเภทและแนวเรื่อง) ด้านวิธีเสนอเรื่อง ด้านกลวิธีในการแต่ง ด้านสำนวนภาษา ด้านความรู้ และด้านสารที่ผู้ประพันธ์สื่อมาถึงผู้อ่าน 2. เพื่อสอบถามความคิดเห็นของครู ที่มีต่อหนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แล้วประมวลความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับหนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดี ปัญหาและอุปสรรคในการใช้หนังสืออ่านนอกเวลา ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ วิธีดำเนินการวิจัย สำรวจการใช้หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดี ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แล้วเลือกหนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีที่นิยมใช้มากจำนวน 3 เรื่อง คือเรื่องชีวประวัติของข้าพเจ้า (มหาตมา คานธี) ชีวิตของฉัน ลูกกระทิง และวิญญาณ (Spirit) นักปกครอง แล้วสร้างเกณฑ์วิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีทั้ง 3 เรื่องนั้น แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ตรวจสอบความถูกต้อง วิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวด้วยตนเอง โดยอาศัยเกณฑ์การวิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีที่สร้างขึ้น สร้างแบบวิเคราะห์ 1 ชุด เพื่อให้ครูที่สอนวิชาภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตอบแบบวิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว โดยใช้ประชากร 100 คน ต่อหนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดี 1 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นครูจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง 20 โรงเรียน และโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 6 และ 7 จำนวน 25 โรงเรียน นำแบบวิเคราะห์ที่ได้กลับคืนมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำข้อมูลเสนอในรูปตารางประกอบคำอธิบาย ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิเคราะห์หนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีของผู้วิจัย มีความสอดคล้องกับการวิเคราะห์ซึ่งรวบรวมได้จากความคิดเห็นของครู ดังนี้ คือ หนังสือประเภทเรื่องสั้นเหมาะสมที่จะใช้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนสารคดีจะให้คุณค่าแก่นักเรียนมากในด้านความคิดสร้างสรรค์และรองลงมาคือด้านความรู้ หนังสือเรื่องชีวประวัติของข้าพเจ้า (มหาตมา คานธี) ให้คุณค่าทางด้านความรู้ สำนวนภาษา และสารที่ผู้ประพันธ์สื่อมาถึงผู้อ่านในระดับ “มาก” หนังสือเรื่องชีวิตของฉันลูกกระทิงให้คุณค่าทางด้านวิธีเสนอเรื่อง กลวิธีการแต่ง การใช้สำนวนภาษาที่ง่ายเหมาะสมกับนักเรียน และสารที่ผู้ประพันธ์สื่อมาถึงผู้อ่านในระดับ “มาก” ส่วนหนังสือเรื่องวิญญาณ (Spirit) นักปกครองให้คุณค่าทางด้านสารที่ผู้ประพันธ์สื่อมาถึงผู้อ่านในระดับ “มาก” สำหรับลักษณะรูปเล่มของหนังสืออ่านนอกเวลาประเภทสารคดีมีลักษณะรูปเล่มเฉลี่ยอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ส่วนปัญหาที่ครูประสบในการให้นักเรียนอ่านหนังสืออ่านนอกเวลาคือ ห้องสมุดไม่ได้จัดหนังสือไว้ให้มากพอสำหรับนักเรียน
Other Abstract: The purposes of the study were: 1. To analyze the non-fiction external readings at the upper secondary education level in appearance and publishing quality, contents, sequence, writing style, language, knowledge and messages. 2. To find out the teachers’ opinions concerning the non-fiction external readings, problems and obstacles in using the external readings and suggestions. Procedures In order to get the data concerning the non-fiction external readings used in the government secondary schools in Bangkok Metropolis and rural areas, three most popular books were selected; those were CRIWAPRAWAT KHONG KRAPHACHAOW (MAHATMA GANDHI), CHIWIT KHONG CHAN LUUK-KRATHING and WINYAAN (SPIRIT) NAK-PHOK-KHRONG. The criteria for analyzing three external reading books were set up and corrected by five jury of experts. The questionnaires in the form of rating scales were constructed in order to analyze the non-fiction external readings. They were sent to Thai language teachers in 20 government secondary schools in Bangkok Metropolis and 25 government secondary schools in Education Region 6 and 7. One hundred teachers were the samples for each non-fiction external reading book. The returned data were analyzed statistically by means of percentage, arithmetic mean and standard deviation then tabulated and explained descriptively. The result of the study The result analyzed by the researcher was the same as those of the teachers. The short stories selected were appropriate to be external readings for the students at the upper secondary education level. Non-fiction stimulated students’ creative thinking. CHIWA-PRAWAT KHONG KHAPHACHAOW (MAHATMA GANDHI) and value at the high level in knowledge, language and messages. CHIWIT KHONG CHAN LUUKKRATHING had value at the high level in sequences, writing styles, language and messages. WINYAAN (SPIRIT) NAK-PHOK-KRONG had value at the high level in messages. Concerning the appearance and publishing quality all three non-fiction readings were rated at the moderate degree. The problems confronted the teachers were that the school libraries had not enough books for the students. Teachers College : 86.59% of the instructors, 63.34% of the teacher training students and 83.33% of the surrounding school teachers. Suggestions: 1. The available audio-visual aids should be encouraged to be fully used. 2. All departments should be responsible of purchasing necessary audio-visual equipments and materials. 3. The educational technology center should be established as soon as possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24678
ISBN: 9745610488
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naowarat_Sa_front.pdf626.61 kBAdobe PDFView/Open
Naowarat_Sa_ch1.pdf721.47 kBAdobe PDFView/Open
Naowarat_Sa_ch2.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Naowarat_Sa_ch3.pdf393.62 kBAdobe PDFView/Open
Naowarat_Sa_ch4.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open
Naowarat_Sa_ch5.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Naowarat_Sa_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.