Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ วีรังกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-21T07:17:13Z-
dc.date.available2012-11-21T07:17:13Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745646768-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24939-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการบริหารงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 2. เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรจากมหาวิทยาลัย 9 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรออกเป็น 2 ประเภทคือ ผู้ให้การสัมภาษณ์ และผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ให้การสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารงานกิจการนิสิตนักศึกษา จำนวนมหาวิทยาลัยละ 2 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 18 คน ผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาจำนวน 89 คน เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือและวิธีการรวบรวมข้อมูล 3 แบบคือ การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ ได้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามใช้วิธีหาค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยทุกแห่งได้วางวัตถุประสงค์งานบุคลากรนิสิตนักศึกษาคล้ายคลึงกันคือ จัดบริการและสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือแก้ปัญหาให้แก่นิสิตนักศึกษา และเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาในด้านต่างๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแนวของต่างประเทศ พบว่า วัตถุประสงค์ของงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศจะเขียนไว้อย่างกว้างๆ ส่วนของต่างประเทศจะเขียนไว้ในลักษณะที่ชัดเจนกว่าวัตถุประสงค์โดยทั่ว ๆไปจะคล้ายคลึงกันบางข้อของไทยมิได้เขียนไว้ แต่ก็มีการดำเนินการ 2. ในด้านขอบข่ายและประเภทของงาน พบว่า มีการจัดคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อนำมาเทียบกับแนวสากลพบว่า ภาระหน้าที่ทางด้านการสอน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีการจัดทำน้อยกว่า 3. ในด้านโครงสร้างการบริหารงาน พบว่า ทุกสถาบันได้จัดให้มีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษา โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ มีกองกิจการนิสิตนักศึกษาเป็นหน่วยงานปฏิบัติ จากการวิจัยพบว่า โครงสร้างที่มีอยู่ยังขาดประเภทงานที่จะดำเนินเพื่อช่วยเหลือแก้ปัญหาทางการเรียนของนิสิตนักศึกษา นอกจากนี้โครงสร้างที่มีอยู่ ยังขาดงานเพื่อการพัฒนานิสิตนักศึกษา เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของงาน บุคลากรนิสิตนักศึกษาที่ได้ตั้งไว้ พบว่า โครงสร้างการบริหารงานมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 5 ข้อ ยังไม่สอดคล้องอยู่ 1 ข้อ 4. ในด้านกระบวนการบริหารงานบุคลากรนิสิตนักศึกษา พบว่า กระบวนการบริหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้ช่วยให้นิสิตนักศึกษาเกิดการพัฒนาในตนเองมากเท่าที่ควรเพราะการดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นการมุ่งในการให้บริการมากกว่า การดำเนินการเพื่อการพัฒนานิสิตนักศึกษายังดำเนินการน้อย และเท่าที่มีอยู่ก็ดำเนินงานอยู่ในระดับไม่ดีนัก นอกจากนั้น การดำเนินการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและการบริหารยังไม่มีการดำเนินการมากนัก การวางแผนที่เป็นอยู่จึงเป็นการวางแผนที่ปราศจากการใช้ข้อมูลและจากการวิจัยยังพบว่า การประเมินผลงานในแต่ละปียังมีการดำเนินการอยู่ในระดับไม่ดีนัก จึงทำให้ฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษายังไม่ได้ช่วยป้อนข้อมูลให้แก่หน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนผลิตบัณฑิต จึงสรุปได้ว่า กระบวนการบริหารงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาในปัจจุบันยังไม่ได้ช่วยให้มหาวิทยาลัยได้บรรลุวัตถุประสงค์มากเท่าที่ควร ข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ในด้านโครงสร้างการบริหารงาน ผู้รับผิดชอบในด้านนี้ควรทำการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การเติบโตของงานและบุคลากรในอนาคต ตลอดจนการเพิ่มประเภทของงานเพื่อการพัฒนานิสิตนักศึกษาในด้านกระบวนการบริหารงาน ควรให้ความสำคัญกับการวางแผน โดยการใช้ข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นแนวทาง ในด้านการดำเนินงาน ควรมีการจัดทำข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการบริหารและการวางแผน การดำเนินงานควรเน้นเพื่อการพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มากขึ้น การแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนบุคลากร ควรวางแผนในการหาแหล่งงบประมาณเพิ่มเติมและควรมีการวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาของนิสิตนักศึกษา ในด้านการประเมินผลงานผู้บริหารควรหันมาให้ความสนใจ และวางนโยบายที่ชัดเจนเพื่อความเข้าใจร่วมกันของบุคลากร-
