Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25152
Title: | อัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโรงเรียนราษฎร์ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The rate of return on investment in private in private schools in Bangkok metropolitan area, academic year 1975-1977 |
Authors: | รัตนา ตั้งกิจจาวิสุทธิ์ |
Advisors: | นิรมล สวัสดิบุตร อรพินธุ์ ชาติอัปสร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โรงเรียนเอกชน การลงทุน |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม การพัฒนาประเทศจะสำเร็จได้ด้วยประชากรของประเทศที่มีคุณภาพ รัฐจึงพยายามรับภาระในการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรให้มากที่สุด แต่เนื่องจากงบประมาณแผ่นดินมีจำกัด รัฐจึงไม่สามารถจัดการศึกษาได้ทั้งหมดต้องอาศัยเอกชนช่วยจัดบ้าง เอกชนจึงมีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศ แต่การลงทุนของเอกชนในด้านนี้ยังไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร ฉะนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบน่าจะได้ศึกษาเพื่อหาทางสนับสนุนแก้ไขต่อไป วัตถุประสงค์ของการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ก็เพื่อที่จะศึกษาถึงอัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโรงเรียนราษฎร์สายสามัญ ที่เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2518 – 2520 เพื่อจะได้ทราบโครงสร้างและลักษณะของรายรับ ค่าใช้จ่าย เช่น แหล่งที่มา ประเภทของรายรับและลักษณะของค่าใช้จ่าย อันจะเป็นแนวทางแก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนและหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเอกชน ในการปรับปรุง แก้ไข ควบคุมและส่งเสริมโรงเรียนราษฎร์ วิธีดำเนินการวิจัย กระทำโดยใช้โรงเรียนราษฎร์สายสามัญ ที่เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เฉพาะที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 74 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ร้อยละ 50 ของกลุ่มประชากรได้โรงเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง 37 โรงเรียน และในการวิจัยนี้ได้ส่งแบบสอบถามไปตามโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจึงจำแนกโรงเรียนเป็น 3 กลุ่ม ตามเกณฑ์ระดับมาตรฐานโรงเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนดขึ้นจากการวิจัยเพื่อกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน เมื่อปี พ.ศ. 2517 แบ่งเป็นกลุ่มระดับมาตรฐานดี ปานกลาง และพอใช้ ในการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของโรงเรียนราษฎร์นั้น เนื่องจากโรงเรียนใช้วิธีการบันทึกบัญชีแบบเกณฑ์เงินสดจึงไม่ได้คำนึงถึงค่าเสื่อมราคา แต่ตามปกติแล้วการคำนวณหาผลตอบจากการลงทุนจะต้องคำนึงถึงค่าเสื่อมราคาด้วย จึงได้ทำการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโรงเรียนราษฎร์แยกเป็น 2 กรณี พอสรุปได้ดังนี้ 1. อัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโรงเรียนราษฎร์ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีไม่รวมค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย (R.O.I….) ในปีการศึกษา 2518 2519 และ 2520 มีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 4.90 3.43 และ 3.75 ตามลำดับ เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ปรากฏว่าทั้ง 3 ปีการศึกษามีลักษณะเหมือนกัน คือโรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานพอใช้ มีอัตราผลแทนสูงเป็นลำดับ 1 โรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานปานกลาง มีอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 2 และโรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานดี มีอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 3 2. อัตราผลตอบแทนในการลงทุนของโรงเรียนราษฎร์ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีรวมค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย (R.O.I….) ในปีการศึกษา 2518 2519 และ 2520 มีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 3.02 1.48 และ 1.76 9k, ตามลำดับ เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ปรากฏว่าปีการศึกษา 2518 และ 2519 มีลักษณะเหมือนกันและเหมือนกับกรณีไม่รวมค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย (R.O.I….) กล่าวคือ โรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานพอใช้มีค่าอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 1 โรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานปานกลางมีค่าอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 2 โรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานดี มีค่าอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 3 สำหรับปีการศึกษา 2520 โรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานพอใช้ ยังมีอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 1 และโรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานดี ซึ่งเคยมีอัตราผลตอบแทนสูงเป็นลำดับ 3 กลับมาอยู่ในลำดับ 2 และลำดับ 3 ได้แก่ โรงเรียนกลุ่มระดับมาตรฐานปานกลาง รายรับส่วนใหญ่ของโรงเรียนราษฎร์เป็นประเภทค่าธรรมเนียม ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 81 ของรายรับทั้งสิ้น และค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นประเภทเงินเดือนและค่าจ้าง ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 69 ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น สำหรับกรณีรวมค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย ผลของการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ในระหว่างปีการศึกษา 2518 – 2520 สำหรับโรงเรียนราษฎร์ในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะที่เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีอัตราผลตอบแทนในการลงทุนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำในช่วงเวลานั้น คือมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 1.48 – 4.90 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเป็นร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งน่าจะเป็นข้อพึงพิจารณาของทั้งฝ่ายผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งโรงเรียนราษฎร์ว่า ถ้าได้รับอัตราผลตอบแทนในการลงทุนต่ำดังกล่าวแล้วจะสามารถดำรงโรงเรียนที่ตั้งขึ้นได้ต่อไปหรือไม่ และฝ่ายรัฐซึ่งมีอำนาจในการอนุญาตให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ก็ควรกำหนดนโยบายระยะยาว ให้เป็นที่ทราบกันแน่นอนว่ารัฐจะจัดการศึกษาเองร้อยละเท่าใด และให้เอกชนจัดร้อยละเท่าใด เพื่อป้องกันมิให้มีปริมาณโรงเรียนราษฎร์มากเกินไปจนเป็นผลให้โรงเรียนราษฎร์ต้องเลิกล้ม เพราะไม่มีนักเรียนเข้าเพียงพอ และในขณะเดียวกันรัฐก็ควรพิจารณาหาทางช่วยเหลือส่งเสริมโรงเรียนราษฎร์ที่มีอยู่แล้ว และมีอัตราผลตอบแทนต่ำ ให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม |
