Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25117
Title: การใช้วิธีการทางกฎหมายและทางสังคมของตำรวจสวัสดิภาพเยาวชน
Other Titles: Legal and social services of juvenile safety police division
Authors: บุปผาพรรณี สุวรรณรัตน์
Advisors: สง่า สีนะสมิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อำนาจหน้าที่ของตำรวจด้านหนึ่งคือ การป้องกันแก้ไขและให้ความช่วยเหลือคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสถานการณ์ที่อาจจะเป็นอันตรายได้ โดยพยายามทุกวิถีทางที่จะให้เด็กและเยาวชนได้เติบโตเป็นพลเมืองดี โดยการใช้วิธีการทางกฎหมายและทางสังคมในด้านต่างๆ ปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว การใช้วิธีการทางกฎหมาย ในต่างประเทศ ตำรวจสวัสดิภาพเยาวชนจะทำงานอย่างจริงจังต่อเด็กที่เห็นว่ามีพฤติการณ์ที่น่าสงสัยว่าจะประพฤติผิด โดยการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก เพื่อจะได้ทราบถึงวิธีการที่จะแก้ไขเด็กแต่ละคนไป ถ้าจำเป็นต้องจับกุมตัวเนื่องจากเด็กได้กระทำผิดกฎหมาย หรือเด็กตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นภัย ก็จะใช้วิธีการอย่าง ลมุนลม่อมที่สุด และพยายามให้เด็กได้กลับตัวเป็นคนดี โดยให้ครอบครัวช่วยแก้ไขมากกว่าที่จะส่งตัวเด็กฟ้องศาล เว้นแต่กรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่นเด็กได้กระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรง หรือเด็กควรได้รับความคุ้มครองจากศาล การควบคุมตัวเด็กก็เช่นเดียวกัน จะกระทำเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเด็ก หรือเพื่อป้องกันความปลอดภัยของสังคม ไม่ใช่ควบคุมเด็กเพื่อการลงโทษ หรือเพื่อความสะดวกของเจ้าหน้าที่ สถานที่สำหรับควบคุมก็ต้องแยกต่างหากจากผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ การปิดคดีก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของกำกับสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะแบ่งการดำเนินงานทางด้านกฎหมายออกเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ ๑ การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีอาญา ซึ่งได้แก่การปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒ ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติต่อนักเรียนและนักศึกษาและการปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๙๔ ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติต่อเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ และการคุ้มครองสวัสดิภาพ กับส่วนที่ ๒ การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีอาญา การปฏิบัติจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. ๒๕๙๔ และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งมีวิธีดำเนินคดีแก่เด็กและเยาวชนโดยวิธีการพิเศษแตกต่างจากผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ ตั้งแต่การจับกุม การควบคุมตัวและการฟ้องคดีต่อศาล การใช้วิธีการทางสังคม การใช้วิธีการทางสังคมของตำรวจสวัสดิภาพเยาวชน นับว่ามีความสำคัญมาก นอกเหนือจากการใช้วิธีการทางกฎหมาย แม้ว่าจะมีสถาบันอื่นๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับเด็กอยู่มาก เช่นโรงเรียน สมาคมต่างๆ แต่สถาบันเหล่านี้ไม่ได้มีความรับผิดชอบในการปกป้องคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สิน และดำรงรักษากฎหมายตลอดจนข้อบังคับต่างๆ หน่วยตำรวจสวัสดิภาพเยาวชนที่ดีจึงควรขยายงานออกไปโดยจัดให้มีรายงการเกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจ การเสริมสร้างบุคลิกภาพแก่เด็กและเยาวชน ให้การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและควบคุมการให้บริการทางสวัสดิภาพของสังคมทั้งหมด โดยร่วมมือกับโรงเรียน วัด หรือองค์การสังคมสงเคราะห์ต่างๆ และมีการควบคุมสภาวะที่เป็นอันตรายต่อเด็กและเยาวชน มีการควบคุมกิจกรรมของผู้ใหญ่ที่ฉวยโอกาสใช้เด็กวัยรุ่นทำประโยชน์แก่ตนเอง สถานที่ต่างๆที่รวมความ การดำเนินงานของตำรวจสวัสดิภาพเยาวชนจะให้ได้ผลนั้น ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับจำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเลือกสรรเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำงานด้านนี้โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องได้รับการฝึกอบรมงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอย่างเพียงพอ นอกจากนั้น จะต้องมีระบบศาลที่มีประสิทธิผล และมีกฎหมายว่าด้วยเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมด้วย
Other Abstract: One of police's major functions is to prevent and remedy Juvenile delinquency. This task is to be carried out through legal as well as social channels. In almost every country, Division of Juvenile Safety Police has been established t o deal with problems caused by young persons. Juvenile Safety Polices assume responsibility of watching over juveniles' behavior, keeping records of juvenile delinquents, and case-studying to find proper means of correction. Arresting and sending the young ones for trial are regarded as the last means, and will be used only when unavoidable. Actually there are Youth Detention Houses, but the purpose of their existence is to withhold the youths for their own benefits; for example, to provide them with shelters and food, to prevent them from further wrong-doings, to educate and equip them with vocational ability, and so on. Detention Houses are usually located apart from general prisons. 1. Revolutionary Committee’s Declaration No.132 concerning treatment of pupils and students. 2. Revolutionary Revolutionary Committee’s Declaration No. 294 concerning treatment of state foster children and security. 3. Act on Establishment of Juvenile Court, B.E. 2494 concerning treatment of juveniles in criminal cases. 4. Juvenile Court Procedure Act, B.E. 2494, regulating treatment of juveniles to be differed from adult defendants, such as arresting procedures, examination, detention, submitting the youths for trial, etc. Aside from legal action, Juvenile Safety Polices have to utilize social measures to deal with problems of juvenile delinquency. As a matter of fact there are several kinds of social institutions directly involve juveniles’s behavior i.e. schools, parents & teachers associations, various types of charity organizations, But these institution do not have legal power, therefore they usually cooperate with Juvenile Safety Police and perform their roles as volunteers. The task of Juvenile Safety Police must be strengthened not only by increasing the number of polices but also by auqmentation of their quality. There should be careful selection of police to this branch, and training is indispensable to obtain qualified personnels.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25117
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bubpapunnee_Su_front.pdf564 kBAdobe PDFView/Open
Bubpapunnee_Su_ch1.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Bubpapunnee_Su_ch2.pdf504.47 kBAdobe PDFView/Open
Bubpapunnee_Su_ch3.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Bubpapunnee_Su_ch4.pdf902.1 kBAdobe PDFView/Open
Bubpapunnee_Su_ch5.pdf733.33 kBAdobe PDFView/Open
Bubpapunnee_Su_back.pdf307.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.