dc.description.abstractalternativePurposes of the study The purpose of this study is twofold: firstly to analyze the structure of Student Personnel Administration in Universities: secondly to analyze the process of Student Personnel Administration of the Universities. Methods and Procedures The subjects for this study were selected from nine universities: Chulalongkorn University, Kasetsart University, Knonkaen University, Chiengmai University, Thammasat Univesity, Mahidol University, Srinakarintrawiroj University and Prince of Songkla University. The subjects were divided into two types: 1. Those who were interviewed: i.e. Eighteen administrators; two persons were selected from each University. 2. Those who were asked to answer a questionnaire: 89 members of the Student Personnel Work. This study is based on the analysis of the data gathered from three sources: documents, interviews and questionaires. Documents and interviews were analyzed by using content analysis; the data from questionnaires were analyzed by using percentages, means, standard deviations. Research Conclusion: The results were concluded as follows: 1. Every Thai university has set its objectives of the student personnel work indifferently. Those objectives are to provide services and welfares in order to help and to solve any problems for college students and to develop college students in various aspects. The researcher compared these objectives with those of foreign universities. It was found that the objectives of student personnel work in Thailand were broadly written, whereas, those of student personnel work in foreign universities were clearly written. The general objectives were indifferent. Some objectives of Thai universities were not written but it was expected to have plan to continue. 2. In terms of scopes and kinds of work, it was found that all Thai universities had been set up indifferently. It was found that the teaching function of Thai universities was done less than that of foreign universities. 3. As far as the structure of administration was concerned, it was found that in all Thai universities are in charge of Student Affairs Department of the vice rector of the vice rector or student affairs. The student Affairs Division was considered to be a practical division. The research results, indicated that the present structure still lack some kinds of work for helping and solving students’ learning problems and for developing students. The comparison of the objectives of the Students personnel work showed that the administrative structure was correspondent to all five objectives except one. 4. In term of the procedures of student personnel administration, it was found that the present procedure rarely help students in having self-development. The reason was that the emphasis was on service. In addition, the data processing system for planning and administration was scarcely done. The present planning was done without data using. From the research results, indicated that an annual assessment was rather badly done. This lead to the lack of data for any divisions of the University. It was therefore concluded that the present procedures of student personnel administration rarely help Thai universities to fulfil their objectives. Recommendations On completing this study, the researcher recommended three aspects as follows: first, in aspects of the structure of student personnel administration, there should be improvement by using decentralization, the growth of work and personnel in the future through adding kinds of work to develop the student; secondly regarding the process of students personnel administration, planning should be considered more important by using the past procedures in data planning; thirdly, Regarding the procedures of student personnel administration, there should be a data processing for use in administration and planning: the emphasis should be placed on developing the student more than this, on solving the problem of the lack of the personnel planning to search for the source of budget; fourthly, in regarding evaluating, the administrators should be interested and should have a definite policy for understanding of personnel.-
dc.format.extent481605 bytes-
dc.format.extent433701 bytes-
dc.format.extent1355880 bytes-
dc.format.extent339549 bytes-
dc.format.extent1538828 bytes-
dc.format.extent768035 bytes-
dc.format.extent647449 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานบุคลากรนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeAn analysis of structure and process of student personnel administration in universitiesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirawat_vi_front.pdf470.32 kBAdobe PDFView/Open
jirawat_vi_ch1.pdf423.54 kBAdobe PDFView/Open
jirawat_vi_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
jirawat_vi_ch3.pdf331.59 kBAdobe PDFView/Open
jirawat_vi_ch4.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
jirawat_vi_ch5.pdf750.03 kBAdobe PDFView/Open
jirawat_vi_back.pdf632.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.