Other Abstract: | Education is an important tool in solving basic socio-economic and political problems. As the key to the success in national development is well-educated people, the government, therefore, tries its best to provide education to the greatest percentage of the population possible. Budgetary constraints have made it necessary for the government to allow private sector to operate educational institutions without adequate support from the national budget. It is for this reason that studies should be conducted by the agencies and individuals concerned in order to find appropriate way to assist these private educational institutions. The purpose of this study was to examine the rate of return on investment in private schools that provide the teaching of Prathom Suksa 1 through Mathayom Suksa3 in Bangkok Metropolitan area during the academic years 2518-2520 (1975-1977), in order to identify the structure, types and sources of their incomes and expenditures. Findings of the study would assist the office of the private Education commission and other government agencies in the improvement and control of private schools.The study included a sample of 37 private schools selected by a simple random sampling method, which accounted for 50 per cent of the total 74 schools having classes from Prathom Suksa 1 to Mathayom Suksa 3. Questionnaires were sent to the 37 schools, and upon receipt of completed questionnaires, the schools were divided into three groups in accordance with the standard criteria set up by office of the Private Education commission in 2517 (1974), which classified private schools into three grades-good, medium and fair. Since all schools kept accounts on cash basis, the rate of return was therefore calculated without taking depreciation into consideration. However, as the concept of the rate of return generally does include depreciation as an expense, it was deemed necessary that a normal procedure also be applied for comparison. On the basis of these two approaches, findings were as follow: 1. The rates of return on investment in private schools in Bangkok Metropolitan Area, excluding depreciation as an expense (R.O.I.1), in the academic year 1975,1976 and 1977 averaged 4.90, 3.43 and 3.75 per cent. Respectively. An examination of the schools classified into three groups as above mentioned showed that the R.O.I., of the “fair” group ranked the highest, the R.O.I., of the “medium” group ranked the second, and R.O.I., of the “good” group ranked the lowest. This pattern was consistent for all the three years. 2. The rates of return on investment in private schools in Bangkok Metropolitan Area, including depreciation as an expense (R.O.I.2), in the academic years 1975, 1976 and 1977 averaged 3.02, 1.48 and 1.76 per cent, respectively. An examination of the three groups revealed a pattern similar to that of R.O.I.1, except in the academic year 1977 when the R.O.I.2 for the “good” group ranked second and the R.O.I.2 for the “medium” group was the lowest, but the R.O.I.2 for the “fair” group still ranked the highest. It was also found that about 81 per cent of the total income came from school fees and about 69 per cent of the total expenditure was for salaries and wages when depreciation was not accounted for, or about 65 per cent when depreciation was taken into account. It might be concluded from the findings that private schools in Bangkok Metropolis which operated Prathom Suksa 1 through Mathayom Suksa 3 in the academic years 1975 through 1977 obtained much lower rates of return on investment than the interest rate from fixed deposit of that period, that is, rates of return on investment were 1.48 to 4.90 per cent compared to 8 per cent annum of fixed deposit interest rate. Those who consider operating a private school should take into account the low rates of return in making their decision. The government should also set up long-term policy guidelines such as the percentage of private participation in providing education so that the number of private schools would not be excessive and enrolments per school would not be too low to operate. Moreover as the findings of this study revealed, there is a real need for governmental subsidies to private schools which earn a very low rate of return for their role in providing education for the people of the country. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25152 |
ISBN: | 9745614076 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratana_Ta_front.pdf | 645.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_ch1.pdf | 397.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_ch2.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_ch3.pdf | 490.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_ch4.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_ch5.pdf | 666.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_ch6.pdf | 635.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Ta_back.pdf | 850.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.